“แสวง” แจงแนวปฏิบัติเลือก สว. ทำได้แค่แนะนำตัว

กกต. 30 เม.ย.- “แสวง” แจงแนวปฏิบัติในการเลือก สว. ผู้สมัครทำได้แค่แนะนำตัว โดยห้ามนักการเมืองและพรรคการเมืองช่วยเหลือผู้สมัคร สื่อฯ ยึดแนวทางการทำตามหน้าที่ ประชาชนช่วยสังเกตการณ์ ตรวจสอบผู้สมัคร


นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงถึงการปฏิบัติตัว ในการทำหน้าที่เมื่อมี พระราชกฤษฎีกาเลือก สว. ว่าในส่วนของประชาชนไม่มีสิทธิเลือก สว ตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ให้สิทธิในเรื่องนี้ แต่สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารจาก สนง.กกต.เกี๋ยวกับประวัติของผู้สมัครทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่กลุ่มสาขาอาชีพใด ทั้ง 20 กลุ่ม ในชั้นอำเภอ 928 อำเภอ ชั้นจังหวัด 77 จังหวัด และระดับประเทศ ได้ที่ แอปพลิเคชัน smart vote และ เว็ปไซต์ สนง กกต. รวมทั้งติดตามข้อมูลข่าวจากสื่อต่างๆ ซึ่ง สนง กกต. จะเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่ประชาชนควรรู้ผ่านสื่อฯ ให้มากที่สุด

ส่วนในวันเลือก สว.สามารถไปสังเกตการณ์การเลือก ได้ทุกที่ ทั้งในชั้นอำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ โดย สนง.จะจัดให้มีโทรทัศน์วงจรปิด ถ่ายถอดบรรยากาศภายในที่เลือกตั้ง ให้ดูตลอดการลงคะแนนจนปิดเวลาลงคะแนน


นายแสวง ระบุว่าขอให้ประชาชนสังเกตการณ์ ตรวจตรา ตรวจสอบ แล้วแจ้ง กกต. ว่ามีผู้สมัคร พรรคการเมืองใด หรือผู้ใด แนะนำไม่เป็นไปตามระเบียบหรือฝ่าฝืนกฎหมาย

ในส่วนของสื่อมวลชน สามารถเสนอข่าวได้ตามปกติตามหลักวิชาชีพ อาทิ รายงานข่าวในที่เลือกตั้ง ใครสมัครในกลุ่มสาขาอาชีพใด วิเคราะห์ จัดเวที เสนอข้อเท็จจริง สัมภาษณ์ผู้สมัครเกี่ยวกับเรื่องอื่นได้ แต่ต้องไม่เกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้ถูกสัมภาษณ์ สื่อที่สมัคร สว. ทำหน้าที่การงานได้ตามปกติแต่อย่าไปพูดแนะนำตัว ว่าสมัคร สว. มีประวัติหรือประสบการ์อย่างไร ทั้งนี้ จากระเบียบที่ออกมา เพื่อใช้บังคับกับผู้สมัคร ไม่ได้ใช้บังคับกับสื่อ แต่ต้องพึงระวังในการทำหน้าที่สื่อฯ ต้องไม่เป็นช่วยเหลือการแนะนำตัวผู้สมัครรายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะ

นายแสวง ยังกล่าวถึงผู้สมัคร สว.ว่า ต้องแนะนำตัวตามที่กฎหมาย และระเบียบที่ กกต. กำหนด ทำมากไปกว่านั้นอาจถูกศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือถ้าเป็นโทษเกี่ยวกับการทุจริต เช่น รู้ว่าตัวเองไม่มีสิทธิแต่มาสมัคร ซื้อเสียง หลอกลวง รับการช่วยเหลือจากคนของพรรคการเมือง จะมีโทษอาญาด้วย คือทั้งโทษจำคุกและปรับ


สำหรับนักการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองต้องไม่ไปช่วยเหลือผู้สมัคร สว. นั้นหมายถึงการห้ามพรรคการเมืองไปโดยปริยาย

ในการเลือก สว. เป็นระบบปิดจริงหรือ นายแสวง ชี้แจง ว่าเมื่อดูจากรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. ก็ต้องยอมรับว่า ไม่ได้ให้สิทธิกับประชาชนในการเลือก แต่นั้นเป็นเพียงอย่างเดียวที่ประชาชนถูกตัดสิทธิไป ส่วนการมีส่วนร่วมอย่างอื่น ประชาชนก็ยังมีส่วนร่วมเหมือนเดิม เหมือนการเลือกตั้งโดยทั่วไป เรื่องนี้ สนง.กกต. ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างดี จึงได้ออกแบบให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตาม สังเกตการณ์การเลือก สว. ตั้งแต่มีพระราชกฤษฎีกา จนถึงวันลงคะแนน อย่างใกล้ชิด. 314.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง