fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: ไบเดนประกาศส่งเครื่องบินรบเปิดสงครามกับเท็กซัส จริงหรือ?

02 มีนาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีคลิปวิดีโอข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Instagram และ TikTok ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศความพร้อมเตรียมส่งเครื่องบินรบไปยังรัฐเท็กซัส หากสถานการณ์ความตึงเครียดด้านพรมแดนในเท็กซัสลุกลามเป็นสงครามกลางเมือง และยังมีคลิปวิดีโอบิดเบือนข้อมูลทาง X และ Youtube ที่อ้างว่าบริเวณชายแดนของรัฐเท็กซัส มีการส่งรถถังออกลาดตระเวนเพื่อป้องกันการแทรกแซงจากรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาเช่นกัน


บทสรุป :

  1. เสียง โจ ไบเดน ที่ถูกแชร์ได้รับการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญว่าเป็นเสียงที่สร้างโดย AI
  2. ภาพรถถังที่ถูกแชร์เป็นคลิปเก่าจากประเทศชิลีที่ถ่ายไว้เมื่อปี 2023

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

ความขัดแย้งระหว่างรัฐเท็กซัสและรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ปะทุขึ้นเมื่อผู้ว่าการรัฐเท็กซัสออกคำสั่งปิดพรมแดนเชื่อมต่อระหว่างประเทศเม็กซิโกและรัฐเท็กซัส และตั้งรั้วลวดหนามเพื่อป้องกันการลุกล้ำพื้นที่โดยกลุ่มผู้อพยพ


กระทั่งวันที่ 22 มกราคม 2024 ศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกาตัดสินให้รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกามีสิทธิ์รื้อรั้วลวดหนามดังกล่าว สร้างความไม่พอใจต่อผู้ว่าการรัฐเท็กซัส ที่ประกาศจะปกป้องอธิปไตยของรัฐอย่างถึงที่สุด พร้อมได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าการรัฐฝั่งพรรครีพับลิกัน ได้แก่ รัฐฟลอริดา รัฐโอคลาโฮมา และรัฐอินดีแอนา

โดยเมื่อเดือนมกราคม มีคลิปที่อ้างว่าเป็นบทสัมภาษณ์ลับของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่พูดว่า “เราต้องทำให้มั่นใจว่า พวกคาวบอยเหล่านี้จะไม่กีดกันเจ้าหน้าที่ความมั่นคงที่เข้าไปดูแลพื้นที่ได้ หากจำเป็นต้องส่งเครื่องบินรบ F-15 เพื่อทำสงครามกับเท็กซัส ก็ให้มันเป็นไป”

อย่างไรก็ดี การตรวจสอบที่มาของคลิปเสียงโดย Fact Checker ของ Politifact และ Leadstories พบว่าคลิปเสียงดังกล่าวมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นของปลอม

คลิปเสียงจาก AI

ฮารี ฟาริด ศาสตราจารย์ด้านนิติวิทยาศาสตร์ทางดิจิทัล ข้อมูลเท็จ และกระบวนการรับรู้ข้อมูลของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ อธิบายว่า จังหวะการพูดในคลิป ฟังดูคล้ายกับเสียงที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์อย่างมาก

ส่วน วอลเตอร์ เจ. ไชเออร์ ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยน็อทร์ดาม ย้ำว่า การที่คลิปเสียงดังกล่าวไม่สามารถยืนยันแหล่งที่มาได้ และโพสต์โดยบุคคลที่ปิดบังตนเอง คือสิ่งยืนยันว่าคลิปเสียงดังกล่าวน่าจะถูกปลอมแปลงขึ้นมา

แอนดรูว์ เบตส์ โฆษกทำเนียบขาวสหรัฐอเมริกา ยืนยันว่า คลิปเสียงที่แชร์ทางออนไลน์ ไม่ใช่เสียงของประธานาธิบดี โจ ไบเดน เช่นกัน

รถถังในชิลี

ส่วนคลิปรถถังบริเวณพื้นที่ชายแดน ที่อ้างถ่ายมาจากชายแดนในรัฐเท็กซัส ได้รับการตรวจสอบจาก Fact Checker ของ Snopes และ Taiwan Fact Check ที่ยืนยันว่า ภาพรถถังที่แชร์ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในเท็กซัสแต่อย่างใด

จุดสังเกตคือ ทะเบียนรถยนต์ในคลิปวิดีโอ ไม่ใช่ทะเบียนของรถยนต์ที่ใช้ในรัฐเท็กซัส

การตรวจสอบตำแหน่งของภาพโดย Fact Checker ของ Newsweek พบว่า สถานที่ดังกล่าวอยู่ในประเทศชิลี ใกล้กับโรงงานเคมีในเมืองอันโตฟากาสตา เมืองทางตอนเหนือของประเทศชิลี

ส่วนการตรวจสอบคลิปต้นทาง พบว่าถูกแชร์มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2023 ซึ่งถ่ายเอาไว้หลายเดือนก่อนความขัดแย้งในเท็กซัสจะเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2024

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.politifact.com/factchecks/2024/jan/18/tiktok-posts/audio-clip-of-president-joe-biden-threatening-war/
https://leadstories.com/hoax-alert/2024/01/fact-check-biden-did-not-threaten-to-wage-war-against-texas.html
https://www.snopes.com/fact-check/texas-mexico-border-tanks/
https://tfc-taiwan.org.tw/articles/10279

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง