03 พฤศจิกายน 2567
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
ข้อมูลที่ถูกแชร์ :
มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีผู้อ้างว่า การเลือกตั้งล่วงหน้าด้วยเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความโปร่งใส เมื่อพบว่าชื่อที่อยู่บนบัตรลงคะแนน ถูกเปลี่ยนไปจากตอนที่เลือกบนเครื่องลงคะแนนเลือกตั้ง
บทสรุป :
ฝ่ายดูแลการเลือกตั้งของแทร์แรนต์ เคาตี ยืนยันว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดส่วนบุคคล ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์
FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :
ผู้โพสต์อ้างว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นที่คูหาเลือกตั้งใน แทร์แรนต์ เคาตี รัฐเท็กซัส โดยผู้ร้องเรียนที่ชื่อว่า เจมส์ คริสโตเฟอร์ เล่าว่า ตนเองกดเลือกอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่เมื่อตรวจสอบบัตรลงคะแนนที่พิมพ์ออกมาแล้ว ปรากฏว่าชื่อที่พิมพ์ออกมา กลับเป็นชื่อของรองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส
นำไปสู่เสียงวิจารณ์ต่อความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ จนถึงข่าวลือเรื่องแผนการแทรกแซงผลเลือกตั้งโดยพรรคคู่แข่ง
อย่างไรก็ดี คลินต์ ลุดวิก หัวหน้าฝ่ายดูแลการเลือกตั้งของแทร์แรนต์ เคาตี ยืนยันว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดส่วนบุคคล ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์แต่อย่างใด
แถลงการณ์ของ คลินต์ ลุดวิก เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2024 ชี้แจงว่า มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าที่ทาร์แรนต์ เคาตีแล้วกว่า 102,000 คน โดยพบผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้หนึ่งที่ใช้สิทธิ์ผ่านเครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ และกำลังจะนำบัตรเลือกตั้งไปลงคะแนน แต่พบว่ารายชื่อผู้สมัครที่ถูกเลือกไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ จึงแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่คูหาเลือกตั้ง เพื่อทำให้บัตรดังกล่าวเป็นโมฆะ และกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้งใหม่ได้อีกครั้ง พร้อมย้ำให้ผู้มาใช้สิทธิตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครที่เลือกก่อนการลงคะแนนทุกครั้ง
จากการตรวจสอบพบว่า เครื่องลงคะแนนตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในทาร์แรนต์ เคาตี เป็นของ Hart InterCivic บริษัทในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส ผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านการเลือกตั้งแก่หน่วยงานภาครัฐ ซึ่ง เจน เนลสัน รัฐมนตรีกิจการแห่งรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นสมาชิกของพรรครีพับลิกัน เป็นผู้รับรองให้ใช้ในการเลือกตั้งครั้งนี้
นอกจากนี้ ตัวแทนของพรรครีพับลิกันรายอื่น ๆ ใน รัฐเท็กซัส ต่างรับประกันความโปร่งใสของการเลือกตั้งผ่านเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ในรัฐเท็กซัสเช่นกัน
ไม่ใช่ครั้งแรกที่ข่าวลือเรื่องความผิดปกติของเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ถูกเผยแพร่ระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพราะเมื่อปี 2020 ก็มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ถูกปล่อยออกมาเพื่อลดทอนความน่าเชื่อของการเลือกตั้งเช่นกัน
ข้อมูลอ้างอิง :
https://www.politifact.com/factchecks/2024/oct/24/facebook-posts/no-tarrant-county-texas-voting-machines-are-not-ch/
https://leadstories.com/hoax-alert/2024/10/fact-check-voting-machine-glitch-in-tarrant-county-texas-did-not-cause-widespread-vote-switching-one-ballot-was-questioned-replaced.html
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter