ตลท.ประกาศเป้าหมาย Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2050

กรุงเทพฯ 28 พ.ย. – ตลท. ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero   Commitment) ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ตามมาตรฐาน SBTi ร่วมแก้ปัญหาวิกฤตโลกร้อนตามแผนกลยุทธ์ขับเคลื่อนความยั่งยืน และสนับสนุนให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส


นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า วิกฤตโลกร้อนเป็นภาวะเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในฐานะผู้มีบทบาทส่งเสริมตลาดทุนให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตลอดทั้งกระบวนการทำงานขององค์กร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหานี้ 

“การตั้งเป้าหมาย Net Zero สะท้อนถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่น ในการร่วมแก้ปัญหาวิกฤตโลกร้อน ซึ่งนำไปสู่การวางแผนการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งเป้าหมายบรรลุ Net Zero ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ตามมาตรฐานของ SBTi (The Science Based Targets initiative) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและใช้อย่างแพร่หลายในระดับสากล โดยการตั้งเป้าหมายนี้จะครอบคลุมทั้งขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากกิจกรรมขององค์กร ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน และขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้กำหนดแผนดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ทั้งการบริหารจัดการภายในองค์กร และสร้างความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่า ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ” นายภากร กล่าว 


ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในองค์กร ทั้งจากการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ จนได้รับการรับรองอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อมมาตรฐานสากล LEED Platinum: Operation and Maintenance (O+M) ระดับสูงสุด จาก U.S. Green Building Council (USGBC) นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมแนวปฏิบัติการจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) เพื่อเป็นทางเลือกในการจัดหาสินค้าและบริการ และการลดการใช้กระดาษด้วยบริการนำส่งเอกสารสิทธิหรือรายงานต่างๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้นในการให้บริการงานนายทะเบียนหลักทรัพย์ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) แทนการจัดส่งทางไปรษณีย์ สะท้อนถึงการให้ความสำคัญในการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 

ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ความสำคัญในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social, Governance: ESG) ให้แก่บริษัทจดทะเบียนและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในตลาดทุน ควบคู่การส่งเสริมให้นำหลักการดังกล่าวมาบูรณาการในกระบวนการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง และสามารถปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยส่งเสริมความรู้มาอย่างต่อเนื่องในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยง การคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก และการบริหารจัดการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก.-516-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง