กทม. 8 ต.ค.-สุดอาลัย เผาร่าง “น้องตะวัน” แรงงานเมียนมาเหยื่อเด็ก 14 ปี ยิงเสียชีวิต แม่ร้องไห้หมดแรงส่งลูกครั้งสุดท้าย ด้าน พ.ต.ท.ทวี แสดงความเสียใจครอบครัว ขณะรัฐบาล-หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมอบเงินเยียวยา 6.2 ล้านบาท นายจ้างยันจะส่งเสียแม่เดือนละ 10,000 บาท
บรรยากาศวันฌาปนกิจศพของนางสาวโมมิน หรือน้องตะวัน หญิงชาวเมียนมาที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์กราดยิงในห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นไปด้วยความโศกเศร้า ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา บริเวณ ศาลา 2 วัดผาสุกมณีจักร เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมาเต็มไปด้วยความโศกเศร้าและอาลัย ของครอบครัว ญาติสนิท เพื่อนร่วมงาน และนายจ้างที่เดินทางมาร่วมร่วมส่งน้องตะวันเป็นครั้งสุดท้าย โดยในวันการจัดงานฌาปนกิจในวันนี้มีกระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพ
โดย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธี ได้ถวายสังฆทาน และผ้าบังสุกุล แก่พระสงฆ์จำนวน10 รูป โดยมี นางคฮิน วิน (khin win) แม่น้องตะวัน พร้อมด้วย นาย อู ชิต สเว (H.E. U Chit Swe) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทย และภรรยา รวมถวายผ้าบังสุกุลด้วย จากนั้นพระสงฆ์จำนวน 10 รูป ได้ทำพิธีสวดมาติกาบังสุกุล และสวดบำเพ็ญกุศลในกับน้องตะวัน
ซึ่งในระหว่างเพื่อนร่างของน้องตะวัน ออกจากโรงเย็น เพื่อนำขึ้นสู่ฌาปนสถานนางคฮิน วิน ได้ร้องไห้ด้วยเสียใจจนเกือบจะเป็นลม ญาติต้องพามานั่งพักให้อาการดีขึ้น ระหว่างนำร่างน้องตะวันวนรอบเมรุมาศ ก่อนเข้าสู่พิธีฌาปนกิจ โดยมีการธงประจำกลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ ชนเผาของน้องตะวันมาคลุมบนโรงศพด้วย ขณะเดียวกันยังมีสมาชิกจากกลุ่มชาติพันธุ์กว่า 200 คน สวมชุดประจำชาติของชนเผามาร่วมพิธรฌาปนิกในวันนี้ด้วย แม้จะไม่ได้รู้จักน้องตะวันเป็นการส่วนตัว แต่เมื่อทราบข่าวก็อยากมาส่งเป็ยครั้งสุด
ทั้งนี้ พ.ต.อ.ทวี เปิดเผยว่า กระทรวงยุติธรรมจะให้ความช่วยเหลือครอบครัวตามกฏหมาย เบื้องต้นจะมอบเงินของกระทรวงยุติธรรมเพื่อชดเชยให้กับครอบครัวจำนวน 200,000บาท ขณะเดียวกันได้รับการประสานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาล ทราบว่าจะมีเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมเป็นจำนวน6ล้านบาท ให้ครอบครัวน้องตะวัน อย่างไรก็ตามเบื้องต้นตัวเองเป็นตัวแทนของนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตยืนยันว่า ไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงชาวต่างชาติเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบยังมีคนไทยที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บเช่นกัน ซึ่งรัฐบาลก็จะดูแลอย่างเต็มที่
สำหรับเรื่องการดำเนินคดี ทางตำรวจก็จะเร่งดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านเพื่อให้เกิดความชัดเจนและจะชี้แจงไปยังทั้งประเทศจีนและเมียนมาให้เข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่จนถึงตอนนี้ทั้ง 2 ประเทศไม่ได้ติดใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในส่วนของกฎหมายไทยได้ให้การคุ้มครองผู้ก่อเหตุที่เป็นเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่จะไม่ได้รับโทษทางอาญา แต่กรณีของเด็กวัย 14 ปี หากศาลเด็กและเยาวชนมีคำสั่งให้คุมประพฤติก็สามารถอยู่สถานพินิจได้จนถึงอายุ 24 ปี ซึ่งรายละเอียดก็อยู่ที่คำพิพากษาของศาล
ส่วนเรื่องการแก้ไขกฎหมาย เรื่องการลดเกณฑ์อายุเยาวชนที่ไม่ต้องรับโทษจาก 1-15 ปี ให้เหลือเพียง 1-12 ปีนั้น พ.ต.อ.ทวี บอกว่า การแก้ไขกฎหมายสามารถทำได้ 2 ส่วนคือการเสนอจากรัฐบาล และการเข้าชื่อกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ขอย้ำว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล เนื่องจากไทยเป็นสมาชิกอนุสัญญาของสหประชาชาติ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน
ด้าน น.ส.ศิริประกาย วรปรีชา รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้กล่าวถึงเรื่องของกระบวนการควบคุมตัวผู้ก่อเหตุอายุ 14 ปี บอกว่า กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จะมีหน้าที่ในการประเมินข้อเท็จจริง ทั้งตัวเด็กและสภาพของครอบครัว เพื่อนำรายงานต่อศาล ซึ่งตอนนี้ผู้ก่อเหตุวัย 14 ปีอยู่ในช่วงสังเกตุอาการของสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ซึ่งมีการรายงานความคืบหน้าว่าขณะนี้ผู้ก่อเหตุเริ่มหลับได้ดีขึ้น และอยู่ระหว่างการประเมินทางการแพทย์ ส่วนการประเมินสภาพจิตใจต้องรอผลการวินิจฉัยจากแพทย์ ส่วนเรื่องการควบคุมตัว หรือการปล่อยตัวนั้นเป็นอำนาจศาลที่จะตัดสิน
ขณะที่ น.ส.อักษร จันทรโรจน์วานิช นายจ้างของ บริษัท เทค ทอยส์ จำกัด บอกว่า ตอนนี้ในส่วนของทางร้านก็ยังกังวลเรื่องความปลอดภัย หากมีการปล่อยตัวผู้ก่อเหตุวัย 14 ปีจริง เพราะทางร้านยังไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน แต่ก็ไม่ได้มีการประสานขอการดูแลด้านความปลอดภัยอะไรเป็นพิเศษ ขอให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
พร้อมกันนี้นายจ้างของน้องตะวันอีกคน เปิดเผยว่า ตอนนี้ตัวเองรู้สึกสบายใจขึ้นมาก หลังจากเมื่อเช้านี้ได้ไปทำพิธีเชิญดวงวิญญาณ ที่ร้านภายในศูนย์การค้าสยามพารากอนมายังวัดและได้ทำพิธีส่งให้น้องตะวันไปสู่สุคติ และนายจ้างก็ได้ดูแลคุณแม่ของน้องตะวันอย่างดีที่สุด ทั้งหลังจากนี้นายจ้างจะการจ่ายเงินรายเดือน เดือนละ 10,000 บาท ให้แก่ครอบครัวของน้องตะวัน และ ช่วงนี้จะให้คุณแม่ของน้องตะวันอยู่ที่กรุงเทพฯ ไปก่อนเพื่อรักษาอาการป่วย ส่วนตัวมองว่าคุณแม่เป็นคนมีจิตใจดีมาก เพราะเมื่อวานนี้แม่บอกว่า “แม่มีความทุกข์ แต่แม่โชคดีที่มีลูกเป็นคนดี และเขาก็รู้สึกดีใจ ที่ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานศพให้แก่ลูกสาว” ยอมรับว่าในฐานะนายจ้างตอนแรกรู้สึกเศร้าแต่ตอนนี้แต่ตอนนี้รู้สึกสบายใจขึ้นมาก เพราะได้ทำทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้จะมีการทำบุญและลอยอังคาร ตามขั้นตอนซึ่งวันที่ 14 ตุลาคมที่จะถึงนี้เป็นวันเกิดของน้องตะวัน พนักงานในบริษัทตกลงกันว่าจะร่วมกันทำบุญ โดยการนำสิ่งของไปบริจาคให้กับเด็กๆ ตามที่น้องตะวันเคยตั้งใจไว้
พร้อมกันนี้ นายจ้าง ยังยอมรับว่าช่วงเกิดเหตุแรกๆ ตอนนั้นรู้สึกโมโหและมีอารมณ์โกรธ ที่ให้สัมภาษณ์นักข่าวไปว่าจะดำเนินการกับผู้ก่อเหตุอย่างถึงที่สุด แม้จะเป็นเด็กก็ตาม แต่เมื่อได้พูดคุยกับแม่ของตะวัน แม่ไม่ได้ติดใจอะไรอีก ตัวเองจึงปล่อยให้เป็นไปตามหน้าที่ของตำรวจ ตามที่แม่ต้องการซึ่งตอนนี้สภาพจิตใจของแม่ดีขึ้นมากแล้ว ตัวเองยังได้บอกกับแม่ว่า ตะวันทำบุญมาแค่นี้ ตะวันเป็นคนดี ก็น่าจะไปอยู่ในที่ที่ดีๆ และสุดท้ายนายจ้างยังบอกด้วยว่า ตอนแรกๆ เป็นใครรก็ช็อก เป็นใครก็ตกใจ เป็นเรื่องธรรมดา แต่ตอนนี้เวลาได้ผ่านไปแล้ว แต่จิตใจก็ยังย่ำแย่อยู่ตามปกติ
สำหรับเงินชดเชยจากกระทรวงยุติธรรม ที่น้องตะวันจะได้รับตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา รวม 200,000บาท เป็นค่าชดเชยจากกรณีการเสียชีวิต 100,000 บาท ค่าจัดการศพ 20,000 บาท ค่าขาดไร้อุปการะให้ครอบครัว 40,000 บาท และค่าเสียหายอื่นๆ อีก 40,000 บาท ซึ่งถึงแม้น้องตะวันเป็นเป็นคนสัญชาติเมียนมา แต่เมื่อมาเสียชีวิตที่ประเทศไทยก็ต้องได้รับสิทธิ์เท่าเทียมกันกับคนไทย.-สำนักข่าวไทย