กรมบัญชีกลางยอมจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร ปมปลาหมอคางดำ

รัฐสภา 8 ส.ค. – ​”หมอวาโย” เผยกรมบัญชีกลาง ยอมจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร พร้อมจี้นายกฯ รับผิดชอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้วค่อยไปเรียกเก็บกับผู้ทำให้เกิดความเสียหาย ยอมรับ กมธ.​ ไม่สามารถชี้ชัดให้เป็นต้นตอการระบาด เหตุหลักฐานไม่ชัด


นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง กรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กมธ.อว.) เปิดเผยภายหลังการประชุมที่ได้มีการติดตามความคืบหน้าการระบาดปลาหมอคางดำ โดยเชิญ 11 บริษัทเอกชน ส่งออกทางนำมาชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ​การชี้แจงในวันนี้กรมประมงและบริษัทเอกชนให้ข้อมูลตรงกันว่าข้มูลที่เกิดขึ้นเกิดจากความผิดพลาดในการกรอกข้อมูล โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากปลา 2 ชนิด คือ ปลาหมอมาลายู และปลาหางเขียว ที่ชื่อภาษาอังกฤษสะกดคล้ายกับปลาหมอ ซึ่งบริษัทเอกชนอ้างว่าเป็นความผิดพลาดของบริษัทชิปปิ้ง พร้อมส่งหลักฐานรายการส่งออกหลายปีย้อนหลัง พร้อมกับใบตรวจสุขภาพปลา ต่อกรรมาธิการฯ ด้วย เพื่อนำไปเปรียบเทียบ กมธ.อว. เรียก 11 บริษัทเอกชนแจงที่มาปลาหมอคางดำ

ด้านบริษัท เอเชีย อะควาติคส์ จำกัด ยืนยันไม่เคยนำเข้า-ส่งออก แต่เกิดจากความผิดพลาดของชิปปิ้ง ในการกรอกข้อมูลชื่อทางวิทยาศาสตร์ผิด​ เมื่อเทียบกับเอกสารของกรมประมง เบื้องต้นเท่าที่ดูไม่มีสายพันธุ์ของปลาหมอคางดำเลย แต่ทางกรรมาธิการฯ จะต้องนำส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนจะสรุปรายงานส่งให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ


นพ.วาโย เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหารวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย​ ที่ตนเป็นประธาน มองว่ารัฐควรจะเข้ามาเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จึงได้มีการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าจากหน่วยงานต่างๆ จนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กรมบัญชีกลางทำหนังสือยืนยันว่าสามารถเบิกจ่ายได้ แต่จะต้องจ่ายให้กับเกษตรกรผู้ลงทะเบียนเท่านั้น น่าจะเริ่มได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แต่ปัญหาคือผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีหน่วยงานไหนเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในภาพรวม ต่างคนต่างดูแลแต่พื้นที่ของตัวเอง จึงเห็นว่าผู้ที่ต้องเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในเรื่องนี้คือนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการฯ ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐอยู่แล้ว แม้ว่าตัวเองจะไม่ได้ผิด แต่หากรัฐมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่ามีผู้กระทำผิด แล้วทำให้เกิดความเสียหายขึ้นก็สามารถใช้สิทธิไปฟ้องต่อศาลเพื่อเรียกค่าเสียหายคืนได้ ซึ่งเมื่อเข้าสู่กระบวนการแล้วสามารถใช้หมายศาลเพื่อเรียกหลักฐานต่างๆ มาตรวจสอบเพิ่มเติมได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญตอนนี้คือจะต้องเยียวยาประชาชน แล้วเก็บบิลทั้งหมดไปเรียกเก็บกับผู้กระทำความผิดอีกครั้ง

นพ.วาโย เปิดเผยว่า ในส่วนของบริษัทซีพีเอฟ ยืนยันว่าได้ส่งตัวอย่างปลาหมอคางดำจำนวน 25 คู่ ให้กับกรมประมงแล้ว หลังนำเข้ามา 2,000 ตัวได้ไม่นานกลับตายพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย 1,400 ตัว ทั้งที่ยังไม่ได้เริ่มงานวิจัย จึงไม่มีการส่งหลักฐานงานวิจัยให้กับกรมประมง อีกทั้งกรมประมงก็ไม่มีการขอ อย่างไรก็ตาม นพ.วาโย บอกว่าในการสรุปของคณะกรรมาธิการคงไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าใครเป็นต้นตอของการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการไปตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริงต่อไป.-319-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ครบ 72 ชม. ตึก สตง.ถล่ม ไม่หยุดค้นหาผู้รอดชีวิต

ปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุตึก สตง.พังถล่ม แม้เวลาผ่านมาครบ 72 ชั่วโมงแล้ว แต่เจ้าหน้าที่้ทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายามในการค้นหาผู้รอดชีวิต หวังมีปาฏิหาริย์

นายกฯ สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือนภัย ลั่นยังไม่ได้ SMS แผ่นดินไหว

นายกฯ ลั่น จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับ SMS เตือนแผ่นดินไหว สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือน “กรมอุตุฯ ไป ปภ. เข้าเครือข่ายมือถือ” ไม่ต้องผ่าน กสทช. ระหว่าง รอ Cell Broadcast เต็มระบบ ก.ค.นี้

ปภ.ยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ใช่ผลจากอาฟเตอร์ช็อก

ปภ.แถลงชี้แจงกรณีสถานการณ์อพยพออกจากอาคาร ยืนยันไม่มีความรู้สึกสั่นไหว ไม่ได้เป็นผลกระทบจากอาฟเตอร์ช็อก ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก