สมาคมทนายฯ ชี้เสนอชื่อ “พิธา” ซ้ำได้

กรุงเทพฯ 20 ก.ค. – สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เผยเสนอชื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เป็นนายกฯ ซ้ำได้ เหตุรัฐธรรมนูญไม่ได้จำกัดไว้ สมาชิกรัฐสภาที่โหวตมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยญัตติดังกล่าวได้


ตามที่ ที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 มีมติว่า ญัตติการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้สมาชิกรัฐสภาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็น นายกรัฐมนตรี เป็นการเสนอญัตติซ้ำ ต้องห้ามตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 นั้น ล่าสุด สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ ระบุข้อความว่า มติดังกล่าว ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังนี้

  1. ตามพจนานุกรมและข้อบังคับการประชุมสภา ฯ ข้อ 44 ญัตติ หมายถึงข้อเสนอใดๆ ที่มีความมุ่งหมายให้สภาลงมติ หรือชี้ขาดว่า จะให้ปฏิบัติหรือดำเนินการอย่างไรต่อไป การเสนอญัตติอาจเสนอด้วยปากเปล่า หรือทำเป็นหนังสือก็ได้ การเสนอชื่อนายพิธา เพื่อให้รัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็น “นายกรัฐมนตรี” จึงถือเป็นการเสนอญัตติ ตามรัฐธรรมนูญ
  2. ญัตติที่เสนอต่อสภาได้ มี 2 ประเภท คือ ญัตติทั่วไป และญัตติตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
  3. สำหรับการเสนอญัตติทั่วไปของรัฐสภา จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับข้อ 41 กล่าวคือ ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำมาเสนออีกในที่ประชุม
    ส่วนการเสนอญัตติที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด เช่น
    (1) มาตรา 151 และ 152 รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ต้องมี สส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 เข้าชื่อขอเปิดอภิปราย และยื่นได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154
    (2) ญัตติการเสนอชื่อ นายพิธา เป็นญัตติเฉพาะ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ประกอบมาตรา 159 นั้น รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจะต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อตามมาตรา 88 ของพรรคการเมืองที่มี สส. ไม่น้อยกว่า 25 คน และการเสนอชื่อต้องมี สส. รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 หรือ 50 คน ซึ่งญัตติดังกล่าวนี้ รัฐธรรมนูญมิได้มีข้อจำกัดจำนวนครั้งในการยื่น เหมือนกับญัตติตามมาตรา 151 และ 152 ดังนั้น ญัตติการเสนอชื่อ นายพิธา จึงเสนอได้โดยไม่มีข้อจำกัด เพราะรัฐธรรมนูญมิได้จำกัดไว้ และไม่อาจใช้ ข้อบังคับข้อ 41 ซึ่งใช้กับการยื่นญัตติทั่วไป มาใช้บังคับได้

ดังนั้น สมาชิกรัฐสภาที่เสนอชื่อ นายพิธา รวมทั้งสมาชิกที่รับรองการเสนอชื่อ จึงเป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า “คำวินิจฉัยของประธานรัฐสภา และการลงมติของ สมาชิกรัฐสภา จำนวน 394 คน ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 หรือไม่”


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เอกภพ” เข้าพบ พนง.สอบสวน หลังถูกออกหมายจับ

“เอกภพ สายไหมต้องรอด” เข้าพบ พนง.สอบสวน หลังถูกออกหมายจับปมพยานเท็จดิไอคอน ยันบริสุทธิ์ใจ หากช่วยเหลือประชาชนแล้วโดนจับก็พร้อมรับ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่