เปิดโรดแมป “ก้าวไกล” ใน 2 สมรภูมิ สู่การตั้ง “รัฐบาล”

กรุงเทพฯ 15 ก.ค. – พรรคก้าวไกลโชว์โรดแมป “ก้าวไกล” แคมเปญใน 2 สมรภูมิ เพื่อตั้งรัฐบาลของประชาชน


เฟซบุ๊กพรรคก้าวไกลโชว์โรดแมป “ก้าวไกล” แคมเปญใน 2 สมรภูมิเพื่อตั้งรัฐบาลของประชาชน โดยระบุว่าหลังจากการโหวตนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล ได้รับคะแนน 324 เสียง จากสมาชิกรัฐสภา ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลตามความคาดหวังของประชาชน พรรคก้าวไกลถือว่าภารกิจนี้ยังไม่จบ เราจะพยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ โดยจะมีการขับเคลื่อนใน 2 สมรภูมิ ดังนี้

1.การโหวตนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้
2.การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกมาตรา 272 ตัดอำนาจโหวตนายกฯ ของ ส.ว. ถาวรตลอดไป


ในสมรภูมิแรก เราจำเป็นต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาเพิ่มเติมจาก 8 พรรคเดิม ไม่น้อยกว่า 65 เสียง ในขณะที่ในสมรภูมิที่ 2 เราต้องการเสียง ส.ว. 84 เสียง เพื่อแก้รัฐธรรมนูญได้สำเร็จ

แม้ทั้งสองหนทางจะเป็นไปได้ยาก แต่เราเชื่อว่าหากประชาชนทุกคนร่วมกันปฏิบัติภารกิจ “ชวน ส.ว. ยืนข้างประชาชน” การเปลี่ยนใจ ส.ว. ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้

การเปลี่ยนใจ ส.ว. มี 2 รูปแบบ คือ
1.การชวนให้ ส.ว. มาโหวตนายกฯ ตามเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร รักษาหลักการประชาธิปไตย ที่ต้องรับฟังเสียงที่ประชาชนแสดงออกผ่านการเลือกตั้ง แต่แน่นอนว่า ส.ว.จำนวนมากไม่สบายใจที่จะโหวตให้กับพรรคก้าวไกล เพราะฉะนั้นมีอีกทางเลือกที่ยังรักษาหลักการที่ว่า ส.ว. ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง ไม่ควรมีสิทธิโหวตนายกรัฐมนตรี คือ


2.การเชิญชวนให้ ส.ว. โหวตยกเลิกมาตรา 272 ปิดสวิตช์ตัวเองในการใช้อำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างถาวร

ซึ่งในช่วงไม่กี่วันมานี้ก็มี ส.ว.จำนวนไม่น้อย เช่น เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ และวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ที่ระบุว่าตนเองงดออกเสียงเพราะต้องการยึดหลักการ ส.ว. ไม่มีสิทธิโหวตนายกฯ และก่อนหน้านี้ก็มี ส.ว. ที่เคยโหวตเห็นด้วยกับการยกเลิกมาตรา 272 มากถึง 63 คน

การต่อสู้ในทั้ง 2 สมรภูมินี้ เราต้องการความร่วมมือร่วมใจจากพี่น้องประชาชนทุกคน แม้ว่าท่านจะเคยโหวตให้เราหรือไม่ เพราะนี่ไม่ใช่การต่อสู้เพื่อให้พิธาเป็นนายกฯ หรือให้ก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล แต่คือการต่อสู้เพื่อยืนยันว่าการเลือกตั้งต้องมีความหมาย เสียงของประชาชนต้องเป็นเสียงที่กำหนดอนาคตของประเทศ

หากเราพ่ายแพ้ในทั้งสองสมรภูมินี้ ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ พรรคก้าวไกลยินดีเปิดโอกาสให้พรรคที่ได้คะแนนอันดับสอง ได้แก่ พรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลของพรรคร่วม 8 พรรค โดยผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกลทุกคนจะสนับสนุนแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ภายใต้เงื่อนไขตาม MOU เดิม

แต่กว่าจะถึงวันนั้น เราจะทำทุกวิถีทางเพื่อจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ พรรคก้าวไกลเพียงพรรคเดียวไม่อาจเปลี่ยนใจ ส.ว. และนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลของประชาชนได้จริง จึงต้องขอแรงพลังจากทุกท่านร่วมทำภารกิจเพื่อให้เราสามารถจัดตั้งรัฐบาลของประชาชนให้สำเร็จ

อนาคตของพรรคก้าวไกลในการจัดตั้งรัฐบาลอยู่ในมือของพวกท่านทุกคนแล้ว มาช่วยกันส่งสารเพื่อเปลี่ยนใจ ส.ว. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง