กทม.รื้อตัดสายสื่อสารซอยทองหล่อ จัดระเบียบสายรกรุงรัง

กรุงเทพฯ 25 ส.ค. – ผู้ว่าฯ กทม. ติดตามการรื้อถอนตัดสายสื่อสาร จัดระเบียบสายสื่อสารรกรุงรัง ตามแผนของ กสทช. และ กฟน. เชื่อทำได้ตามเป้าหมายภายในสิ้นปีนี้


นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ติดตามการรื้อถอนสายสื่อสารตามแผนการจัดระเบียบสายสื่อสาร พ.ศ.2565 ณ บริเวณซอยทองหล่อ สุขุมวิท 55 เขตวัฒนา กทม. โดยมีตัวแทนผู้บริหารจากทั้งสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และการไฟฟ้านครหลวง ร่วมให้ข้อมูล โดยเป็นหนึ่งในโครงการตามแผนจัดระเบียบสายสื่อสารของ กสทช. ในพื้นที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ระยะเร่งด่วนจำนวน 400 กิโลเมตร ซึ่งดำเนินการไปแล้วกว่า 180 กว่ากิโลเมตร โดยวันนี้เริ่มในเส้นทางตามแผนจัดระเบียบ ซอยทองหล่อ ตั้งแต่ถนนสุขุมวิท ถึงถนนเพชรบุรี ระยะทาง 5 กิโลเมตร โดยวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นการจัดระเบียบที่ถนนทองหล่อ เริ่มที่บริเวณหน้า สน.ทองหล่อ ตามเป้าหมายจะทำตลอดทั้งเส้นนี้แล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค.นี้

ด้านผู้ว่าฯ กทม. เผยว่า นี่เป็นโครงการที่ กสทช. เป็นเจ้าภาพ โดยมีความร่วมมือหลายหน่วยงาน ทั้ง กทม., กฟน. รวมถึงเอกชนโอเปอร์เรเตอร์ให้บริการระบบโทรคมนาคม อย่างน้อยก่อนจะนำสายไฟลงดินได้ทั้งหมด การจัดระเบียบสายที่รกรุงรังที่ไม่ได้ใช้งานก็จะช่วยให้เมืองเป็นระเบียบขึ้น โดยพบว่ามีมากกว่าร้อยละ 50 ของสายทั้งหมดทั่ว กทม. โดยการจัดระเบียบจะช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดจากอัคคีภัยด้วย วอนประชาชนอย่าไปตัดสายเอง อาจเกิดอันตราย หรือตัดผิดสายได้ ให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องดำเนินการดีกว่า เพราะก่อนจะตัดสายต่างๆ ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ และสำรวจหาเจ้าของสายก่อน โดยเป็นปัญหาที่มีมายาวนาน ซึ่งพบว่าหลายเจ้าของสายที่นำสายมาพาดก็อาจมีที่ไม่ได้ขออนุญาตด้วย และมองว่าเรื่องนี้ต้องเร่งทำให้เสร็จตามแผน เพราะประชาชนตั้งความหวังและจับตามองอยู่ ส่วนการควบคุมด้านกฎหมายนั้น ผู้ว่าฯ กทม. ระบุการควบคุมสายพาดรายใหม่ๆ จะเน้นดูว่าหากผู้ที่มาติดตั้ง ไม่มีใบอนุญาตจาก กสทช. หรือ กฟน. ก็จะไม่ให้พาดเพิ่ม และ กทม. กำลังร่างข้อบัญญัติ หากเจ้าของสายมาลักลอบพาด หรือไม่ดำเนินจัดการสายสื่อสารที่ไม่ได้ใช้งานเป็นของรายใดก็จะถูกค่าปรับตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาด ด้วย


ด้าน กสทช. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในวันนี้เป็นไปตามแผนการจัดกระเบียบสายสื่อสารในกรุงเทพฯ ปี 2565 รวมระยะทางประมาณ 800 กิโลเมตร ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มพื้นที่เร่งด่วนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเป็นพื้นที่ที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมาก มีความต้องการใช้เครือข่ายโทรคมนาคมสูงและมีสายพาดผ่านอยู่หนาแน่น กับกลุ่มพื้นที่นอกเหนือจากกลุ่มเร่งด่วน โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 10 เส้นทางในพื้นที่กลุ่มเร่งด่วน ระยะทาง 25.4 กิโลเมตร และในพื้นที่ นอกเหนือกลุ่มเร่งด่วน 8 เส้นทางระยะทาง 54.22 กิโลเมตร และมีที่อยู่ระหว่างการจัดหาและติดตั้งคอนสื่อสารในอีก 169 เส้นทาง รวมระยะทาง 306.46 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะสามารถเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง