ไม่สร้างภาพทำได้จริง!! 4 ประเทศต้นแบบลดขยะพลาสติก

สำนักข่าวไทย 4 ธ.ค. – ทั่วโลกต่างตื่นตัว “ลดขยะพลาสติก” อังกฤษ, แคนาดา, ญี่ปุ่น และไต้หวัน 4 ชาติแม่แบบ ลด-ละ-เลิก พลาสติก ทำได้จริง ไม่สร้างภาพ





“ขยะพลาสติก” ก่อปัญหาร้ายแรงต่อระบบนิเวศทางทะเลจนก่อผลกระทบต่อวิถีชีวิตมนุษย์ในระยะยาว ปล่อยให้มีมากขึ้น ยิ่งจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลายประเทศมองการณ์ไกล ผู้นำประเทศ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ต่างให้ความร่วมมือ เพราะตระหนักถึงภัยร้ายแรงในอนาคตอันใกล้ ลงมือทำอย่างจริงจัง มีความเด็ดขาดด้านกฎระเบียบและกฎหมาย

สหราชอาณาจักร มีการเก็บภาษีถุงพลาสติก (Tax on plastic bag) จากลูกค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตโดยห้ามร้านค้าจ่ายภาษีแทนให้ลูกค้า (pay tax on cost behalf) ซึ่งห้างเทสโก้ ตอบรับมาตรการดังกล่าว นอกจากนี้ มีการรณรงค์ “a plastic bag free month” เพื่อลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก และเจ้าหน้าที่ร้านสหกรณ์ (co-op) ต้องถามลูกค้าสองครั้งว่าต้องการถุงพลาสติกหรือไม่


แคนาดา ออกกฎให้ผู้ค้าปลีกต้องจัดเก็บค่าถุงพลาสติกในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้นำถุงมาจากบ้านอย่างน้อย 5 เซนต์ต่อถุงพลาสติกหนึ่งใบ โดยไม่คำนึงถึงปริมาณและขนาดของถุงพลาสติก หากลูกค้านำถุงพลาสติกเหล่านั้นมาคืน ก็จะได้รับเงินคืนกลับไป

ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกยกเว้นในกรณีของถุงพลาสติกที่ใช้ในการบรรจุผัก ผลไม้ ถั่ว ลูกอม พลาสติกที่ใช้ห่ออาหารแช่แข็ง เนื้อ ปลาสด ถุงใส่ยารักษาโรค หนังสือพิมพ์ ถุงขยะและถุงรีไซเคิล เป็นต้น

ส่วนเงินที่ได้จากการขายถุงพลาสติก ผู้ขายสามารถนำเงินนั้นไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องนำไปให้รัฐบาล โดยให้ผู้ขายนำเงินที่ได้จากการขายถุงพลาสติกให้แก่ลูกค้ามาบริจาคสู่สังคม หรือองค์กรสิ่งแวดล้อม โดยมีการสนับสนุนให้แจ้งถึงการใช้ประโยชน์จากเงินจำนวนเหล่านั้น

รวมถึงการติดโปสเตอร์เพื่อรณรงค์ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก และการนำพลาสติกเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ด้วยอีกทางหนึ่ง โดยมีการตั้งเป้าหมาย และกำหนดข้อตกลงให้มีการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในส่วนระดับจังหวัดถึงร้อยละ 50 และในส่วนของเมืองโตรอนโตถึง 70%

ญี่ปุ่น ออกเป็น พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของกฎหมายส่งเสริมการซื้อสีเขียว (Law on Promoting Green Purchasing) และยังมีการกำหนดวันงดใช้ถุงพลาสติก (No plastic bag day) โดยได้รับความร่วมมือจากร้านค้าและตลาดเป็นจำนวนมาก

ที่นี่มีการจัดเก็บภาษีถุงพลาสติก โดยที่ร้านค้าต่างๆ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทางร้านค้าจะมีการให้สติกเกอร์กับผู้ที่มาซื้อของและไม่ต้องการถุงพลาสติก ทางร้านค้าจะมีการมอบสติกเกอร์ให้เพื่อนำไปสะสม พอสะสมจนครบ 25 ดวง ก็สามารถนำสติกเกอร์ไปแลกเป็นเงินจำนวน 100 เยน (ประมาณ 29 บาท) จากร้านที่ลูกค้าได้ซื้อของไป

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังออกพระราชบัญญัติกฎหมายการนำกลับมาใช้อีกฉบับ เพื่อให้บริษัทนำผลิตภัณฑ์ของตนกลับมาใช้อีก ลดวัสดุที่ใช้และเพิ่มอายุผลิตภัณฑ์เพื่อลดปริมาณของเสียและใช้ซ้ำบางชิ้นส่วนจากผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้อีก

ไต้หวัน องค์กรคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไต้หวัน (Taiwan Environmental Protection Agency, EPA) ออกกฎหมายเพื่อดำเนินนโยบายห้ามใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟมโดยไม่คิดมูลค่า (Ban the distribution of free plastic shopping bags and foam box)

1) มีการออกกฎห้ามใช้ถุงพลาสติกที่มีความหนาไม่เกิน 0.06 มิลลิเมตร

2) มาตรการการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมกับผู้ค้าปลีก โดยออกกฎห้ามร้านค้า

ถุงพลาสติกและกล่องโฟมโดยไม่คิดราคา ทั้งนี้ ค่าปรับสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอยู่ระหว่าง 66,000-300,000 ดอลลาร์ไต้หวัน เนื่องจากมีการใช้ถุงพลาสติกในไต้หวัน 16 ล้านชิ้นต่อวัน ทำให้เกิดปัญหาในการกำจัด

– เฟสแรก หน่วยราชการ หน่วยงานสาธารณะต่างๆ ของไต้หวัน ได้แก่ ร้านค้าของทหาร โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชน โรงพยาบาลรัฐ โรงอาหารในหน่วยงานของรัฐ จะต้องปฏิบัติตาม

– เฟสสอง บังคับใช้กับห้างสรรพสินค้า คลังเก็บสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายอาหารฟาสต์ฟูด และร้านอาหารที่มีหน้าร้าน สำหรับการเรียกเก็บค่าถุงพลาสติกหรือกล่องโฟมโดยผู้ค้าปลีก ไม่ได้ถูกกำหนดในอัตราที่แน่นอน

ตามปกติจะกำหนดช่วงราคาระหว่าง NT1-NT3 (ประมาณ 1.20-3.20 บาท) ต่อถุงพลาสติก 1 ใบ แต่ยกเว้นการเก็บค่าถุงพลาสติกที่ใช้สำหรับบรรจุสินค้าที่เสียหายง่าย และพลาสติกที่ใช้ห่ออาหาร เป็นต้น

ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการออกกฎการเก็บเงินค่าถุงพลาสติก มีการใช้ถุงพลาสติก 2.5 ถุงต่อคนต่อวัน แต่หลังจากนำกฎนี้มาใช้ สามารถลดการใช้ได้ถึง 80% ในปีแรก แต่มีเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในปีถัดมา

โมเดลจัดการขยะของไต้หวันที่น่าสนใจ

– รัฐบาลมีนโยบาย ออกกฎหมายและวางแนวปฏิบัติจัดการขยะที่เข้มงวด

– ตามบ้านพักอาศัย ประชาชนทิ้งขยะที่รถขยะเท่านั้น จึงมีเวลามารับขยะค่อนข้างแน่นอน เพราะมีจุดจอดรถในเมืองไทเปถึง 4,000 จุด

– ยกเลิกตั้งถังขยะในบริเวณที่อยู่อาศัย และห้ามประชาชนวางถุงขยะไว้ที่พื้นสาธารณะ

– การทิ้งขยะของประชาชน จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูว่า ทิ้งขยะถูกประเภทหรือไม่

– ประชาชนต้องแยกขยะก่อนทิ้ง และใช้ถุงขยะของรัฐซึ่งจะมีบาร์โค้ดระบุเท่านั้น

– ขยะรีไซเคิล แยกละเอียดถึง 13 ประเภท ส่วนขยะไม่สามารถรีไซเคิล ประชาชนก็ต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน ใส่เศษอาหารสำหรับนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ และอีกส่วนสำหรับใส่เศษอาหารสด เพื่อนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์

ปัจจุบันรัฐบาลไต้หวัน สามารถนำขยะที่ทิ้งกว่าร้อยละ 55 นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ด้วยการอำนวยความสะดวกในการแยกขยะ ควบคู่ไปกับการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด ทำให้ไต้หวันลดปริมาณขยะต่อคนได้เกือบสามเท่า จาก 1.14 กิโลกรัม ต่อคนต่อวันในปี 1998 ลงเหลือ 0.38 กิโลกรัมในปี 2015 ส่วนการรีไซเคิลขยะ เพิ่มจาก 5.9% ขึ้นไปสูงถึง 55% จนไทเป และทั้งประเทศไต้หวัน กลายมาเป็นต้นแบบของโลกในการจัดการขยะ


ไต้หวัน พลิกโฉมสู่ “เมืองต้นแบบจัดการขยะ” ล้างบางขยะพลาสติกในปี 2030

ชาวไต้หวันคุ้นเคยกับเสียงเพลง A Maiden’s Prayer หรือเพลง Fur Elise แต่หลายคนที่ไม่รู้ก็ลองนึกถึงเสียงตุ๊กตาไขลาน หรือเสียงเพลงเวลารอสาย

พวกเขาไม่ได้รอซื้อไอศกรีมอร่อยจากรถขาย หรือนั่นเป็นเสียงรถเร่ขายกับข้าว รับซื้อของเก่าเหมือนที่บ้านเรา หากว่าทั้งสองเพลงที่ชาวไทเปคุ้นหูดีนี้เป็นสัญลักษณ์ของ “รถเก็บขยะ” เพื่อให้ผู้คนละแวกนั้นรู้ว่ารถขยะมาแล้วนั่นเอง

ในอดีตเกาะไต้หวัน เมืองใหญ่อย่างไทเปครั้งหนึ่งตามถนนซอกซอยเคยสกปรกถึงขั้นถูกขนานนามว่า “เกาะแห่งขยะ” แต่มาวันนี้ เมืองแห่งนี้ รัฐบาลของเขาพูดได้เต็มปากว่า ที่นี่ คือ “เมืองต้นแบบจัดการขยะ” ซึ่งประเทศไทยน่าที่จะเอาเป็นแบบอย่าง เพราะจะเป็นนับจากจุดเริ่มต้นพลิกเมืองที่คล้ายคลึงกัน

แน่นอนว่าหนึ่งในปัญหาที่ตามมาจากการกระจุกตัวของประชากรก็คือ การจัดการขยะ กองขยะที่ล้นหลามและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อขยะถูกทิ้งโดยไม่ผ่านการทำความสะอาดและคัดแยก แต่เพียงเวลาไม่กี่ทศวรรษ ไต้หวันสามารถพลิกโฉมกลายเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับเรื่องระบบการจัดการระดับโลก

รถขยะก็ต้องดูให้ถูกสี รถขยะสีขาว เป็นรถรับขยะรีไซเคิล ส่วน รถขยะสีเหลือง เป็นรถรับขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ใครจะนำมาทิ้งปนเปไม่ได้เลย คนไต้หวันยุคนี้ รู้หน้าที่ พอเสียงเพลงเพราะดังสักแป๊บ ก็มีรถขยะมารอรับ ผู้คนก็รีบมาทิ้งขยะ

การซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ หรือร้านค้าใหญ่ๆ จะต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อถุงพลาสติก โดยราคาก็จะแตกต่างกันออกไปตามขนาดของถุง แตกต่างจากบ้านเราที่ถึงแม้จะซื้อของเพียงชิ้น สองชิ้น ทางร้านก็จะใส่ถุงให้อย่างรวดเร็วจนแทบจะปฏิเสธไม่ทัน

ปัจจุบันทางรัฐบาลไต้หวัน ออกประกาศให้ประชาชนรับทราบชัดเจนแล้วว่า “ภายในปี 2030 ขยะพลาสติกจะต้องได้รับการจัดการอย่างสมบูรณ์” พูดสั้นๆ ขยะพลาสติกในเมืองต้องเป็น 0 .- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

ข่าวแนะนำ

“เอวา” เสือโคร่งสายแบ๊ว ดาวรุ่งดวงใหม่

หน้าตาที่น่ารักบ้องแบ๊วเหมือนแมวตัวโต ตกหัวใจคนรักสัตว์กันไปเต็มๆ สำหรับน้องเอวา เสือโคร่งสายแบ๊วของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกจากหน้าตาน่ารักแล้วยังมีความสามารถหลายอย่าง จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่ผู้คนแห่ไปชมความน่ารักกันอย่างคึกคัก คาดจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวไปที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต้อนรับอบอุ่น “โอปอล” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ถึงไทย

กลับถึงไทยแล้ว “โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ปรากฏตัวในชุดไทย สวยสง่า แฟนนางงามต้อนรับอย่างอบอุ่น

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์

“นายกฯ แพทองธาร” โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes Global CEO Conference ครั้งที่ 22 ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ รับมือความท้าทาย ชูจุดเด่นไทยอยู่ตรงกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภาคการเกษตรที่เข้มแข็งดึงดูดนักลงทุน บอกกระตุ​้นเศรษฐกิจ​แจกเงินหมื่นเฟส​ 2 พุ่งเป้าเงินสะพัด ลั่น​จุดยืนไทยวางตัวเป็นทูตสันติภาพ พร้อมปรับตัวตามนโยบาย “ทรัมป์”