ยังไม่พบโควิดกลายพันธุ์ ทั้งมิวและC.1.2 ในไทย

สธ. 6 ก.ย.- กรมวิทย์ แจงยังไม่พบโควิดกลายพันธุ์ ทั้งมิวและC.1.2 ในไทย พร้อมชี้ WHO ยังจับตาสายพันธุ์ที่ห่วงกังวล แค่ 4 สายพันธุ์“อัลฟา-เดลตา-เบตา-แกมมา” เท่านั้น ส่วนมิวถูกจัดอันดับอยู่ในกลุ่มน่าสนใจ แต่ C.1.2 ยังไม่ถูกจัดอันดับอะไร แต่พบว่าทั้งมิว และ C.1.2 พบมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่ง E484K ที่มีพบต่อการหลบภูมิและเตรียมเปลี่ยนปรับการสุ่มตรวจค้นหาเชื้อในไทยใหม่ตามหลักระบาดวิทยา ให้ครอบคลุมมากขึ้น คาดสิ้น ธ.ค. ตรวจมาก 12,000 ตัวอย่าง


นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด19 ในประเทศไทยว่า จากการติดตามสถานการณ์และสุ่มตรวจหาเชื้อจำนวน 1,523 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 28 ส.ค.–3 ก.ย. 64 พบว่า เป็นสายพันธุ์ อัลฟา 75 คน ,เดลตา 1,417 คน และเบตา 31 คน ซึ่งหากมีการเปรียบเทียบสัดส่วนการแพร่ระบาดของแต่ละสายพันธุ์ จะพบว่าสายพันธุ์เดลตา เป็นสายพันนธุ์หลักของการระบาดในไทยขณะนี้คิดเป็นร้อยละ 93 ส่วนในพื้นที่ กทม.สายพันธุ์เดลตา มีสัดส่วนการระบาดถึงร้อยละ 97.6 พร้อมกล่าวว่า นับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ถึง 13 ล้านตัวอย่าง และยังมีนอกระบบในช่วงที่มีการระบาดหนัก อีกส่วนหนึ่ง คาดว่ามีการตรวจรวม 15 ล้านตัวอย่าง

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า จากการจัดอันดับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการติดตามการกลายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงกังวล (VOC) ยังมีแค่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ อัลฟา เดลตา เบตา และแกมมาเท่านั้น ยังไม่มีสายพันธุ์อื่นเพิ่ม เนื่องจากอัลฟาแพร่เร็ว, เดลตาแพร่เร็วและหลบภูมิคุ้มกัน ส่วนเบตา และแกมมา พบว่าอาจแพร่เร็วไม่เท่าสายพันธุ์อื่นแต่พบว่าหลบภูมิและดื้อต่อวัคซีน ส่วนการจับตาการกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ (VOI ) ขณะนี้ สายพันธุ์มิว ยังอยู่ในกลุ่มนี้ พบการระบาดมากในประเทศโคลอมเบีย ร้อยละ 40 และพบการกลายพันธุ์ในตำแหน่งสำคัญ คือ E484K ที่มีพบต่อการหลบภูมิ ดังนั้นต้องมีการติดตามใกล้ชิดต่อไป ส่วนสายพันธุ์ C.1.2 ที่แม้ขณะนี้ WHO ยังไม่ได้มีการระบุว่าอยู่ในกลุ่มไหน เนื่องจากยังมีข้อมูลน้อยอยู่ แต่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง ในตำแหน่ง E484K ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามต่อไปเช่นกันและขณะนี้ทั้งมิว และ C.1.2 ยังไม่พบการระบาดในไทย


นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ในอนาคตเตรียมปรับเปลี่ยนการสุ่มตรวจหาเชื้อโควิด -19 ใหม่ ใน 4 เดือนจากนี้จนถึง เดือนธันวาคมเพื่อให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย เบื้องต้นตรวจ 12,000 ตัวอย่าง โดยการตรวจจะอ้างอิงตามหลักวิชาทางระบาดวิทยา 1.เน้นการดักจับและเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่ที่จะเข้ามาในไทย ทั้งตามด่านตรวจ หรือแหล่งท่องเที่ยว 2.การสุ่มตรวจในภาพรวม เพื่อสะท้อนการติดเชื้อและสายพันธุ์ที่ระบาดในไทย โดยจะร่วมกับมหาวิทยาลัยของรัฐ ทั้ง มอ., จุฬาลงกรณ์, รามาธิบดี และมีการรายงานต่อศูนย์ข้อมูลระดับโลก เช่น GISAID ทุก 2 สัปดาห์ ซึ่งก็เป็นธรรมดาเมื่อตรวจมากขึ้น มีการรายงานมากขึ้นก็อาจพบสายพันธุ์ไทยได้ในอนาคต ดังนั้นก็ขอให้เข้าใจและอย่าตกใจในเรื่องนี้ -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว

ช้างพลายขุนเดช

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” ไปสถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” สู่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง จบดราม่า หลังฝากเลี้ยงที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่