นพ.ยง ห่วงสายพันธุ์เดลตาแพร่เร็ว เร่งฉีดวัคซีนรับมือ

สธ.22 มิ.ย.-“นพ.ยง” แจงให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์ ประสิทธิภาพวัคซีนทุกชนิดลดลงเพราะสายพันธุ์ที่เปลี่ยนไป ต้องรอการพัฒนาวัคซีนเจนเนอเรชั่น 2 เชื่อรับมือได้ ห่วงสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) มากกว่าเบตา (แอฟริกาใต้) เพราะแพร่เร็วกว่าอัลฟา (อังกฤษ) 1.4 เท่า ชี้การรับมือกับสายพันธุ์เดลตาต้องเน้นชะลอโรค ด้วยมาตรการควบคุมโรค ควบคู่กับการเร่งฉีดวัคซีน แม้ประสิทธิภาพจะลดลง


ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ว่า ขณะนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัสโควิดทั่วโลก เดิมเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มาจากอู่ฮั่น อยู่ประมาณ 4-5 เดือน ต่อมาแพร่ระบาดเป็นสายพันธุ์จีที่แพร่เร็วขึ้น และครองทั่วโลก การแพร่ที่เร็วขึ้นแต่ไม่ได้ทำให้ความรุนแรงของไวรัสมากขึ้น

ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์อังกฤษหรืออัลฟา ที่เริ่มพบ ต.ค.ปี 63 และระบาดเต็มที่ใน ก.พ.และ มี.ค.ปี 64 และจากการศึกษาก็พบว่าความรุนแรงของสายพันธุ์อัลฟา แพร่เร็วถึง 1.7 เท่า และขณะนี้ก็เริ่มพบสายพันธุ์เดลตาหรืออินเดีย โดยของไทยเริ่มพบในแคมป์คนงานก่อสร้างที่หลักสี่ และจากการศึกษาพบว่าสายพันธุ์เดลตาแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา ถึง 1.4 เท่า


ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ขณะนี้ที่ประเทศอังกฤษสายพันธุ์เดลตา กำลังเข้ามาแพร่ระบาดและแทนที่สายพันธุ์อัลฟาหรือสายพันธุ์อังกฤษดั้งเดิม แต่ความรุนแรงของสายพันธุ์เดลตายังไม่รุนแรง ขณะที่ประสิทธิภาพของวัคซีนทุกบริษัท ต้องยอมรับว่าเหมือนกันหมด ทั่วโลกกำลังเผชิญกลับประสิทธิภาพวัคซีนที่ลดลง เพราะการพัฒนาวัคซีนมีรากฐานมาจากสายพันธุ์เดิมอู่ฮั่น เมื่อไวรัสมีการพัฒนาและกลายพันธุ์ ทำให้ต้องมีการพัฒนาวัคซีนเจเนอร์ชั่น 2 มาเพื่อรองรับสายพันธุ์ของไวรัสที่เปลี่ยนไป คาดว่าจะสามารถพัฒนาแล้วเสร็จในอีก 6 เดือนข้างหน้า

ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ส่วนโอกาสที่สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จะมายึดครองโลกได้ มีโอกาสน้อย เนื่องจากแม้เชื้อไวรัสหลบภูมิคุ้มกัน มีผลต่อประสิทธิภาพวัคซีน แต่อัตราความรุนแรงยังเท่าเดิม แต่ในส่วนสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จากการศึกษาในสกอตแลนด์ พบว่าประสิทธิของวัคซีน ทั้งแอสตราฯ และไฟเซอร์ ลดลง 10% จากเดิมประสิทธิภาพของไฟเซอร์ อยู่ที่ 90%

ทั้งนี้ เมื่อรับวัคซีนไฟเซอร์ครบ 2 เข็มในสายพันธุ์เดลตา พบว่าประสิทธิภาพเหลือ 79 % ขณะที่แอสตราฯ เมื่อรับครบ 2เข็ม เจอสายพันธุ์เดลตา ประสิทธิภาพก็ลดลงเหลือ 60% จากเดิมที่ประสิทธิภาพวัคซีนอยู่ที่ 90% ซึ่งการป้องกันสายพันธุ์เดลตา(อินเดีย) ต้องใช้ภูมิต้านทานสูง ไม่ว่าจะเป็นแอสตราฯ หรือไฟเซอร์ การรับวัคซีน 1 เข็มอาจไม่เพียงพอในการป้องกันโรค เพราะประสิทธิภาพในการป้องกันโรคลดลง 20-30%


ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ดังนั้นในการรับมือกับสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ต้องใช้การชะลอการระบาดให้มากที่สุด โดยสายพันธุ์นี้จะค่อยๆ พบในไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอีก 4-5 เดือน ดังนั้นจึงต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ช่วยกันทำให้การพบการแพร่ระบาดของสายพันธุ์นี้ เพิ่มขึ้นแค่ 1% หรือ 2% เท่านั้นและต้องเร่งกวาดล้างโดยเร็ว

ส่วนการรับวัคซีนในเข็มที่ 3 นั้น สามารถรับได้ในวัคซีนชนิดเดียวกันหรือแตกต่างกัน และย้ำว่าการรรับวัคซีนระยะเวลาที่เหมาะสม สามารถกระตุ้นและสร้างภูมิคุ้นได้ถึง 10 เท่า .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว

ช้างพลายขุนเดช

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” ไปสถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” สู่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง จบดราม่า หลังฝากเลี้ยงที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่