“นพ.ยง” อธิบายโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย

กรุงเทพฯ 22 พ.ค.-“นพ.ยง” อธิบายโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย ตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ วัคซีนที่ไทยเลือกใช้น่าจะมีประสิทธิผลในการป้องกันได้ ชี้ต้องคุมให้ได้โดยเร็ว ก่อนสร้างปัญหาใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยกรณีพบสายพันธุ์อินเดียระบาดในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ที่ศูนย์ก็พบสายพันธุ์อินเดีย B.1.167.2 จากผู้เดินทางมาจากอินเดีย 8 คน ในสถานกักกัน ซึ่งจะไม่มีผลต่อการระบาดในประเทศไทย เมื่อมีการพบสายพันธุ์อินเดีย ในประเทศไทยจึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมให้ได้โดยเร็ว ก่อนที่จะสร้างปัญหาใหญ่โต


สายพันธุ์ที่ระบาดอย่างรุนแรงในอินเดีย ประกอบไปด้วยสายพันธุ์อินเดียและ เบงกอล สายพันธุ์อินเดีย เป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง และให้ความสำคัญ Variant of Concern (VOC) อีกสายพันธุ์หนึ่ง รวมทั้งสายพันธุ์อังกฤษ เพราะมีการแพร่กระจายได้ง่ายมาก อย่างรวดเร็ว สายพันธุ์อินเดีย B.1.167 มี 3 กลุ่มย่อย คือ B.1.167.1, B.1.167.2, B.1.167.3 ดังแสดงในรูป แต่สายพันธุ์ที่ระบาดมากในอินเดียและกระจายไปในประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมาก คือ สายพันธุ์ B.1.167.2 สายพันธุ์นี้ได้ระบาดไปถึงประเทศอังกฤษ ทำให้ทางอังกฤษต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะแพร่กระจายได้ง่าย
จากข้อมูลในประเทศอังกฤษ มีการรายงานในข่าว Reuters พบว่าสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้ง่าย แต่ไม่น่าจะหลบหลีกภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีน (UK increasingly confident COVID-19 vaccines work against Indian variant) โดยเฉพาะที่ใช้ในประเทศอังกฤษ ใช้วัคซีน AstraZeneca ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาในแนวลึก

ถ้าเราดูในหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ สายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายจะมีการกลายพันธุ์ในส่วนของ Spike protein ดังนี้ D614G หรือที่เราเรียกว่าสายพันธุ์ G คือตำแหน่งที่ 614 มีการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนจาก Aspartate ไปเป็น Glycine ทำให้สายพันธุ์นี้ครองโลกอยู่ขณะนี้ ตำแหน่ง N501Y มีการเปลี่ยนแปลงจาก Asparagine ไปเป็น tyrosine และทำให้จับกลับตัวรับบนผิวเซลล์ได้ดีขึ้น พบในสายพันธุ์อังกฤษ ที่ทำให้แพร่กระจายได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญอีกตำแหน่งหนึ่ง คือ ตำแหน่ง 681 ในตำแหน่งนี้ทั่วไปกรดอะมิโนจะเป็น Proline จะเป็นตำแหน่งที่เอนไซม์ของร่างกายเรา คือ furin ไปตัดแบ่ง spike protein หลังจากไวรัสได้เกาะกับเซลล์เรียบร้อยแล้ว ถ้าสามารถตัดได้ง่ายไวรัสก็จะมุดเข้าสู่เซลล์ได้ง่าย เพราะการเกาะติดและเข้าสู่เซลล์จะต้องมีการตัดส่วนของ Spike protein ให้แยกขาดออกจากกัน (S1 และ S2) เพื่อให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ ถ้ายิ่งตัดง่ายก็เข้าสู่เซลล์ได้ง่าย เกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าเปลี่ยนเป็น กรดอะมิโนที่เป็นด่าง จะเห็นว่าสายพันธุ์อินเดีย ต่างจากสายพันธุ์อื่นคือเป็น 681R ในตำแหน่งนี้เป็น Arginine ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นด่าง ทำให้เอนไซม์ Furin ตัดได้ง่ายขึ้นและง่ายที่จะเข้าสู่เซลล์หรือการติดเชื้อนั้นเอง


การเปลี่ยนแปลงที่จะหลบหลีกระบบภูมิต้านทานส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญอยู่ในตำแหน่งที่ 484 วัคซีนส่วนใหญ่ที่ทำมาจะเป็นสายพันธุ์ ในตำแหน่งนี้ คือ กรดอะมิโน Glutamic (E) แต่ถ้าเปลี่ยนไปเป็น K หรือ Lysine อย่างเช่นในสายพันธุ์แอฟริกาใต้ จะทำให้หลบหลีกระบบภูมิต้านทานที่จะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง

เมื่อดูสายพันธุ์อินเดีย (B.1.167.2) ในตำแหน่งนี้ยังเป็น E ดังนั้นด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ วัคซีนที่ใช้อยู่น่าจะมีประสิทธิผลในการป้องกันได้ เช่นเดียวกันกับที่มีการพูดในอังกฤษผ่านสำนักข่าวออกมา
การแพร่กระจายได้ง่ายนี้เองทำให้ทั่วโลก จึงให้ความสำคัญและคำนึงถึงสายพันธุ์อินเดียมีการพยายามป้องกันอย่างเต็มที่ไม่ให้เกิดการระบาดในประเทศของตัวเอง แต่ต้องยอมรับว่าการป้องกันสิ่งที่มองไม่เห็น สามารถทำได้ยาก ถ้าขาดระเบียบวินัย

โดยสรุปสายพันธุ์อินเดีย B.1.167.2 จะแพร่กระจายได้ง่าย จะง่ายเท่าสายพันธุ์อังกฤษหรือมากกว่าสายพันธุ์อังกฤษ ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจน แต่สายพันธุ์นี้ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ วัคซีนที่เราใช้อยู่นี้ น่าจะป้องกันได้ อยากให้เด็กรุ่นใหม่สนใจวิทยาศาสตร์กันให้มาก การตอบปัญหาต่างๆ จะใช้หลักวิทยาศาสตร์ และความจริงที่พิสูจน์ได้ .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว

ช้างพลายขุนเดช

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” ไปสถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” สู่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง จบดราม่า หลังฝากเลี้ยงที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่