กสทช แจ้งแผนปรับปรุง สัญญาณทีวีดิจิตอล

กรุงเทพฯ 19 ส.ค. กสทช. เผยแผนปรับปรุงโครงข่ายดิจิตอลทีวีหลังเรียกคืนคลื่น 700 เมกกะเฮิรตซ์ ผู้ชมปรับจูนกล่องรับสัญญาณก.ย. -ธ.ค. 2563 เริ่มภาคใต้เป็นภาคแรก


พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธาน กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) แถลงแนวทางการปรับปรุงโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เพื่อรองรับการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ว่า หลังจากมีการประมูลคลื่นความถี่ 700 เมกกะเฮิรตซ์ ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียงนำมาใช้ในกิจการโทรคมนาคมเพื่อรองรับเทคโนโลยี 5G นั้นจะส่งผลให้ตั้งแต่เดือน ก.ย. -ธ.ค. 2563 โทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลหรือดิจิตอลทีวีไม่สามารถรับชมได้ในบางพื้นที่ซึ่งประชาชนต้องทำการปรับจูนกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (Set Top Box) หรือดิจิตอลทีวีเพื่อให้ดิจิตอลทีวีกลับมารับชมได้อีกครั้งสำหรับพื้นที่ที่ประชาชนต้องทำการปรับจูนกล่อง Set Top Box หรือดิจิตอลทีวีเพื่อให้กลับมารับชมได้

การปรับปรุงระบบเริ่มจากลำดับแรก พื้นที่ภาคใต้เริ่มเดือน ก.ย. 2563 ,พื้นที่ในกรุงเทพมหานครปริมณฑลและบริเวณใกล้เคียงเริ่มวันที่ 5 ต.ค. 2563 , พื้นที่ภาคเหนือเริ่มเดือน ต.ค. 2563 , พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มเดือน พ.ย. 2563 และพื้นที่ภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่สุดท้ายเริ่มเดือน ธ.ค. 2563 ในส่วนของพื้นที่ภาคกลางเริ่มเดือน ธ.ค. 2563 ทั้งนี้ในพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถปรับจูนสัญญาณได้ตั้งแต่เวลา 17.00 น. ส่วนกรุงเทพมหานครปริมณฑลและพื้นที่ใกล้เคียงสามารถปรับจูนสัญญาณได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. เป็นต้นไปพันเอกดร. นทีกล่าวว่าประชาชนสามารถดำเนินการปรับจูนสัญญาณดิจิตอลทีวีได้เองโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายซึ่งขั้นแรกประชาชนต้องตรวจสอบตัวเองก่อนว่าที่บ้านรับสัญญาณดิจิตอลทีวีหรือไม่ซึ่งการรับสัญญาณดิจิตอลทีวีจะใช้เสาก้างปลาหรือหนวดกุ้งในการรับสัญญาณไม่ได้ใช้จานรับสัญญาณสี


“จะมีการประชาสัมพันธ์ในแต่ละพื้นที่เวลาที่จะมีการปรับปรุงสัญญาณเพื่อให้ประชาชนรับทราบ ขอให้ประชาชนสบายใจได้ว่าจะมีผลกระเพียงช่วงเวลาสั้นๆ การปรับเปลี่ยนในแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกันตามขนาดของเครื่องส่ง ส่วนที่ห่วงเรื่องผลกระทบกับเรทติ้งคงมีผลประมาณร้อยละ 1 ของพื้นที่ช่วงนั้นๆซึ่งการชดเชยได้รวมอยู่ในการชดเชยเมื่อเรียกคืนคลื่น 700 เมกกะเฮิรตซ์ ไปแล้ว”พันเอกนที กล่าว

พันเอกนที กล่าวอีกว่า การปรับจูนกล่อง Set Top Box หรือดิจิตอลทีวีโดยมี 4 ขั้นตอนได้แก่ 1. กดเมนูบนรีโมท 2. เลือกคำว่าตั้งค่าหรือติดตั้ง 3. เลือกคำว่าค้นหาอัตโนมัติและ 4. เลือก OK หรือคำว่าค้นหาเมื่อสัญญาณกลับมาก็จะทำให้สามารถรับชมดิจิตอลทีวีได้อีกครั้งทั้งนี้สามารถตรวจสอบวันเวลาปรับเปลี่ยนสัญญาณในพื้นที่พร้อมคู่มือการจูนสัญญาณโดยละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://700.nbtc.go.th หรือหมายเลขโทรศัพท์ 020-700-700“ การปรับเปลี่ยนคลื่นความถี่ครั้งนี้เพื่อให้ประเทศเข้าสู่เทคโนโลยี 5G อย่างสมบูรณ์ แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในบางพื้นที่ทำให้ไม่สามารถรับชมดิจิตอลทีวีได้ชั่วคราวหากประชาชนจูนกล่อง Set Top Box หรือดิจิตอลทีวีใหม่ก็จะกลับมาดูทีวีได้เหมือนเดิมสัญญาณที่หายเป็นเพียงช่วงหนึ่งเท่านั้น-สำนักข่าวไทย.


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ “ธัญพร มุ่งเจริญพร” เข้าป้าย

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ ลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย “ธัญพร มุ่งเจริญพร” พลิกชนะ “พรชัย มุ่งเจริญพร” แชมป์เก่าแบบขาดลอย คว้าเก้าอี้มาครอง นั่งนายก อบจ.หญิงคนแรกของจังหวัด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าคึกคัก

ภาพรวมการใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าค่อนข้างคึกคัก มีประชาชนทยอยใช้สิทธิต่อเนื่อง ยังไม่มีรายงานการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ปชช.ตื่นตัวใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ท่ามกลางสายฝน

ชาวนครศรีธรรมราช ตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ท่ามกลางสายฝน กกต.เผยภาพรวมครึ่งวันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีรายงานการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ช้างป่ายกโขลงประชิดหมู่บ้าน ไล่ระทึกทั้งคืน

ไล่ระทึกกันทั้งคืน ช้างป่ายกโขลงบุกประชิดหมู่บ้านตลิ่งชัน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ออกหากินผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน