ตลาดเงิน-ทุนโฟกัส มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ



กรุงเทพฯ-4
เม.ย.-ตลาดเงิน ตลาดทุน จับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากพิษ
COVID-19 ของไทยและทั่วโลก รวมทั้งการประชุมฉุกเฉินของโอเปก-พันธมิตร


บริษัท
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาททยอยอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ
โดยเงินบาทอ่อนค่าลงท่ามกลางความกังวลต่อผลกระทบจากโควิด-19
ต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย
ประกอบกับยังมีแรงกดดันจากสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี
การอ่อนค่าของเงินบาทยังคงเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับหลายสกุลเงินในภูมิภาค  เงินบาทสามารถลดช่วงอ่อนค่าลงได้บางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์
ซึ่งอาจเป็นการปรับทิศทางของก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ  

ในวันศุกร์
(
3 เม.ย.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.97 หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 17 เดือนที่ 33.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ในระหว่างสัปดาห์ เทียบกับระดับ 32.
61 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ในวันศุกร์ก่อนหน้า (2
7 มี.ค.)

ด้าน หุ้นไทยปรับตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET
ปิดที่ระดับ 1,138.84 จุด เพิ่มขึ้น 3.55% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่
58
,852.12 ล้านบาท ลดลง 9.89%
จากสัปดาห์ก่อน
ส่วนดัชนี
mai เพิ่มขึ้น 2.62% จากสัปดาห์ก่อน มาปิดที่ 220.22 จุด  


ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวอิงขาขึ้นในสัปดาห์นี้
โดยแม้จะถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอยของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19
ในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ แต่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์
โดยมีแรงหนุนจากความคาดหวังเชิงบวกต่อมาตรการระยะ 3
เพื่อเยียวยาผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ในประเทศ
ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานทยอยฟื้นตัวขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
ขานรับการเตรียมคืนสู่โต๊ะเจรจาของกลุ่มโอเปกและพันธมิตร
เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน

 

สำหรับสัปดาห์ถัดไป
(
6-10 เม.ย.)
ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.
70-33.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ  ด้านบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย
คาด ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1
,115 และ 1,100 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,155 และ 1,170  จุด  ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือน
มี.ค. การพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 3 ของ ครม. เพื่อบรรเทาผลกระทบไวรัสโค
วิด-19 มาตรการบรรเทาผลกระทบสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ของประเทศชั้นนำ
รวมถึงการจัดประชุมฉุกเฉินของกลุ่มโอเปกและพันธมิตร ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ
ได้แก่ บันทึกการประชุมเฟด รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิตและดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมี.ค.
ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนมี.ค.
ของญี่ปุ่น รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิตและผู้บริโภคเดือนมี.ค. ของจีน
สำนักข่าวไทย

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” เผยยังไม่สรุปสาเหตุตึก สตง.ถล่ม ต้องรอตรวจสอบเชิงลึก

“อนุทิน” ระบุยังไม่สรุปสาเหตุตึก สตง. ถล่ม บอกต้องรอตรวจสอบเชิงลึก ชี้สภาพหน้างานตอนนี้ยังเก็บหลักฐานไม่ได้ อยู่ระหว่างกู้ภัย คาดใช้เวลาอีกเป็นเดือน

คุมตัวผัวเมียชิงทอง 8 บาท ย่านบางพลี ทำแผนฯ

ตำรวจคุมตัวสามีภรรยา ชี้จุดทำแผนประกอบคำรับสารภาพ หลังร่วมกันก่อเหตุชิงทอง 8 บาท ร้านทองย่านบางพลี จ.สมุทรปราการ อ้างต้องการเงินไปเป็นเจ้าภาพงานบุญผ้าป่า หลังสัญญากับทางวัดไว้

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

“ก้อง ห้วยไร่” ร้องเพลงให้กำลังใจญาติผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม

ใช้ดนตรีฮีลใจ “ก้อง ห้วยไร่” ร้องเพลงคลายเครียดให้กับญาติผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม ที่ศูนย์พักคอยฯ ทำเอาหลายคนกลั้นน้ำตาไว้ไม่ไหว เผยเข้าใจความรู้สึกแรงงานดี เพราะตนเคยทำมาก่อน