ทำเนียบรัฐบาล 30 มี.ค.-นายกฯ รับมอบนวัตกรรมบริการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 เบื้องต้นแบบรวดเร็ว 1 แสนชุดจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมใช้ที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรก พร้อมขยายสถานพยาบาลเครือข่ายที่สนใจต่อไป
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับมอบนวัตกรรมบริการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 เบื้องต้นแบบรวดเร็ว หรือ Chula COVID-19 Strip Test Service จากนายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 100,000 ชุด เพื่อให้รัฐบาลนำไปให้บริการประชาชน ในการตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 เป็นการเบื้องต้น ซึ่งนวัตกรรมบริการตรวจคัดกรองโรค COVID-19 แบบรวดเร็วนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับทีมกลุ่มสตาร์ทอัพศิษย์เก่าจุฬาฯ และเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นการทดสอบที่อาศัยหลักการทางภูมิคุ้มกันร่างกาย (Serology test) เป็นการตรวจหา แอนติบอดี (IgG & IgM) ในเลือดซีรัมหรือพลาสมา โดยใช้ชุดตรวจวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว (Rapid diagnostic test kit)
ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวจะเริ่มใช้ที่ศนูย์บริการสุขภาพแห่งจฬุาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรก และจะขยาย ไปยังสถานพยาบาลเครือข่ายที่สนใจต่อไป การบริการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ด้วยนวัตกรรมนี้เริ่มต้นจากผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ลงทะเบียนทางออนไลน์ผ่าน Application ที่ http://covid19.thaitechstartup.org/ โดยระบบจะใช้ปัญญาประดิษฐ์คัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงก่อน เพื่อส่งต่อไปยังระบบแอปพลิเคชั่นการให้บริการทางสุขภาพออนไลน์โทรเวชกรรม (Telemedicine) เพื่อให้แพทย์จิตอาคัดกรองอีกชั้นหนึ่ง เป็นการสง่เสริมแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดด้วยการ เว้นระยะทางสังคม(SocialDistancing) จากนั้นผู้ป่วยจะนัดหมายเข้ามารับบริการที่ศนูย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยัยผ่านแอปพลิเคชั่น QueQ
เมื่อผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ โควิด-19 มารับการตรวจคัดกรองที่ศนูย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ จะได้รับการตรวจโดยใช้ชุดตรวจ แบบว่องไว Baiya Rapid COVID-19 ซึ่งเป็นชุดคัดกรองหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 หากมีผลเป็นบวก จะส่งต่อไปยังสถานพยาบาลเพื่อยืนยันผลด้วยวิธีมาตรฐานต่อไป หากผลเป็นลบและป้องกันการเกิดผลลบลวง (False negative) ระบบจะติดตามผู้ป่วยโดยให้ผู้ป่วยกรอกข้อมูลอาการของตน ผ่านแอปพลิเคชั่นหลังจากได้รับการตรวจและแนะนำให้กักตัวหรือเว้นระยะทางสังคม (Social Distancing) อย่างน้อย 14 วันโดยติดตามด้วยระบบการให้บริการทางสุขภาพออนไลน์โทรเวชกรรม (Telemedicine) หากยังพบว่าอาการไม่ดีขึ้นและมีความเสี่ยงผู้ป่วยจะต้องกลับมาตรวจซ้ำภายใน3-5วัน หลังจากได้รับการตรวจครั้งแรก.-สำนักข่าวไทย