ปกปิดข้อมูล “โควิด-19” มีโทษหนัก

กรุงเทพฯ 27 ก.พ. – หลังประกาศโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ก.สาธารณสุข เตรียมเอาผิดผู้ปกปิดข้อมูลการสอบสวนโรค ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท 


หลังสามีภรรยาสูงวัยปกปิดประวัติการเดินทาง หลังกลับจากฮอกไกโด ทำให้ทั้งคู่และหลานชายวัย 8 ปี ติดเชื้อโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์และคนสัมผัสใกล้ชิดกว่า 100 คน ต้องกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงเฝ้าระวัง และหยุดงาน 14 วัน 


ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ บอกว่า แม้เคสนี้ยังไม่ถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งล่าสุดมีการประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 แต่พวกเขาก็ถูกกระแสสังคมลงโทษไปแล้ว อีกทั้งมีอาการป่วยหนัก ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นอีก พร้อมย้ำการประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น


เมื่อประกาศโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย มีผลบังคับใช้ การปกปิดประวัติที่จำเป็นในการสอบสวนโรค จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ในมาตรา 34 (1) มีสาระสำคัญระบุว่า ผู้ที่เป็นโรคติดต่ออันตราย หรือเข้าข่ายต้องสงสัย หรือมารับการตรวจรักษา ต้องเข้าสู่การแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ในสถานที่ที่กำหนด จนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

มาตรา 31 ประชาชน ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นใด เช่น โรงแรม ต้องแจ้งเมื่อพบมีผู้ต้องสงสัยหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่ออันตราย ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 20,000 บาท

มาตรา 40 (2) พาหนะที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่ประกาศเป็นเขตควบคุมโรคจากต่างประเทศ ต้องจอดอยู่ในสถานที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น หากฝ่าฝืนมีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท

การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ เป็นหนึ่งในมาตรการที่ช่วยให้การควบคุมโรคเข้มข้นขึ้น และไม่เข้าสู่การแพร่ระบาดในระยะที่ 3 เร็วเกินไป 

หลังเกิดเคสปกปิดข้อมูลอาการป่วย ทำให้หลายคนตื่นตระหนก เข้าโรงพยาบาลตรวจหาเชื้อโควิด-19 แพทย์ชี้หากยังไม่แสดงอาการ ก็ยากที่จะตรวจพบ และต้องเสียค่าใช้จ่ายหลักพันจนถึงหลายหมื่นบาทโดยไม่จำเป็น ซึ่งข้อมูลโรงพยาบาลและราคาที่ปรากฏในสื่อออนไลน์ ทีมข่าวตรวจสอบแล้วพบว่า โรงพยาบาลเอกชนยังคงตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้เพียงเบื้องต้น ถ้าต้องการทราบผลแน่ชัด ต้องส่งไปตรวจยืนยันที่ 2 แล็บของรัฐเท่านั้น คือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงพยาบาลจุฬาฯ. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

ปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

รองผู้ว่าฯ กทม. เผยยอดผู้เสียชีวิตเหตุตึกถล่ม ที่ผ่านการพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว อยู่ที่ 16 ราย และอยู่ระหว่างการค้นหาอีก 78 ราย พร้อมแจงปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

นายกฯ วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

นายกรัฐมนตรี วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช 2568 ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า