กัลฟ์เสนอขายไฟฟ้าจากลาว 3 เขื่อน

กรุงเทพฯ 19 พ.ย. – กัลฟ์ เสนอขายไฟฟ้าให้ไทยจากเขื่อน 3 โครงการในลาว ระบุกฎหมายไทยยังไม่เอื้อเป็นชิปเปอร์นำเข้าแอลเอ็นจี ด้าน กกพ.เตรียมหารือ ปตท.หนุนไทยเป็นฮับแอลเอ็นจี


นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เปิดเผยว่า บริษัทศึกษาลงทุนในหลายประเทศจากที่ปัจจุบันลงทุนแล้วในเวียดนามและโอมาน ซึ่งจะมีแผนลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นจะได้ถึง 10,000 เมกะวัตต์ใน 5 ปีหรือไม่ ก็คงจะต้องดูถึงความเหมาะสม โดยโครงการพลังน้ำใน สปป.ลาวกำลังพิจารณา 3 โครงการ กว่า 2,000 เมกะวัตต์ ได้แก่ โครงการปากเบ่ง ปากเลย์ และซานาคาม ซึ่งจะลงทุนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาขายไฟฟ้าให้ประเทศไทยได้หรือไม่ ตามข้อตกลงความร่วมมือซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาวรวม 9,000 เมกะวัตต์

นายสารัชถ์ กล่าวด้วยว่า บริษัทยังไม่ได้เสนอต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ.ที่จะเป็นชิปเปอร์หรือเป็นผู้จำหน่ายและนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เพราะกฎหมายภายใต้การดูแลของกระทรวงพลังงานยังไม่เอื้ออำนวย ส่วนโครงการลงทุนสถานีรับจ่ายแอบเอ็นจีในเวียดนาม และโครงการร่วมทุนในท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 นั้น เป็นการลงทุนที่แยกกัน เพื่อป้อนความต้องการในประเทศเป็นหลักไม่เกี่ยวกับแผนงานประเทศไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG HUB) ของกระทรวงพลังงานแต่อย่างใด


นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ.เตรียมเชิญบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) มาหารือถึงแผนงานแอลเอ็นจีฮับ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติ หลังจาก ปตท.ได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วม “โครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (Energy Regulatory Commission Sandbox :ERC Sandbox) ของ กกพ. เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการ Regional LNG Hub ของ ปตท. และโครงการการศึกษาและพัฒนาศูนย์กลางการซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวผ่านสถานีรับจ่ายก๊าซแอลเอ็นจี ของบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด 

“กรณีให้ไทยเป็น LNG HUB แต่ในทางปฏิบัติควรจะต้องเกิดความชัดเจนด้านโครงการอัตราก๊าซฯ ของประเทศก่อน โดยเฉพาะเมื่อเอกชนรายอื่น ๆ นำเข้าจะมีสูตรคำนวนราคาก๊าซฯ อย่างไร เพื่อไม่ให้กระทบต่อโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้ารวมของประเทศ” นายเสมอใจ กล่าว

นอกจากนี้ กกพ.เตรียมเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันที่ 16 ธันวาคมนี้ พิจารณาขยายระยะเวลากำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ของโครงการที่ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตามแผนในช่วงปี 2563-2564 กำลังผลิตรวมประมาณ 300 เมกะวัตต์ เช่น โรงไฟฟ้าขยะชุมชน และชีวมวล เป็นต้น ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ติดปัญหาการทำความเข้าใจกับชุมชน. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

K9 หยุดปฏิบัติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย ตึกสตง. ถล่ม

K9 หยุดปฏิบัติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย ตึกสตง. ถล่ม เพราะปฏิบัติหน้าที่ครบ 10 วันแล้ว เป็นปกติของการทำงาน หากปฏิบัติภารกิจต่ออาจจะทำให้บาดเจ็บได้ และการกู้ภัยที่เหลือตอนนี้จำเป็นต้องต้องใช้เครื่องจักรใหญ่เท่านั้น