ฮ่องกง 26 ต.ค. -อีอีซี จับมือ FHK ฮ่องกง ร่วมพัฒนาการลงทุนและการวิจัยในเขตอีอีซี
บ่มเพาะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ปั้นขึ้นสู่เวทีโลก
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และ Mr.
Paul CHAN, Financial Secretary of HKSAR Government ร่วมเป็นสักขีพยาน
ในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านความร่วมมือระหว่าง The
Federation of Hongkong Industries (FHKI) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพิเศษภาคตะวันออก
(อีอีซี) โดยมี นางลัษมณ อรรถาพิช
รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
สายงานการลงทุนและความร่วมมือระหว่างประเทศ ลงนามนามบันทึกความเข้าใจ กับ นาย Daniel
YIP, Chairman, FHKI ณ โรงแรม Ritz-Carlton เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
สำหรับการลงนามบันทึกความร่วมเข้าใจ (MOU)
ถือเป็นเวทีสำคัญในการผลักดัน
ส่งเสริมและขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนฮ่องกง
หวังร่วมพัฒนาส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย
การอำนวยความสะดวกทางด้านการลงทุน การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยี
และนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) ในพื้นที่ EEC ของไทย เน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของฮ่องกง
ได้แก่ กลุ่มไบโอเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ กรีนเทคโนโลยี
และยังต้องการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการศึกษา
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ
หลังจากสำนักงานอีอีซี
ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษา 30 องค์กร
ร่วมลงขัน 640 ล้านบาท ตั้งบริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด
เริ่มเดินเครื่องพัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) สร้างสตาร์ทอัพไทยกลุ่ม
Deep Tech ที่มีศักยภาพป้อนสู่ตลาดโลกในปี 2562
ไม่น้อยกว่า 50 ราย พร้อมคัดเลือกไปนำเสนอไอเดียธุรกิจในเวทีระดับโลกที่ฮ่องกง
เตรียมลงนามผนึกความร่วมมือหน่วยงานสตาร์ทอัพเกาหลีใต้และอิสราเอล ปลายปีนี้
รองนายกรัฐมนตรี ยังได้เยี่ยมชม สถานีรถไฟเกาลูน เป็นรถไฟความเร็วสูงเอ็กซ์เพรส
เรล ลิงก์ เชื่อมเส้นทางจากมณฑลกว่างโจว-เซินเจิ้น-ฮ่องกง
เพื่อเชื่อมต่อเมืองด้วยระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงแห่งชาติจีน
การบริหารสถานีรถไฟฟ้า ภายในอาคารผู้โดยสารขาเข้า
หลังจากผ่านทางเข้าแกนหมุนด่านศุลกากรแล้ว เชื่อมต่อไปยังโรงแรม
ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
หวังอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวจีน เดินทางสถานีเวสต์เกาลูน
และต่อไปยังฮ่องกงดิสนีย์แลนด์
สถานีเกาลูน มีเนื้อที่บริหารในเชิงพาณิชย์ถึง
316 ตารางเมตร บริการแบบครบวงจร
สามารถสร้างรายได้ให้กับการบริหารรถไฟความเร็วสูงโดยไม่ต้องพึ่งพารายได้จากค่าโดยสารเพียงอย่างเดียว
ยอดเดินทาง ณ เดือนมิถุนายนปี 62
ที่ผ่านมารองรับผู้โดยสารผ่านเข้าออกได้ถึง 15 ล้านคน
เฉลี่ยเดินทางต่อวัน/คน/เที่ยวกว่า 54,000 คน/เที่ยว
จึงต้องการนำแนวคิดมาพัฒนารถไฟฟ้าในเมืองไทย.-สำนักข่าวไทย