เกษตรกรเตรียมบุก ก. เกษตรฯ คัดค้านยกเลิก 3 สาร

กรุงเทพฯ 17 ต.ค. – กลุ่มเกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจหลักเตรียมบุกกระทรวงเกษตรฯ คัดค้านเลิก 3 สารเคมี ขณะที่นักวิชาการจุฬาฯ ขอให้ผู้บริหารบ้านเมืองใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พิจารณาสารเป็นรายชนิด เนื่องจากวิธีใช้และระดับพิษต่างกัน การตีขลุมจะทำให้เกษตรกรขาดเครื่องมือประกอบอาชีพ


นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย กล่าวว่า วันที่ 21 ตุลาคม เวลา 10.00 น. กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 6 ชนิด ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ามัน ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด และไม้ผลจะร่วมกันแถลงข่าวที่โรงแรมเอเชีย เพื่อชี้แจงข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับผลกระทบต่อเกษตรกร หากรัฐยกเลิกใช้สารเคมี 3 ชนิด โดยเฉพาะพาราควอตเป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก อีกทั้งจะแสดงข้อมูลแย้งเอ็นจีโอที่ระบุว่าพาราควอตตกค้างในพืชผักเป็นเรื่องเท็จ เนื่องจากพาราควอตมีฤทธิ์เผาไหม้ เกษตรกรใช้ฉีดกำจัดหญ้าเท่านั้น ไม่ได้ฉีดใส่ต้นผักหรือไม้ผล ล่าสุดผู้แทนเอ็นจีโอ กล่าวว่า มีเกษตรกรใช้เครื่องพ่นยากำลัง 6 สูบฉีดพาราควอตต้นทุเรียนนั้น แสดงให้เห็นแล้วว่าสร้างความน่ากลัวเกินเหตุ เพราะการฉีดยาฆ่าหญ้าใช้เครื่องพ่นขนาดเล็กและจะระวังไม่ให้ถูกไม้ประธาน เพราะต้นไม้จะเสียหาย

ส่วนช่วงบ่ายจะไปที่กระทรวงเกษตรฯ เพื่อพบนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนำเสนอข้อมูลการใช้สารเคมีของเกษตรกรและขอให้แก้ปัญหานี้ในฐานะที่เป็นผู้บริหารสูงสุดของกระทรวงเกษตรฯ มีหน้าที่ต้องดูแลเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรเชื่อว่าการเร่งเดินหน้ายกเลิกใช้สารเคมี 3 ชนิดเป็น “ทฤษฎีสมคบคิด” ของ 3 กลุ่ม คือ องค์กรที่อ้างว่าทำทุกอย่างเพื่อประชาชน นักการเมืองโกหกที่ต้องการให้แบนสารนี้และให้ใช้สารทดแทนซึ่งมีราคาแพงกว่า โดยตั้งบริษัทนำเข้าสารเคมีทดแทนไว้แล้ว และนักวิชาการที่ให้ข้อมูลบิดเบือน การที่กลุ่มบุคคลนี้ประกาศว่าประเทศไทยอาบยาพิษส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตร จึงไม่ได้เป็นการทำเพื่อเกษตรกร ทำให้เกิดความขัดแย้งวุ่นวายในสังคม


“รัฐจะให้เกษตรกรเลิกใช้พาราควอต ขณะที่นำเข้าผักและผลไม้จำนวนมากจากจีนซึ่งเป็นประเทศที่ใช้พาราควอต ดังนั้น หากเกรงว่าพาราควอตเป็นพิษ คนไทยยังต้องบริโภคพืชผักจากประเทศอื่นที่ใช้พาราควอตอยู่ ขอเรียกร้องให้ผู้บริหารนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์มาแสดงให้ประชาชนทั้งประเทศรับทราบและมีส่วนในการตัดสินใจ เนื่องจากที่ผ่านมาเอ็นจีโอออกมาให้ข้อมูลฝ่ายเดียว ขณะที่กรมวิชาการเกษตรซึ่งกำกับดูแลการใช้สารเคมีทางการเกษตรไม่ได้นำเสนอข้อมูลทางวิชาการใด ๆ เลย” นายสุกรรณ์ กล่าว

นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ควรแยกการพิจารณาสารทั้ง 3 ชนิด เนื่องจากเป็นสารคนละประเภท ระดับความเป็นพิษไม่เท่ากัน และวิธีการใช้ให้เหมาะสมก็แตกต่างกัน โดยคลอร์ไพรีฟอสเป็นยาฆ่าแมลงที่มีระดับความเป็นพิษปานกลาง หากใช้ไม่เหมาะสมอาจจะมาถึงผู้บริโภคได้ หากรัฐต้องการยกเลิกสามารถยกเลิกได้เลย ส่วนพาราควอต เป็นยาฆ่าหญ้า ซึ่งวิธีการใช้ไม่ได้ทำให้ส่งผลตกค้างมาสู่ผู้บริโภค จึงควรกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ใช้ได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ การอบรมเกษตรกร รวมทั้งมีระเบียบการเก็บรักษาไม่ให้เสี่ยงเป็นอันตราย สำหรับยาฆ่าหญ้าอีกชนิด คือ ไกลโฟเซต องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาต (FAO) จัดว่าเป็นสารที่ใช้ได้ โดยไม่ก่อให้อันตรายต่อสุขภาพ เพราะมีระดับความเป็นพิษต่ำประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการยกเลิกใช้พาราควอตมักนิยมใช้ไกลโฟเซตเป็นสารทดแทน จึงไม่มีความจำเป็นต้องยกเลิก


นายเจษฎา กล่าวว่า ทางออกที่รัฐควรเร่งทำ คือ การจัดเวทีให้ผู้แทนฝ่ายหนุนและต้านการใช้นำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มานำเสนอให้ประชาชนรับทราบ ซึ่งเป็นวิธีการที่นานาอารยะประเทศใช้แก้ปัญหา กรณีที่สังคมมีความเห็นไม่ตรงกันแล้วให้สังคมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แต่ต้องเป็นการนำเสนอปัญหา ผลกระทบ และทางแก้ไขที่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นเวทีตอบโต้กล่าวหากันไปมา ซึ่งปรากฏในโซเชียลมีเดียเป็นเวลานานแล้ว

“ขณะนี้พบว่าเมื่อฝ่ายหนึ่งหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาตอบไม่ได้ ก็ใช้วิธีกล่าวหาตัวบุคคล ใครที่แสดงความเห็นว่าต้องการใช้สารเคมีทางการเกษตรกลายเป็นผู้ร้าย โดยไม่ได้คำนึงว่าเกษตรกรยังจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการประกอบอาชีพ หากผู้บริหารรู้สึกห่วงใยเรื่องความปลอดภัยควรรับฟังข้อมูลรอบด้าน การกล่าวว่าผู้บริหารไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง จึงเป็นคำพูดที่น่ากังวลมาก เนื่องจากปัญหาสำคัญผู้บริหารต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องในการตัดสินใจ ใช้อารมณ์และความรู้สึกเท่านั้นไม่ได้ แต่ไม่แน่ใจว่าจะสายเกินไปหรือไม่เนื่องจากคณะกรรมการวัตถุอันตรายจะประชุมวันที่ 22 ตุลาคมนี้ ขณะนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบยังโยนกันไปมาและเลี่ยงที่จะแก้ปัญหา ซึ่งผู้ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด คือ เกษตรกรทั้งประเทศ” นายเจษฎา กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร

เจรจาล่ม ตัวแทนจีนไม่พอใจ ลุกกลางวงเจรจา ยันไม่ติดเงินใคร ด้านบริษัท 9PK นำเอกสารชี้แจง พร้อมขอให้บริษัทจีนช่วยอนุมัติเงินมาจ่ายให้กลุ่มผู้รับเหมาก่อน

จับแล้วโจรบุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่

จับแล้วโจรมาเลย์บุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่ จนมุมสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เผยมาหาลูกชายที่ จ.นนทบุรี แต่ลูกไม่ให้เข้าบ้าน

ปิดล้อมจับชายวัย 43 ยิงเพื่อนบ้าน-ตร.เจ็บ 4

ตำรวจปิดล้อมนานถึง 11 ชั่วโมง จับชายวัย 43 ปี ใช้ปืนยิงเพื่อนบ้านและตำรวจที่เข้าระงับเหตุ บาดเจ็บรวม 4 ราย หลังโมโหเพื่อนบ้านติดกล้องวงจรปิดหันส่องไปทางบ้านผู้ก่อเหตุ ยิงแก๊สน้ำตา-ญาติเกลี้ยกล่อม ยังไม่เป็นผล

แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ในไต้หวัน-ไม่มีรายงานความเสียหาย

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไต้หวันรายงานวันนี้ว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดด 5.8 ที่เทศมณฑลอี้หลาน (Yilan) ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกลทางตจะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ข่าวแนะนำ

คุมตัวโจรมาเลย์ชิงทอง 138 บาท ทำแผนฯ

ตำรวจคุมตัวโจรมาเลย์ชิงทอง 138 บาท ในพื้นที่หาดใหญ่ ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ พบประวัติสุดแสบ ปล้นฆ่าที่มาเลเซียตั้งแต่อายุ 17 ยังหนีมาก่อเหตุซ้ำที่ไทยอีกหลายครั้ง

นายกฯ ขึ้น ฮ. ดูสภาพจราจรเดินทางสงกรานต์

นายกฯ ขึ้น ฮ. บินดูสภาพจราจร ถ.มิตรภาพ-เส้นทางขึ้นเหนือ-ลงใต้ เตรียมพร้อมประชาชนเดินทางกลับบ้านสงกรานต์ พร้อมตรวจคืบหน้าก่อสร้างทางด่วนพระราม 2 มั่นใจเปิดใช้เต็มรูปแบบ ปลายปี 68 ขณะ “สุริยะ” ยันปลอดภัย ไม่มีของตกหล่น สั่งหยุดก่อสร้างตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้แทน สตง.แจงยิบสร้างตึก สตง. ยันเหล็ก-ปูนมีมาตรฐาน

กมธ.ติดตามงบฯ ถกโครงการสร้างตึก สตง.แห่งใหม่ ด้าน ‘ผู้แทน สตง.’ แจงยิบปรับสัญญาถึง 14 มิ.ย.นี้ ทั้งที่การสร้างต้องเสร็จ 31 ธ.ค.66 ยัน เหล็ก-ปูนมีมาตรฐาน ลั่นเดินหน้าสร้างต่อ แต่ปรับรูปแบบไม่สูง-ทับที่ตึกเก่า ใช้งบที่เหลือสร้าง