เกษตรฯ แจงประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง

กรุงเทพฯ 26 ส.ค. – เกษตรฯ เชิญทุกภาคส่วนรับฟังแผนประกันรายได้ชาวสวนยางพารา เพิ่มการใช้ยางพาราทั้งหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน ลดภาษีให้เป็นแรงจูใจ เร่งเสนอ ครม.เห็นชอบเร็วที่สุด 



นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้เชิญทุกภาคส่วนมาประชุมสรุปแผนการดำเนินงานโครงการประกันรายได้ชาวสวนยางพารา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางและลดผลกระทบให้แก่เกษตรกรกรณีราคายางพาราตกต่ำ เกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการต้องขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ก่อนวันที่ 12 สิงหาคม 2562 มี 1,129,330 ราย พื้นที่ 13,326,540 ไร่ กรอบวงเงินงบประมาณ 33,074,031,095 บาท ซึ่งจะพิจารณาแผนปฏิบัติการตามที่ กยท. เสนอมา หากได้ข้อสรุป กยท.จะเสนอบอร์ดเห็นชอบ จากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) แล้วนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.พิจารณาโดยเร็วที่สุด


ทั้งนี้ กยท.กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้เป็นยางแห้ง 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน รายละไม่เกิน 25 ไร่ ระยะเวลาประกันรายได้ 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – เดือนมีนาคม 2563 ราคายางที่ประกันรายได้กำหนดให้สำหรับยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) 57.00 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 100%) 50.00 บาท/กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังกำหนดให้เกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการต้องปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นหรือเลี้ยงปศุสัตว์ร่วมในสวนยาง เป็นต้น เพื่อเพิ่มรายได้อย่างความยั่งยืน สำหรับการจ่ายเงินจะโอนเข้าบัญชีของเกษตรกรผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดย 2 เดือนจ่าย 1 ครั้ง

นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า กำลังเร่งประสานกับหน่วยราชการต่าง ๆ ทำข้อตกลงรับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรเพื่อนำไปแปรรูปใช้ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในการประชุมวันนี้จะขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้เพิ่มสตอกยาง (ยางแห้ง) ซึ่งมีโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง วงเงินกู้รวมทั้งสิ้น 20,000 ล้านบาท เพื่อดูดซับยางออกจากระบบให้ได้ 11% ของผลผลิตยางแห้ง 350,000 ตัน โดยผู้ร่วมโครงการต้องมีสตอกยางเพิ่มขึ้นมากกว่าสตอกเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี รัฐบาลสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยอัตราไม่เกิน 3% รวมไม่เกิน 600 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงกันยายน 2563 เงินกู้สำหรับขยายกำลังการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง 25,000 ล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการต้องใช้ยางมากขึ้นอย่างน้อย 4 ตันต่อปี ต่อวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ซึ่งจะได้รับการชดเชยดอกเบี้ยไม่เกิน 3% ประมาณการณ์ว่า จะทำให้การใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น 100,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ ยังมีมาตรการลดภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจ โดยผู้ประกอบการที่เพิ่มปริมาณการใช้ยางมากขึ้นกว่าปีก่อนสามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อยางวัตถุดิบไปลดหย่อนภาษีจากกรมสรรพากรได้ถึง 2 เท่าของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตั้งแต่เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562


ส่วนผู้แทนสถาบันเกษตรกรนั้น กระทรวงเกษตรฯ จะทำความเข้าใจถึงการบริหารจัดการผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งจำเป็นต้องลดพื้นที่ปลูกยางลง 400,000 ไร่ หากปรับพื้นที่ปลูกยางไปปลูกพืชอื่น ทำปศุสัตว์ หรือประมง รัฐบาลสนับสนุนไร่ละ 10,000 บาท ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2567 รวมถึงการขยายเวลาโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นทุนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางพาราไปอีกจนถึง 31 มีนาคม 2567 วงเงินรวม  10,000 ล้านบาท ในการรวบรวมยางจากเกษตรกรได้ไม่น้อยกว่า 700,000 ตันต่อปี หากทำได้ตามมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวนี้จะทำให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกตลาด

“จะลดการพึ่งพาตลาดกลางต่างประเทศ เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่บิดเบือนราคา ในฐานะที่ไทยเป็นผู้ส่งออกยางอันดับ 1 ของโลก ควรมีตลาดกลางของตัวเองเป็น New Rubber Market กำหนดราคาเองจะทำให้ราคายางพารามีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน” นายเฉลิมชัย กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ