นักวิชาการระบุพรบ.ไซเบอร์คืออุปสรรคเศรษฐกิจดิจิทัล

กรุงเทพฯ 14 ต.ค.-นักวิชาการเชื่อว่า พรบ.รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล


นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเมินผลกระทบของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต่อเศรษฐกิจและประชาชนว่า พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและมีเนื้อหาหลายส่วนอาจขัดขวางต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม เพิ่มต้นทุนในการประกอบการ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการดำเนินการของภาคธุรกิจอีกด้วย 

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า  ผลกระทบจะมีอย่างน้อย 9 ด้านหากไม่แก้ไขเนื้อหาที่จะมีปัญหา กฎหมายนี้แม้นจะมีความจำเป็นในการสร้างระบบความมั่นคงทางด้านไซเบอร์แต่กระบวนการในการร่างกฎหมายต้องให้เกิดการมีส่วนร่วมและต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการประชาธิปไตยรวมทั้งต้องสอดคล้องพลวัตของระบบสังคมและเศรษฐกิจในอนาคตที่ระบบเศรษฐกิจมีการเคลื่อนตัวสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้นตามลำดับ การมีกฎหมายที่กำลังบังคับใช้ใหม่แต่อยู่บนฐานคิดที่ล้าหลัง อยู่ภายใต้กรอบคิดความมั่นคงแบบเก่าๆและไม่เป็นประชาธิปไตยเป็นเรื่องอ่อนไหวต่อสังคม ต่อระบบการดำเนินธุรกิจและระบบเศรษฐกิจ กฎหมายอาจจะนำมาสู่ความขัดแย้งอย่างกว้างขวางและไม่สอดคล้องกับโลกในปัจจุบันและอนาคต การมีกฎหมายหรือผู้ออกกฎหมายที่มุ่งไปที่มิติความมั่นคงมากเกินไปโดยไม่สนมิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม มิติทางด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่น่าห่วงใยอย่างยิ่งต่อสังคมไทยในอนาคต  


 สำหรับผลกระทบของกฎหมายมั่นคงด้านไซเบอร์ 9 ด้าน เช่น  1.กฎหมายฉบับนี้จะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและเนื้อหาบางส่วนอาจขัดขวางต่อการขยายตัวเติบโตของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม 2.เปิดโอกาสและช่องทางในการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้โดยไม่มีการกำกับตรวจสอบถ่วงดุลที่ดีพอ อำนาจของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กปช ใน มาตรา 46, 47, 48, 54, 55, 56, 57 มีความอ่อนไหวสูงต่อการใช้อำนาจรัฐละเมิดสิทธิประชาชนหรือองค์กรหรือกิจการธุรกิจต่างๆ และอำนาจบางอย่างที่ระบุไว้ในกฎหมายต้องผ่านคำสั่งศาลเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิพื้นฐานของประชาชนและองค์กรต่างๆรวมทั้งเกิดช่องทางหาผลประโยชน์ในทางที่มิชอบโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและเกิดการทับซ้อนทางผลประโยชน์ได้  ควรมีการใช้อำนาจดุลยพินิจของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กปช และ เจ้าหน้าที่ให้น้อยที่สุด


3. โครงสร้างการบริหารขาดการมีส่วนร่วมและยังไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี เนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ กปช มาจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีทั้งหมด จึงขาดกรรมการมืออาชีพที่เป็นอิสระในการถ่วงดุลการใช้อำนาจของรัฐ  4.ทรัพย์สินสารสนเทศในมาตราสาม ครอบคลุมอุปกรณ์และทรัพย์สินส่วนบุคคลของประชาชนและองค์กรต่างๆ เช่น มือถือ อุปกรณ์สื่อสารส่วนบุคคล Internet of Thing ด้วยจึงอาจก่อให้เกิดการจำกัดเสรีภาพและละเมิดสิทธิอย่างกว้างขวางได้หากผู้ใช้อำนาจไม่คำนึงถึงหลักการประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน 5. ในมาตรา 64 การรับผิดชอบควรเกิดขึ้นเมื่อมีการฝ่าฝืนกฎหมายโดยไม่มีเหตุอันควร และ ต้องให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาอุทธรณ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ลดโอกาสในการกลั่นแกล้งกัน เพื่อให้กฎหมายเป็นไปตามหลักนิติธรรม  

6.มีปัญหาเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ CSA มีอำนาจถือหุ้น ร่วมทุน จึงมีสถานะทั้งเป็น operator และ regulator ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือ Conflict of Interest ได้ 7.มีการรวบอำนาจไว้ที่หน่วยงานเดียว จึงขาดการตรวจสอบถ่วงดุล 8. การกำหนดหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศไม่ครอบคลุมเพียงพอ ไม่ครอบคลุม Critical Infrastructure สำคัญ ควรมีการระบุผลกระทบและเกณฑ์ขนาดของหน่วยงานเพื่อไม่ไปสร้างภาระทางการลงทุนทางด้าน ITให้กับหน่วยงานขนาดเล็กที่ไม่มีความพร้อมหรือไม่มีศักยภาพเพียงพอ และ 9.การที่ไม่ระบุอย่างชัดเจนว่าอะไรคือภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ขณะนี้จึงยังไม่สามารถพูดได้ว่า การส่งข้อมูลในอีเมล์ การส่งข้อมูลหรือเนื้อหาวิดีโอต่างๆทางสื่อสังคมออนไลน์ที่เห็นต่างจากผู้มีอำนาจรัฐหรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอำนาจอาจถูกเหมารวมเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ก็ได้ ทั้งที่ไม่ได้เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นเพียงการเสนอความคิดเห็นอันเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต ได้กล่าวเสนอแนะเพิ่มเติมว่ารัฐ บาลและสภานิติบัญญัติควรชะลอการผ่านกฎหมายฉบับนี้มาบังคับใช้และควรรอให้มีการพิจารณากฎหมายนี้ในรัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งต้องเปิดให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นอย่างกว้างขวางจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องมีการเขียนนิยาม ภัยคุมคามทางด้านไซเบอร์และความมั่นคงปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ให้มีความชัดเจน การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือผู้อำนาจผ่านโซเชียลมีเดียหรือการสื่อสารออนไลน์ถือว่าเป็นภัยไซเบอร์หรือไม่ 

การให้อำนาจในการค้นสถานที่ ยึดเครื่องมือสื่อสาร โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องขออำนาจศาลเป็นการให้อำนาจกับหน่วยงานทางด้านความมั่นคงไซเบอร์มากเกินไปอาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิอย่างกว้างขวาง ต้องทบทวนอำนาจดังกล่าว หน่วยงานทางด้านความมั่นคงไซเบอร์สามารถบุกเข้าไปในบ้านยึดคอมพิวเตอร์ ยึดมือถือ ขอรหัสผ่านส่วนตัว สามารถทำได้ด้วยเหตุผลอะไรและจะมีมาตรการอย่างไรที่จะไม่มีการใช้อำนาจเกินขอบเขตกลั่นแกล้งกันหรือยัดข้อหากับผู้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่พอใจหรือกลุ่มคนที่เห็นต่างจากอำนาจรัฐ เรื่องเหล่านี้หากไม่มีความชัดเจนและเป็นมาตรฐานสากลจะก่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม การดำเนินชีวิตของประชาชน ไม่ก่อให้เกิดความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจตามเป้าหมายของกฎหมาย โดยที่รัฐต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure – CII) อย่างเหมาะสมและคำนึงถึงข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาของกฎหมายต้องสอดคล้องและตอบสนองต่อพลวัตของเทคโนโลยีใหม่ๆ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Cyber security ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานสากล หลักการประเมินความเสี่ยงเรื่อง Cyber security ต้องเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล ไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจ การใช้อำนาจตามมาตรา 57 และ มาตรา 58 อาจเข้าข่ายในการละเมิดสิทธิประชาชนจำเป็นต้องมีการทบทวน และต้องพิจารณาทบทวนอำนาจในการเข้าถึงทรัพย์สินสารสนเทศ ทำสำเนาหรือสกัดคัดกรองข้อมูลสารสนเทศหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และให้สำนักงาน กปช ต้องรับผิดชอบความเสียหายหากมีข้อมูลรั่วไหลและนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง -สำนักข่าวไทย

  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

สอบเข้ม “ชวนหลิง จาง” กรรมการไชน่า เรลเวย์ฯ ปฏิเสธทุกข้อหา

ดีเอสไอสอบเข้ม “ชวนหลิง จาง” กรรมการ บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ เบื้องต้นให้การปฏิเสธทุกข้อหา อ้างเป็นผู้แทนรัฐวิสาหกิจจีนมาลงทุนในไทย ถูกส่งมาบริหารบริษัทในไทยเท่านั้น

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

นักธรณีคาดดินยุบตัว เพราะเป็นจุดทางน้ำไหลผ่านจนเกิดโพรง

นักธรณีวิทยาลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุดินยุบตัว กินพื้นที่กว่า 4 ไร่ เบื้องต้นคาดเป็นจุดทางน้ำไหลผ่านจนเกิดโพรง ทำให้ดินยุบตัวเป็นวงกว้าง

ก.อุตฯ เตรียมส่งตรวจเหล็กตึก สตง. เพิ่ม 21 เม.ย.

ก.อุตสาหกรรม กางผลตรวจเหล็กตึก สตง.ถล่ม รอบแรก ก่อนส่งตรวจเพิ่มอีก 40 ท่อน 21 เม.ย. ย้ำผิดคือผิด! ผู้ผลิต-จนท.มีเอี่ยว เตรียมปิดเทอม