พุทธิพงษ์รายงานตัวกับนายกฯ

ทำเนียบฯ 12 ก.ย.- “พุทธิพงษ์” เข้ารายงานตัวต่อนายกรัฐมนตรี หลังได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ดูเรื่องนโยบายการแก้ไขปัญหาของประชาชนและข้อร้องเรียน ปฎิเสธถูกวางตัวหาเสียงพื้นที่ กทม.ยันคดีเป็นไปตามกระบวนการของศาล


นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวภายหลังเข้ารายงานตัวกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง วานนี้ (11 ก.ย.) 

นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ติดตามเรื่องนโยบายการแก้ไขปัญหาของประชาชนและข้อร้องเรียน รวมถึงการประสานงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ประชาชนในทุกรูปแบบ หากมีความเร่งด่วน ก็จะส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีได้ทันที ตนจะนั่งทำงานบนตึกไทยคู่ฟ้า อย่ามองการแต่งตั้งครั้งนี้เป็นเรื่องการเมือง หรือเป็นเรื่องการเลือกตั้ง หรือพรรคการเมือง การเข้ารับตำแหน่งในครั้งนี้ไม่มีเงื่อนไขทางการเมืองในอนาคต เป็นเรื่องของการทำงานเท่านั้น เพราะรัฐบาลอยู่ในช่วงปลายจึงมีงานที่ต้องเร่งรีบจัดการและสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ


นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า การมาดำรงตำแหน่งครั้งนี้ไม่มีปัญหาติดใจกับพรรคประชาธิปปัตย์  ตนมีความผูกพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์มานานกว่า 18 ปี และไม่ปฏิเสธที่หลายฝ่ายมองว่าอดีตตนเคยร่วมงานกับ กปปส.แล้วมาร่วมงานกับรัฐบาลแต่ทุกอย่างอยู่ในกระบวนการปกติ แม้ตนจะยังมีคดีทางการเมือง และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จนกว่าศาลจะตัดสิน และศาลจะสืบพยานในปีหน้า 

นายพุทธิพงษ์  กล่าวว่า ผู้ที่ติดต่อตนให้ร่วมงานกับรัฐบาลมีทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร แต่ไม่เกี่ยวกับกลุ่มสามมิตร ซึ่งเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่รัฐบาลติดต่อมาโดยระบุว่าเป็นเรื่องมาจากพล.อ.ประยุทธ์  ก่อนหน้านั้นตนเคยได้รับการประสานให้เป็นคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แต่ปฏิเสธไปเนื่องจากไม่พร้อม แต่ครั้งนี้ไม่ติดเงื่อนไขอะไรจึงไม่ปฏิเสธ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กำชับเรื่องการทำงาน ขอให้ทำงานให้เต็มที่ และทำเพื่อประเทศชาติ พร้อมปฏิเสธไม่ทราบว่าการดำรงตำแหน่งในครั้งนี้เป็นการวางตัวมาหาเสียงในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครหรือไม่ รวมถึงเป็นตัวกลางเพื่อประสานทางการเมือง 

เมื่อถามว่าแกนนำกปปส.อีก 3 คนคือ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ  นายชุมพล จุลใส และนายสกลธี ภัททิยกุล จะมาทำงานร่วมรัฐบาลหรือไม่  นายพุทธิพงษ์  กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับตน เพราะยังทำงานส่วนตัว และไม่มีเงื่อนไขผูกติดกัน ซึ่งกปปส.มีความตั้งใจปฏิรูปประเทศ เรื่องนี้ก็ไม่ขัดกับพล.อ.ประยุทธ์ เนื่องจากมีอุดมการณ์เดียวกัน และการมารับตำแหน่งครั้งนี้ไม่ได้ปรึกษากับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) เพราะเป็นการตัดสินใจของตน ส่วนจะกลับไปร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์อีกหรือไม่ เป็นเรื่องเร็วไปที่จะตอบ เนื่องจากยังไม่ปลดล็อคทางการเมือง และหากกลับไปช่วยหาเสียงในช่วงที่มีการปลดล็อคคงไม่เหมาะสม เพราะยังทำหน้าที่ให้กับรัฐบาลอยู่ ส่วนในอนาคตจะร่วมงานกับพรรครัฐบาลหรือไม่รอดูอนาคตก่อน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง