นักวิชาการ ห่วง เขื่อนขนาดกลาง และเล็กของไทย ซ้ำรอยลาว

ปทุมวัน 31ก.ค.–นักวิชาการห่วงเขื่อนขนาดกลางและเล็กทั่วประเทศที่อยู่ภายใต้การดูแลของ อบต.อาจไม่มีประสิทธิภาพ อาจเกิดเขื่อนเเตก อย่าง สปป.ลาว กรณีของเขื่อนเซเปียน คาดสาเหตุจากการทรุดตัวของเขื่อนและระบบเตือนภัยไม่ดีพอ ส่วนไทยได้รับผลกระทบด้านกระเเสไฟฟ้าน้อยมาก


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 15 เรื่อง “เขื่อนแตก เรื่องของลาวกับเรื่องของเรา” เพื่อถอดบทเรียนเเละนำเสนอองค์ความรู้หลังเกิดกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยที่แขวงอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างเเตก ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมหลายหมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิตเเละผู้ประสบภัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางการลาวคาดว่าสาเหตุที่ทำให้เขื่อนเเตกนั้นเกิดจากความบกพร่องระหว่างการก่อสร้าง


นายฐิรวัตร บุญญะฐี  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย กล่าวว่า เขื่อนเเบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ เขื่อนคอนกรีตใช้น้ำหนักตัวเองต้านเเรงดันน้ำ ส่วนใหญ่เป็นพื้นหินเเข็งเช่น เขื่อนเเม่มาว ,เขื่อนคอนกรีตที่มีความหนาแน่น , เขื่อนคอนกรีตบาง เช่น เขื่อนภูมิพลและเขื่อนดิน  ซึ่งน้ำหนักเบากว่าคอนกรีต เช่น เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนเเก่งกระจาน โดยเเต่ละเขื่อนสร้างตามสภาพเเวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ โดยเขื่อนในลาว ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเขื่อนดิน กรณีเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อยที่เเตก เมื่อมองสภาพเเวดล้อมพบว่าบริเวณดังกล่าวมี  2 เขื่อนใหญ่ คือเขื่อนเซเปียนเเละเขื่อนเซน้ำน้อย เเละมีเขื่อนเล็ก ซึ่งเป็นเขื่อนปิดช่องเขา 5 เขื่อน ซึ่งเขื่อนที่เเตกครั้งนี้เป็น 1ใน 5 เขื่อนเล็ก 


โดยสาเหตุที่เเตกเบื้องต้นคาดว่า มีการวางระบบระบายช่องทางน้ำล้นไม่ดีพอ ขณะที่เขื่อนไม่มีความเเข็งเเรงมากพอกับการรับน้ำหนักของน้ำอาจจะ ประมาทในการประเมินวัสดุที่นำมาสร้างเขื่อน เช่น ดินไม่มีความหนาเเน่น การบดอัดดินไม่เพียงพอ  ทำให้ดินยุบตัวระหว่างการเติมน้ำ ประเมินการไหลซึมผ่านตัวเขื่อนเเละใต้เขื่อนไม่ถูกต้องหรือออกเเบบไม่เหมาะสม การฉีดอัดน้ำปูนให้ชั้นดินไม่เพียงพอ ส่วนปัจจัยอื่นๆเช่นความไม่เเน่นอนของธรรมชาติ   

ขณะเดียวกันอาจมีระบบการจัดการความเสี่ยงที่ไม่ดีพอ เนื่องจากมีข้อมูลว่าบริษัทเกาหลี ซึ่งเป็นผู้ร่วมสร้างเขื่อนได้รายงานต่อสภาของเกาหลีว่าเขื่อนดังกล่าวอยู่ระหว่างการทดลองเติมน้ำ หลังสร้างเสร็จก่อนกำหนด 5 เดือนในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยก่อนเขื่อนจะเเตก 4วัน  เกิดดินทรุดตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งเเต่ขนาด 11เซนติเมตรจนกว้างขึ้นเป็น 1เมตร จากข้อมูลนี้จะเห็นได้ว่ามีการรู้ตัวก่อน เเต่มีการเเจ้งเตือนเพียง 1 วันก่อนที่เขื่อนจะ เเตกเท่านั้น

ด้านนายอนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์  หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า หลายฝ่ายอาจจะมองว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดเขื่อนเเตกนั้น คือการเปลี่ยนเเปลงสภาพอากาศโลก เเต่ตนมองว่าหากเป็นสาเหตุดังกล่าวจะทำให้หลายเขื่อนเเตกไปแล้ว สาเหตุหลักที่ทำให้เขื่อนเล็กเเตกในครั้งนี้เกิดจากน้ำล้นตัวสันเขื่อน ตัวเขื่อนทรุดตัวลง

เนื่องจากฐานรากไม่ดีเเละเกิดการสไลด์ตัวของชั้นดิน ส่วนข้อมูลที่มีความผิดพลาดว่าจากเขื่อนเเตก ทำให้มีน้ำบ่าลงมา 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เเต่ความจริงเขื่อนมีความจุเก็บกักได้เเค่ 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร  จึงคาดว่าน่าจะเป็นน้ำป่าประมาณ 500 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น

ขณะที่หากเทียบเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อยในไทยถือเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งในไทยมีเขื่อนขนาดใหญ่ประมาณ 34 เขื่อน ซึ่งจากเหตุการณ์ในครั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูเเลเขื่อนทั้งหมดมากขึ้น ซึ่งตนมองว่าหากจะเกิดเขื่อนเเตกในไทย ความกังวลน่าจะเป็นเขื่อนขนาดกลางเเละขนาดเล็กที่มีกว่า 800 เขื่อนและ8,000 เขื่อนตามลำดับเพราะมองว่ามีการดูเเลน้อย ที่ผ่านมามีการรายงานพบการรั่วซึมของน้ำมากกว่าปกติ ขณะเดียวกันเขื่อนขนาดเล็กซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)จากการโอนย้ายของกรมชลประทาน จนตั้งข้อสังเกตว่า อบต.จะมีศักยภาพการดูเเลเขื่อนได้หรือไม่หากเขื่อนเเตกขึ้นมา 

ขณะที่หลังเกิดเหตุการณ์นี้หลายคนอาจให้หยุดสร้างเขื่อนเพื่อตัดต้นตอปัญหา เเต่ตนมองว่า อาจหยุดไม่ได้ เพราะเขื่อนในไทยส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์กักน้ำไว้ใช้ในช่วงน้ำเเล้ง ส่วนเรื่องป้องกันน้ำท่วมได้เเค่ร้อยละ 10 เท่านั้น เเต่ถึงอย่างไรก็ต้องรองรับสถานการณ์ในอนาคตที่เปลี่ยนเเปลงไป สุดท้ายบทเรียนจากเหตุการณ์นี้ ฝากสำนักงานทรัพยากรน้ำเเห่งชาติ(สทนช.)เเละหน่วยงานภาครัฐว่าควรมีข้อมูลระยะยาว คาดการณ์สภาพอากาศใน 30 ปีข้างหน้าครอบคลุมทั้งประเทศเเละเผยเเพร่ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาหาข้อมูลได้ยากมาก

ส่วนนายกุลยศ อุดมวงศ์เสรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เหตุการณ์เขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อยเเตกในลาว ส่งผลกระทบด้านพลังงานของไทยน้อยมาก ที่เดิมทีจะผลิตกำลัง ไฟฟ้ากว่า 3,931 เมกะวัตต์เเละส่งให้ไทยในเดือนก.พ.ปี 2562 เนื่องจากไทยมีการนำเข้ากระเเสไฟฟ้าจากลาว โดยรวมทั้งหมดไม่มากประมาณ 4,000 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ไทยยังมีสัดส่วนการสำรองไฟฟ้าสูงจากอีกหลายประเทศ เเต่หากสถานการณ์จะน่าห่วงคงเป็นหลังปี 2567 เนื่องจากช่วงนั้นมีหลายประเทศมีเเผนสร้างโรงงานไฟฟ้าน้อยมาก.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร