ก.เกษตรฯ เสนอแผนการผลิตภาคเกษตรประเทศพรุ่งนี้

กรุงเทพฯ 15 ก.ค. – ก.เกษตรฯ เสนอแผนการผลิตภาคเกษตรประเทศ  พร้อมแนวทางพัฒนาอาชีพและช่วยเหลือเกษตรกรให้รองนายกรัฐมนตรีพิจารณา 16 ก.ค.นี้  คาดประกาศใช้  3 เดือนข้างหน้า 


นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันที่ 16 กรกฎาคมนี้  นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะมาตรวจเยี่ยมและหารือข้อราชการโดยมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ร่วมด้วย

นายกฤษฎา กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ จะรายงานแผนการผลิตภาคการเกษตรของประเทศและประกาศใช้ใน 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งมีแนวทางจะประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจ โดยกำหนดว่าควรปลูกพืชหรือทำปศุสัตว์ใดในปริมาณพื้นที่เท่าไร อีกทั้งให้ทำกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ที่เหมาะสม (Agri-map) กำหนดแผนการผลิตเกษตรกรรมอะไรบ้าง มีมาตรการอย่างไรที่จะทำให้เกษตรกรทำการผลิตไม่ให้ผลผลิตล้นตลาด จะใช้งบประมาณเท่าไหร่ โดยจะเสนอให้รองนายกรัฐมนตรีพิจารณา 2 แนวทาง คือ ประกาศเต็มพื้นที่ทั้งประเทศหรือทำเฉพาะทดลองในพืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลังในพื้นที่เขตชลประทานภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคอีสาน รวมทั้งพื้นที่ที่สหกรณ์การเกษตรมีความเข้มแข็ง 


นายกฤษฎา กล่าวว่า เบื้องต้นข้าวมีแผนปฏิบัติงานภายใต้แผนการผลิตและตลาดข้าวครบวงจร โดยจะลดการทำนาครั้งที่ 2 และ 3 หรือการทำนาปรัง 2-3 ล้านไร่ ให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง  ส่วนข้าวโพดที่ผ่านมามีมาตรการจูงใจให้ชาวนาปรับเปลี่ยนไปปลูกข้าวโพด โดยรัฐสนับสนุนไร่ละ 2,000 บาท แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ล่าสุดได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยในฤดูนาปรัง 2561 จะลดการปลูกข้าวจากปกติมีพื้นที่ปลูก 12 ล้านไร่ให้เหลือเพียงครึ่งเดียว ที่เหลือจะส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งความต้องการใช้ในประเทศมีมากถึง 3.5 ล้านตันต่อปี แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอต้องนำเข้า สำหรับมันสำปะหลังมันได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ หารือกับปลัดกระทรวงพาณิชย์สำรวจความต้องการใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้วจึงมาวางแผนการผลิต

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ประการสำคัญต้องมีมาตรการสร้างความมั่นใจให้เกษตรกรที่ผลิตตามแผนการผลิตภาคเกษตรของประเทศว่าจะมีรายได้มากขึ้น ไม่ประสบปัญหาขาดทุนอย่างที่ผ่านมา ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีกำชับให้ทำอย่างรวดเร็วที่สุด ให้ทันฤดูกาลผลิตหน้า หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว  นอกจากนี้ จะมีการหารือแนวทางพัฒนาอาชีพและช่วยเหลือเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพักหนี้ 3 ปี เพื่อทำให้อาชีพเกษตรกรซึ่งเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงทั้งภัยธรรมชาติ โรค และแมลงระบาด รวมถึงขายได้ราคาต่ำกว่าต้นทุนเปลี่ยนเป็นอาชีพที่มีมาตรการต่าง ๆ เหมือนมีสวัสดิการรองรับและมีความมั่นคง.-สำนักข่าวไทย


 

 

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง