fbpx

กรมการปกครอง แจงขอสัญชาติ 4 คนทีมหมูป่าอะคาเดมี

กรุงเทพฯ 14 ก.ค.- กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ชี้แจงข้อมูลอย่างละเอียด กรณี 4 หมู่ป่าอะคาเดมี “ด.ช.มงคล – ด.ช.อดุลย์ – นายพรชัยและโค้ชเอก” ขอสัญชาติไทย  ระบุกระบวนการทุกขั้นตอนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และใช้ปฎิบัติเหมือนกันทุกคนที่ขอสัญชาติไทย 


ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัต อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า กรมการปกครอง เป็นหน่ายงานรัฐ  ที่รับผิดชอบในเรื่องการพิจารณาให้สัญชาติไทย กับ บุตรของ ชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยกระบวนการ และการดำเนินการทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามกฎหมาย และ มติ คณะรัฐมนตรี วันที่ 7 ธันวาคม 2559 

ทั้งนี้ จากรายงานล่าสุด กรณีทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี จำนวน 13 คน พบว่า ไม่มีสัญชาติไทย 4 คน โดยเป็นเด็ก  3 คน และผู้ฝึกสอน 1 คน ประกอบด้วย ด.ช.มงคล  บุญเปี่ยม เกิดวันที่ 10 เมษายน 2548 อายุ 13 ปี  ด.ช.อดุลย์  สามอ่อน เกิดวันที่ 21 มิถุนายน 2547 อายุ 14 ปี   นายพรชัย  คำหลวง เกิดวันที่ 3 กันยายน 2545 อายุ 16 ปี และนายเอกพล  จันทะวงศ์ หรือโค้ชเอก อายุ 25 ปี  สาเหตุที่บุคคลทั้ง 4 คนไม่ได้สัญชาติไทยเนื่องจากมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว  ซึ่งข้อมูลที่ตรวจพบปรากฏว่าทั้ง 4 คนไม่ได้แจ้งการเกิด ไม่มีสูติบัตร 


ในส่วนของเด็ก 3 คนได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนราษฎรในกลุ่มบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามมติ ครม. วันที่ 18 มกราคม 2548 โดยมีเลขประจำตัว 13 หลักขึ้นต้นด้วยเลข 0 ขณะที่โค้ชเอก มีหนังสือรับรองการเกิดของโรงพยาบาลแม่สาย แต่ไม่ได้แจ้งเกิดและไม่ได้จัดทำทะเบียนราษฎร จึงไม่มีเลขประจำตัว 13 หลัก 

อย่างไรก็ตาม การขอสัญชาติไทยของทั้ง 4 คน จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 โดยจากข้อมูลที่ได้รับ แม้ บิดามารดาของทั้ง 4 คนไม่ใช่คนสัญชาติไทย  แต่ทั้ง 4 คนเกิดในดินแดนประเทศไทย  ดังนั้นหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ที่เกิดในประเทศไทย ได้แก่ สูติบัตรหรือใบเกิด หรือหนังสือรับรองการเกิดที่ นายทะเบียนออกให้ เรียกว่า ท.ร.20/1 จึงเป็นสิ่งสำคัญ 

ขณะนี้ ประเด็นการขอสัญชาติไทยของทั้ง 4 คน จึงต้องเริ่มต้นด้วยการพิสูจน์ว่าพวกเขาเกิดในประเทศไทย และเมื่อได้รับสูติบัตรหรือหนังสือรับรองการเกิดจากนายทะเบียนแล้ว จึงเข้าสู่ขั้นตอนการยื่นขอมีสัญชาติไทยต่อไป


จากข้อมูลในแบบสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนราษฎรของด.ช.มงคล  ด.ช.อดุลย์ และนายพรชัย ระบุว่า ทั้งสามคนเกิดที่ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ดังนั้น บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ (นายอำเภอ) หรือนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล (ปลัดเทศบาล) แห่งท้องที่ที่เด็กเกิด เพื่อขอให้นายทะเบียนออกหนังสือรับรองการเกิดตามแบบ ท.ร.20/1 ให้ โดยพยานหลักฐานสำคัญที่จะต้องใช้ได้แก่ บุคคลที่รู้เห็นการเกิด อาจเป็นหมอตำแย ญาติ เพื่อนบ้านใกล้เคียง หรือผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น

อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากอายุของเด็กแล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องพยานรับรอง ส่วนกรณีของโค้ชเอก เนื่องจากมีหนังสือรับรองจากโรงพยาบาลแม่สาย จึงสามารถยื่นเรื่องขอแจ้งการเกิดได้ที่เทศบาลตำบลแม่สาย  เมื่อนายทะเบียนออกสูติบัตรให้แล้ว ก็จะกำหนดให้เลขประจำตัว 13 หลักและเพิ่มชื่อเข้าในเอกสารทะเบียนราษฎร 

สำหรับขั้นตอนต่อไป หลัง ทั้ง 4 คนมีสูติบัตรหรือใบเกิด หรือหนังสือรับรองการเกิด แล้ว ก็คือการยื่นคำขอมีสัญชาติไทย โดยกรณีของเด็กชายมงคล  เด็กชายอดุลย์ และนายพรชัย ถ้าเกิดในประเทศไทยจะเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง ฯลฯ ซึ่งให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งให้สัญชาติไทยได้ตามหลักเกณฑ์ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 ธันวาคม 2559   

กรณีของด.ช.มงคล และนายพรชัย จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในกรณีที่ 1) ถ้าเด็กเกิดในประเทศไทยโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ทางราชการได้สำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ และมีเลขประจำตัว 13 หลัก เช่น ชาวเขา ชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อ เป็นต้น บิดาหรือมารดาต้องเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปีนับถึงวันที่บุตรยื่นคำขอมีสัญชาติไทย เด็กจะได้รับสัญชาติไทย  ซึ่ง จากการตรวจสอบ พบว่ามารดาของเด็กชายมงคล และนายพรชัย เป็นชาวไทยลื้อหรือชาวไทยใหญ่ที่มีทะเบียนประวัติไว้แล้ว.  

ขณะที่ข้อมูลของด.ช.อดุลย์ ไม่ปรากฏทะเบียนของบิดามารดา และทราบเบื้องต้นว่าด.ช.อดุลย์ อยู่ในการอุปการะเลี้ยงดูของคริสตจักร บิดามารดาทอดทิ้งไปตั้งแต่เล็ก จึงจะเข้าเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ในกรณีที่ 2) ถ้าเด็กเกิดในประเทศไทยแต่ถูกบิดามารดาทอดทิ้ง หรือไม่ปรากฏบิดามารดา เด็กต้องอาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 10 ปี และจะต้องมีหนังสือรับรองว่าเป็นคนที่ถูกบิดามารดาทอดทิ้ง ซึ่งจะขอเอกสารดังกล่าวได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เด็กก็จะสามารถขอมีสัญชาติไทย ได้

ขณะที่ โค้ชเอก ก็ จะเข้าตามหลักเกณฑ์ในกรณี ที่ 3) ที่ระบุว่า ถ้าเด็กเกิดในประเทศไทยโดยมีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าวที่มิใช่ชนกลุ่มน้อย เด็กจะต้องเรียนหนังสือในประเทศไทยจนจบปริญญาตรี แล้วเอาหลักฐานปริญญาบัตรและผลการเรียน ไปยื่นขอสัญชาติไทย ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบอำนาจให้นายอำเภอเป็นผู้อนุมัติ กรณีผู้ขอสัญชาติมีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อนุมัติ กรณีผู้ขอมีสัญชาติมีอายุเกินกว่า 18 ปี 

นอกจากนี้ยังมีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมถ้าเด็กเกิดในประเทศไทยโดยบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยด้วยก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 การขอสัญชาติไทยสามารถดำเนินการได้อีกช่องทางหนึ่ง ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดคุณสมบัติว่าผู้ขอจะต้องมีหลักฐานการเกิด มีเลขประจำตัว 13 หลัก มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคม และอาศัยอยู่ติดต่อกันในประเทศไทย โดยกฎหมายให้อำนาจนายอำเภอเป็น ผู้พิจารณาอนุมัติ  ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าบิดาของโค้ชเอก เป็นชาวไทยลื้อที่เกิดในประเทศไทยจริงตามที่เป็นข่าว ถึงแม้จะเสียชีวิตแล้วก็ตาม โค้ชเอกก็สามารถขอมีสัญชาติไทยตามช่องทางนี้ได้ 

สำหรับระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการรับคำขอมีสัญชาติไทยพร้อมพยานหลักฐานครบถ้วน จนถึงการพิจารณาอนุมัติของนายอำเภอ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่ว่าด้วยเหตุใด สามารถขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 30 วัน เมื่อรวมแล้วจะต้องไม่เกิน 120 วัน 

ทั้งนี้ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ยืนยัน  หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการใช้ปฏิบัติกับทุกคนที่มีปัญหา และข้อเท็จจริงในลักษณะเดียวกัน มิได้กำหนดขึ้นเพื่อให้ประโยชน์กับเด็กทีมหมูป่าอะคาเดมี หรือบุคคลอื่นใด หรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

“สารวัตรแจ๊ะ” ยื่นฟ้องหมิ่น “ทนายรัชพล” กล่าวหาจับแพะติดคุกฟรีปีกว่า

“สารวัตรแจ๊ะ” พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องหมิ่นประมาททนายดัง และฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ยันไม่ได้นําตัวไปเซฟเฮาส์ ด้านทนายเผยพบหลักฐานทนายคู่กรณีบีบผู้เสียหายกลับคําให้การ แบ่งเงินคนละครึ่ง

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบนร้อนจัด แนะเลี่ยงทำงานในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด แนะหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานาน ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศร้อนจัดบางแห่ง

คดีสะเทือนขวัญ ฆ่าหั่นศพ “ยากูซ่า” จ.นนทบุรี

คดีสะเทือนขวัญ พบชิ้นส่วนมือ ในพื้นที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ล่าสุดตำรวจจับกุมหนึ่งในผู้ต้องหาได้แล้ว และทราบว่าทั้งผู้ตายและผู้ลงมือฆ่าหั่นศพ เป็นแก๊งยากูซ่าชาวญี่ปุ่น

ชาวบ้านร้องโรงงานเก็บสารเคมีเร่งเยียวยาเหตุไฟไหม้

ชาวบ้านที่เดือดร้อนจากเหตุไฟไหม้โกดังเก็บสารเคมีอุตสาหกรรม จ.ระยอง เรียกร้องโรงงานช่วยเหลือ บอกน้ำสักขวดก็ไม่ได้

แบงก์ชาติ​ส่งหนังสือให้ทบทวนดิจิทัลวอลเล็ต​​ ไม่ทำสะดุด

ปลัดคลัง ระบุแบงก์ชาติ​ส่งหนังสือถึง ครม.ทบทวนดิจิทัลวอลเล็ต​​ ไม่ทำให้สะดุด ชี้เป็นข้อเสนอเก่า​​ เดินหน้าตามแผนเดิม​