สธ.5 ต.ค.- แพทย์ ย้ำหญิงตั้งครรภ์ป่วยซิกาต้องฝากและตรวจครรภ์ต่อเนื่อง ป้องกันทารกศีรษะเล็ก ส่วนการยุติการตั้งครรภ์สามารถทำได้ โดยความยินยอมจากแพทย์และบิดามารดา
นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และนพ.พิเศก ลุมพิกานนท์ ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศ กล่าวภายหรือร่วมกับ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศไทย และสาขาสูตินรี ในโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ถึงแนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยดูแลหญิงตั้งครรภ์ ที่สงสัยติดเชื้อซิกาว่า โรคซิกาที่พบ ไม่ใช่โรคใหม่ แต่พบมากนานกว่า 60 ปี แล้ว แต่กลุ่มอาการศีรษะเล็กในเด็กแรกเกิด นับเป็นกลุ่มอาการใหม่ และต้องเข้าใจว่า โรคนี้ สามารถหายได้เอง แต่จะมีอาการหรือผลข้างเคียงในหญิงตั้งครรภ์ และในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ จะแสดงอาการรุนแรงเพียงร้อยละ 20 อีก ร้อยละ 80 ปกติ โดยผลการตรวจหาเชื้อซิกาในหญิงตั้งครรภ์ และคนทั่วไปกว่า 10,000 คน พบมีการติดเชื้อซิกา 392 คน ในจำนวนนี้เป็นหญิงตั้งครรภ์ 39 คน และมีการแสดงอาการติดเชื้อ 16 คน อีก 23 คน ไม่แสดงอาการ และมีการคลอดบุตรแล้ว 9 คน ทุกคนปกติ แต่ที่พบเด็กศีรษะเล็ก 2 คนเป็นรายแรกของไทย เกิดการจากติดตามและตรวจเลือดเด็กศีรษะที่คลอดมานานกว่า 6 เดือน ย้อนหลัง
นพ.ทวี กล่าวว่า จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ไวรัสซิกา จะเข้าไปทำลายเนื้อสมอง หรือทำให้เกิดหินปูนเกาะ บริเวณสมอง ทำให้เด็กที่เกิดมีความผิดปกติ เนื้อสมองน้อย ศีรษะเล็ก มีผลกับพัฒนาการ ฉนั้นในหญิงตั้งครรภ์ทุกคน ต้องมีการฝากครรภ์ และรับการตรวจครรภ์ ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง โดยอาการที่พบในหญิงตั้งครรภ์ จะพบได้ร้อยละ 1 ส่วนเรื่องของการยุติการตั้งครรภ์ จะทำได้ต่อเมื่อผ่านความเห็นชอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญ และมีข้อบ่งชี้ชัดว่า เกิดอันตรายกับเด็ก หรือ ก่อให้เกิดความกระทบเทือนต่อสุขภาพทางกาย และจิตใจของมารดา
นพ.พิเศก กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีมติ แบ่งการดูแลหญิงตั้งครรภ์ออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ 1. ในหญิงตั้งครรภ์ ที่มีอาการ ทั้งผื่นแดง ไข้ ตาอักเสบ ต้องได้รับการตรวจเลือดและปัสสาวะ จากห้องปฏิบัติการณ์ ต้องมีการทำการอัลตราซาวน์ ในอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ และทุกๆเดือนจนกว่าจะคลอด โดยจะมีการประเมินผลเป็นระยะ ทั้งนี้เพื่อดูเส้นรอบวงของศีรษะ และพัฒนาการของเนื้อสมอง 2. ในรายหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่แสดงอาการให้มีการตรวจครรภ์ด้วยการอัลตราซาวน์ตั้งแต่อายุครรภ์18-20 สัปดาห์ จากนั้น อัลตราซาวน์อีกครั้งในอายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์ ดูว่ามีความผิดปกติของเด็ก หรือหินปูนเกาะศีรษะหรือไม่ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ราชวิทยาลัยสูติฯอยากเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการฝากครรภ์
นพ.พิเศก กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์การพิการยุติการตั้งครรภ์ ระยะเวลาที่เหมาะสมควรมีอายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์ หรือ 6 เดือน โดยต้องผ่านการตรวจยืนยัน และมีข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติของทารกในครรภ์อย่างชัดเจน และต้องผ่านการพิจารณาจากสูตินรีแพทย์ และนักจิตวิทยา พร้อมทั้งความยินยอมของบิดาและมารดาด้วย .-สำนักข่าวไทย