กรุงเทพฯ
23 ก.พ.-กรมธุรกิจพลังงาน ส่งสัญญาณก๊าซในประเทศลดลง ไทยต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วนำเข้า
5.4 หมื่นตัน/เดือน
นายวิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกล่าวว่าไทยตัองนำเข้าก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นหลังจากในช่วงนับจากนี้ การผลิตก๊าซธรรมชาติ
ในอ่าวไทย โดยเฉพาะจากแหล่งใหญ่กำลังผลิตร้อยละ 75 ของประเทศ คือ
แหล่งเอราวัณและบงกช ก่อนจะหมดสัญญาสัมปทานในปี2565-2566
ปริมาณจะลดลงจากปัจจุบันผลิตรวม 2,100 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวัน ทำให้
ก๊าซหุงต้มจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ปตท.มีปริมาณน้อยลง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเห็นชัดเจนใน 4-5 ปีข้างหน้า
การนำเข้าแอลพีจีจะมากกว่า 100,000 ตันต่อเดือน
สำหรับปี 2560
ไทยนำเข้าเพื่อจำหน่ายในประเทศเฉลี่ย 5.4 หมื่น ตันต่อเดือน นำเข้าโดยสยามก๊าซเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามในปีนี้ คาดว่าจะมีผู้นำเข้าเพิ่มขึ้น หลังจากทางมิตซูบิชิ และดับบลิวพีเอ็นเนอร์ยี่
ระบุเตรียมนำเข้าเช่นกัน ล่าสุดมิตซูบิชิแจ้งว่าจะนำเข้าผ่านคลังก๊าซเขาบ่อยาของปตท.และสยามแก๊สก็อาจนำเข้าผ่านคลังของ
ปตท.เช่นกัน หากยังไม่สามารถเปิดคลังนำเข้าบนบกของตนเองได้
ทั้งนี้ ประเมินว่าการใช้ก๊าซหุงต้มในภาพรวมปีนี้จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.1 หรือ 17.5 ล้านกิโลกลัม/วัน ตามภาวะเศรษฐกิจ
มีเพียงการใช้ภาคขนส่งจะลดลงโดยปีที่แล้วมีการปิดปั๊มก๊าซแอลพีจีลง 18 แห่ง
เหลือประมาณ 2,074 แห่ง อย่างไรก็ตามคาดว่าจำนวนปั๊มจะปิดตัวน้อยลง
เพราะ ปั๊มแอลพีจีได้มีการปรับกลยุทธเป็นการขายน้ำมันในพื้นที่เดียวกันและดึงรร้านค้าอื่นๆหรือธุรกิจNON-OIL เข้ามาขายเพื่อเพิ่มรายได้
ในปี 2561
ผู้นำเข้าก๊าซแอลพีจีได้ทำแผนล่วงหน้า คาดว่าการนำเข้าในไตรมาส1 จะเฉลี่ย 5.6
หมื่นตัน/เดือน ไตรมาส 2 นำเข้าเฉลี่ยน 4.8 หมื่นตัน/เดือน ในขณะที่มีข้อกำหนด ผู้ค้ามาตรา 7 ต้องสำรองแอลพีจีจากปัจจุบันร้อยละ 1 (3วันครึ่ง) เป็นร้อยละ 2.5 (10วัน) โดยจะมีผลบังคับวันที่ 1 มกราคม 2564 และผู้นำเข้าจะต้องนำเข้าผ่านคลังบนบกภายใน 3 ปี
หลังการนำเข้าที่ในช่วงแรกสามารถ นำเข้าด้วยเรือลอยน้ำที่ใช้เป็นคลังชั่วคราวในการนำเข้าแอลพีจี(Ship to Ship )-สำนักข่าวไทย