หน่วยงานรัฐไทยเร่งสอบสินบนนำเข้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากญี่ปุ่น


กรุงเทพฯ
18 ก.ค.-ประธานบอร์ด สั่งเอ็กโก้-กฟผ.ตรวจสอบข่าวเจ้าหน้าที่รัฐ รับสินบน ระบุสบายใจ
ที่ รายงานข่าวเบื้องต้น เป็นการจ่ายเพื่อการขนส่งการนำเข้าเครื่องจักรโรงไฟฟ้า ด้านกรมเจ้าท่า-กรมศุลกากร
แจงเบื้องต้นไม่น่าเกี่ยวข้อง แต่พร้อมตรวจสอบ ด้าน”กัลฟ์” แจงไม่มีโครงการว่าจ้าง
MHPS
ในปี 2556


นายวิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน  ในฐานะประธานคณะกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) และประธานคณะกรรมการ บมจ.ผลิตไฟฟ้า (เอ็กโก) กล่าวว่า ได้ให้ทั้ง2
หน่วยงานตรวจสอบข่าวเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐรับสินบน 20 ล้านบาทจากบริษัทมิตซูบิชิ
ฮิตาชิ พาวเวอร์ ซิสเต็มส์
(MHPS) ประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งตามข่าวว่าเป็นช่วงเวลาที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนอมหน่วยที่4 ปี 56-57
อย่างไรก็ตาม บางข่าวได้รายงานว่าเป็นการติดสินบน ด้านการนำเข้า การขนส่ง
เครื่องจักรเข้ามาในประเทศไทย โดยกรณีนี้อาจเป็นเรื่องชิปปิ้ง การติดต่อ เรื่องการนำเข้าสินค้า
ซึ่งหากเป็นจริงก็รู้สึกสบายใจระดับหนึ่ง ว่าไม่ใช่การจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงพลังงาน
 แต่ก็สั่งการเร่งรัดให้ กฟผ.
และเอ็กโกตรวจสอบ ซึ่งหากพบว่ามีเจ้าหน้าที่รับสินบนจริง ก็จะลงโทษตามกฏระเบียบ

“เบื้องต้นยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนว่า
พาดพิง หรือจ่ายสินบนให้ใคร ในโครงการใด  แต่หากเป็นโครงการขนอม 4 หากเป็นเรื่องซื้อเครื่องจักรและการก่อสร้าง
เป็นเรื่องของผู้รับเหมา ดำเนินการ ซึ่งจะนำเข้ามาอย่างไร
ทางเอ็กโกคงไม่ทราบเรื่อง แต่ ก็ให้ทาง กฟผ.และเอ็กโก ตรวจสอบทั้งหมด หากพบว่าใครทำผิดก็จะลงโทษไม่เลี้ยงไว้อย่างแน่นอน”
นายวิฑูรย์กล่าว

ทั้งนี้
 โครงการขนอม4 เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมของเอ็กโก  ตั้งอยู่ในจ.นครศรีธรรมราช  โดย โครงการนี้ ทาง
Mitsubishi Corporation (MC) มีหน้าที่
ดูแลรวบรวมและสรุปการดำเนินงานของกลุ่มผู้รับเหมา  มี
Mitsubishi Hitachi Power Systems (MHPS) เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์หลัก ต่างๆ เช่น
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัก ชั่น จำกัด
(มหาชน) (
STEC) ดูแลงาน โครงสร้างต่างๆ  มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ. เป็นเวลา 25 ปี
กำลังการผลิตรวม 930 เมกะวัตต์ (
MW) แบ่งเป็นหน่วยผลิตจำนวน
2 หน่วย ๆ ละ 465 เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก
เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในวันที่ 19 มิถุนายน 2559 โดยเริ่มก่อสร้าง
วันที่1 ตุลาคม 2556


สำหรับเอ็กโกเป็นบริษัทในเครือ
กฟผ.  โดย กฟผ. ถือหุ้นร้อยละ25.41
และรองลงมาคือ ผู้ถือหุ้นจากญี่ปุ่น
บริษัท TEPDIA Generating B.V. ร้อยละ 23 .49 ..โดย TEPDIA เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Tokyo Electric Power Company (TEPCO) และ Diamond Generating Asia, Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ Mitsubishi Corporation ในสัดส่วนการร่วมทุนฝ่ายละ ร้อยละ50

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร
อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า  การนำเข้าเครื่องจักรดังกล่าว อาจจะผ่านท่าเรือขนอม
ซึ่งท่าเรือนี้บริหารงานโดยบริษัทเอกชน อย่างไรก็ตาม ทางกรมฯ
จะตรวจสอบการขนส่งเครื่องจักรผ่านท่าเรือในเชิงลึกด้วยว่า ดำเนินการอย่างไร  ตามที่มีการกล่าวอ้าง ในรายงานข่าวการสอบสวน ของทางการญี่ปุ่นว่า
การให้สินบนเกิดจากขนส่ง  โดยเฉพาะช่วงปี
2556 – 2557

นายชัยยุทธ
คำคูณ  โฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า  ข้อกล่าวอ้างดังกล่าว
กรมศุลกากรต้องขอพิจารณาเอกสารหลักฐานให้ชัดเจน จากทางการของญี่ปุ่น
ว่าระบุถึงเจ้าหน้าที่รัฐของไทยอย่างไรบ้าง เพราะการนำเข้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เป็นสินค้าที่มีพิกัดอัตราภาษีต่ำมาก เพียงร้อยละ 1-5 เนื่องจากเป็นอุปกรณ์
เครื่องมือเครื่องจักรที่จำเป็นต่อโครงสร้างพื้นฐานจะเสียภาษีน้อยมาก
จึงระบุไม่ได้ชัดเจนว่าศุลกากรจะเกี่ยวข้องกับคดีนี้อย่างไรบ้าง
อีกทั้งไทยมีข้อตกลงการค้าเสรี
FTA ไทย-ญี่ปุ่น  เพื่อลดภาษีนำเข้าระหว่างกันหลายรายการ 
จึงมองว่าเป็นเหตุจูงใจต่อเรื่องการตัดสินบนน้อยมาก ส่วนการตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงจะเกิดขึ้นหรือไม่ต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่ามีการกล่าวอ้างมายังศุลกากรอย่างไรบ้าง

นายวีระพล
จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. กล่าวว่า
กกพ.ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว เรื่องนี้ไม่ใช่อำนาจของ
กกพ.ที่จะเข้าไปตรวจสอบ
รวมถึงโครงการดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนมีการจัดตั้งคณะกรรมการ
กกพ.ชุดปัจจุบัน ดังนั้น
เป็นเรื่องที่ทางประเทศญี่ปุ่นจะต้องดำเนินการไปตามข้อกฎหมายที่กำหนด

นายสหรัฐ
บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ ในฐานะโฆษกการ กฟผ.
กล่าวว่า ขณะนี้ กฟผ.อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูลต่างๆ  ซึ่งยังไม่ทราบว่าโรงไฟฟ้าที่ปรากฎเป็นข่าวนั้น
เป็นโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่(ไอพีพี)
หรือโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก(เอสพีพี)  เบื้องต้น ยืนยันว่า โครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว
ไม่ใช่โครงการของ กฟผ.  ส่วนที่ระบุว่าอาจเป็นโครงการ
ที่ มี
รัฐวิสาหกิจไทยร่วมถือหุ้น ร้อยละ25 นั้น ทาง กฟผ.ได้สอบถามข้อมูลต่างๆไปยัง
บริษัทลูกของ กฟผ.ทั้ง เอ็กโก้ กรุ๊ป และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง แล้ว
คาดว่าจะได้รับความชัดเจนในเร็วๆนี้.

        บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) แจ้งว่า ในส่วนของโครงการโรงไฟฟ้ากลุ่มบริษัททั้งหมด
ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวใด ๆ และจากการที่บริษัทตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการไปยัง
MHPS เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง ซึ่ง MHPS ได้ยืนยันกลับมาว่ากรณีที่เป็นข่าวไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทกัลฟ์
ทั้งบริษัทย่อยและบริษัทในเครือแต่อย่างใด โดยโครงการของกัลฟ์ฯไม่มีโครงการใด ๆ ได้ลงนามสัญญาว่าจ้างออกแบบวิศวกรรม
จัดหา และก่อสร้าง (
EPC) กับ MHPS ในปี 2556 ดังที่ปรากฎในข่าว 

          ทั้งนี้ สำนักข่าวหลายแห่งของญี่ปุ่นรายงานว่าสำนักงานสืบสวนพิเศษของอัยการกรุงโตเกียวกำลังสืบสวนบริษัทมิตซูบิชิ
ฮิตาชิ พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ หรือ
MHPS ในข้อหาละเมิดกฎหมายป้องกันการแข่งขัน
ที่ไม่เป็นธรรมโดยทางบริษัทได้จ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ทางการของประเทศไทย ผ่านนายหน้ารายหนึ่ง
เป็นมูลค่ากว่า 60 ล้านเยน หรือราว 20 ล้านบาท โดยรายงานข่าวส่วนหนึ่งแจ้งว่าเป็นการติดสินบนในการขนส่ง
นำเข้าเครื่องจักรและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในช่วงปี 2556-2557    และทาง
MHPSได้ต่อรองการรับสารภาพ หรือ plea
bargain
 เพื่อแลกกับการที่ทางบริษัทจะไม่ถูกดำเนินคดีหรือลงโทษ- 

-สำนักข่าวไทย

 

 

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง