สธ.ตั้งเป้าป้องกันเชื้อดื้อยา-กำจัดมาลาเรียให้หมดจากไทย

สธ.20 พ.ย.-สธ.ย้ำประชาชนหลังกลับจากป่า มีไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น สลับร้อนหนาวและเหงื่อออก ขอให้รีบไปพบแพทย์ กินยาให้ครบ ไม่ซื้อยากินเอง อาจเจอยาปลอม


นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยถือว่าประสบผลสำเร็จในการควบคุมโรคไข้มาลาเรีย  โดยได้ปรับเปลี่ยนนโยบายจากการควบคุมโรคไข้มาลาเรียเป็นการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ตั้งเป้ากำจัดโรคไข้มาลาเรียรวมถึงเชื้อมาลาเรียที่ดื้อต่อยารักษาให้หมดไป ภายในปี 2567 ใช้มาตรการสำคัญ คือ 


1.ให้ถือว่าการเฝ้าระวังเชื้อมาลาเรียดื้อยาเป็นงานในระบบปกติ และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในทุกพื้นที่เสี่ยง 

2.ค้นหาและให้การรักษาผู้ป่วย โดยมาลาเรียชุมชน มาลาเรียคลินิก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการติดตามผลการรักษาโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประชาชนในพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรียจะได้รับการคุ้มครอง 

3.ป้องกันยุงพาหะนำโรค โดยแจกมุ้งชุบสารเคมีเพื่อป้องกันยุงทุกหลังคาเรือน เป็นต้น


นพ.เจษฎากล่าวต่อว่า ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่ 1 มกราคม – 1 พฤศจิกายน 2560 ประเทศไทยพบผู้ป่วยมาลาเรีย 10,878 ราย โดย 5 จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ ยะลา ตาก ศรีสะเกษ นราธิวาส และแม่ฮ่องสอน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 ในช่วงเวลาเดียวกันพบผู้ป่วยลดลงจากอัตราป่วย 0.26 ต่อประชากรพันคน เหลืออัตราป่วยเพียง 0.16 ต่อประชากรพันคน และพบปัญหาเชื้อดื้อยาน้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ประเทศที่มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียน้อยกว่า 1 ต่อประชากรพันคน

ด้าน นพ.สุวรรณชัย  วัฒนายิ่งเจริญชัย  อธิบดีกรมควบคุมโรค  กล่าวว่า ตามที่มีข่าวว่า  พบเชื้อมาลาเรียดื้อยาตามแนวชายแดนแม่น้ำโขงนั้น ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เนื่องจากประเทศไทยได้เปลี่ยนยาที่ใช้ในการรักษามาลาเรีย ซึ่งสามารถรักษาโรคนี้ให้หายได้ สำหรับประชาชนที่อาศัยในพื้นที่อยู่แล้วหรือผู้เดินทางไปพักค้างคืนในพื้นที่ดังกล่าว ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด นอนในห้องที่มีมุ้งลวดหรือกางมุ้ง ทายากันยุง เป็นต้น ที่สำคัญภายหลังกลับจากป่า ถ้ามีไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น สลับร้อนหนาวและเหงื่อออกขอให้รีบไปพบแพทย์ในสถานพยาบาลทุกแห่งใกล้บ้านทันที เพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียและขอให้แจ้งประวัติการเข้าป่าหรือไปพักค้างคืนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงให้แพทย์ทราบด้วยเพื่อการรักษาที่รวดเร็ว และต้องรับประทานยาให้ครบ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะอาจเจอยาปลอมได้ หากไปพบแพทย์ช้าผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง ภาวะปอดบวมน้ำ ภาวะไตวาย อาจเสียชีวิตได้   .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

ไทยตอนบนอากาศร้อนและร้อนจัดบางพื้น มีฝนฟ้าคะนอง

กรมอุตุฯ รายงานไทยตอนบนอากาศร้อน และร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคกลาง ฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง

“อนุทิน” เผยยังไม่สรุปสาเหตุตึก สตง.ถล่ม ต้องรอตรวจสอบเชิงลึก

“อนุทิน” ระบุยังไม่สรุปสาเหตุตึก สตง. ถล่ม บอกต้องรอตรวจสอบเชิงลึก ชี้สภาพหน้างานตอนนี้ยังเก็บหลักฐานไม่ได้ อยู่ระหว่างกู้ภัย คาดใช้เวลาอีกเป็นเดือน

คุมตัวผัวเมียชิงทอง 8 บาท ย่านบางพลี ทำแผนฯ

ตำรวจคุมตัวสามีภรรยา ชี้จุดทำแผนประกอบคำรับสารภาพ หลังร่วมกันก่อเหตุชิงทอง 8 บาท ร้านทองย่านบางพลี จ.สมุทรปราการ อ้างต้องการเงินไปเป็นเจ้าภาพงานบุญผ้าป่า หลังสัญญากับทางวัดไว้

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์