วิกฤตเชื้อดื้อยาอาจทำ 40 ล้านคนตายใน 26 ปี

ลอนดอน 17 ก.ย.- ผลการศึกษาใหม่คาดการณ์ว่า วิกฤตเชื้อโรคที่ดื้อยาปฏิชีวนะ หรือที่เรียกว่าซูเปอร์บั๊ก (superbug) อาจทำให้ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตสะสมมากกว่า 39 ล้านคนตั้งแต่ขณะนี้ไปจนถึงในปี 2593 ผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารแลนเซ็ต (Lancet) ฉบับวันที่ 16 กันยายนคาดการณ์ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโรคที่ต้านทานต่อยาที่ใช้รักษาอาจเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 70 ภายในปี 2593 การดื้อยาเกิดขึ้นเมื่อเชื้อโรคอย่างแบคทีเรียและเชื้อราพัฒนาตัวเองให้สามารถต้านทานยาที่เคยใช้ฆ่าเชื้อได้ องค์การอนามัยโลกระบุว่า ปัญหานี้เป็นหนึ่งในภัยคุกคามสาธารณสุขโลกอันดับต้น ๆ อันเป็นผลจากการใช้ยาต้านจุลชีพในคน สัตว์ และพืช อย่างไม่ถูกต้องและมากเกินไป ผลการศึกษาชี้ว่า ภูมิภาคที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ เอเชียใต้ ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน และแอฟริกาที่อยู่ใต้ทะเลทรายซาฮารา เพราะส่วนใหญ่ขาดแคลนบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ดังนั้นหนทางที่จะลดยอดผู้เสียชีวิตจากซูเปอร์บั๊ก คือ การปรับปรุงการเข้าบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ การพัฒนายาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นและวิธีการต่าง ๆ ที่จะลดและรักษาการติดเชื้อ.-814.-สำนักข่าวไทย   

ชัวร์ก่อนแชร์: ต้องกักตุนยาปฏิชีวนะ รับมือโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย จริงหรือ?

Azithromycin เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ คนไข้ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะการใช้ยาอย่างผิดวิธี อาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อโรคดื้อยาในอนาคต

กรมควบคุมโรค เตือนผู้ป่วยวัณโรคกินยาครบสูตร ป้องกันดื้อยาหลายขนาน

กรมควบคุมโรค เตือนผู้ป่วยวัณโรคให้กินยารักษาให้ครบสูตร อย่าหยุดยาเองอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ขณะนี้พบผู้ป่วยแล้ว 1,221 ราย ชี้ทำให้การรักษายุ่งยาก ใช้เวลานานขึ้น ให้ผลสำเร็จการรักษาน้อย เชื้อแพร่คนอื่นได้

ชัวร์ก่อนแชร์ : รู้ได้อย่างไร ว่าร่างกายมีเชื้อดื้อยา ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข่าวสารการสูญเสียชีวิตหลายกรณีที่เกิดจาก “เชื้อดื้อยา” แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีเชื้อดื้อยาหรือไม่ รวมทั้งจะป้องกันอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

“สธ.-เกษตร-ทส.” ร่วมวางแผนยุทธศาสตร์การดื้อยา

ก.สาธารณสุข ร่วมกับ ก.เกษตร-ทรัพยากรฯ วางแผนยุทธศาสตร์การดื้อยา ต้านจุลชีพ ห่วงการดื้อยาส่งผลการรักษา และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยาแก้อักเสบไม่ต้องกินให้หมดก็ได้ จริงหรือ?

สังคมออนไลน์แชร์ความเข้าใจเรื่องที่ว่า ยาแก้อักเสบ หรือยาปฏิชีวนะ ได้รับมาแล้วไม่ต้องกินให้หมดก็ได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการกินยา จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ 8 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการกินยา เช่น ยาก่อนอาหารควรกินก่อนอาหาร 30 นาที ส่วนยาหลังอาหารมีทั้งให้กินหลังอาหารทันที และกินหลังอาหาร 15-30 นาที เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

สธ.เตือนประชาชนป่วยเป็นหวัด ไม่ซื้อยากินเอง เสี่ยงดื้อยา

สธ.เตือนประชาชนไม่ซื้อยาแก้ไข้หวัด เจ็บคอ ไอ กินเอง เพราะยาเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ไม่ช่วยลดอาการ แถมเสี่ยงเกิดเชื้อดื้อยา

สธ.เตรียมประกาศยาฆ่าเชื้อรุนแรงบางชนิดเป็นยาอันตราย

สธ.เตรียมประกาศให้ยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฎิชีวนะรุนแรงบางชนิดที่จำหน่ายในร้ายขายยาเป็นยาอันตราย หลังพบเชื้อดื้อยา รุนแรง ตั้งเป้าให้ไทยลดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ร้อยละ 50

จัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม 23-29 มิ.ย.รณรงค์ใช้ยาเหมาะสม

สภาเภสัชกรรม จัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม61เริ่มวันพรุ่งนี้ รณรงค์ใช้ยาเหมาะสมกับโรคหลังพบคนไทยกินยาเกินความจำเป็นสิ้นเปลืองกว่า 2 พันล้าน ตายเพราะดื้อยา2หมื่นคนต่อปี

สธ.ตั้งเป้าป้องกันเชื้อดื้อยา-กำจัดมาลาเรียให้หมดจากไทย

สธ.ย้ำประชาชนหลังกลับจากป่า มีไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น สลับร้อนหนาวและเหงื่อออก ขอให้รีบไปพบแพทย์ กินยาให้ครบ ไม่ซื้อยากินเอง อาจเจอยาปลอม

1 2
...