รร.อโนมา แกรนด์ 4 ก.ค.-ครบ 20 ปี สภาการหนังสือพิมพ์เเห่งชาติ จัดสัมมนาการกำกับดูเเลกันเองของสื่อนานาชาติ ตัวเเทนสื่อสวีเดน-ออสเตรเลียร่วมสัมมนา ย้ำสื่อต้องเป็นอิสระจากรัฐ จึงจะควบคุมสื่อกันเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จัดสัมมนาระดับนานาชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์เเห่งชาติ หัวข้อ “ประสบ การณ์การกำกับดูแลกันเองของสื่อจากนานาชาติ” มีผู้แทนจากสภาการหนังสือพิมพ์ประเทศต้นแบบ อาทิ สวีเดน ออสเตรเลีย และประเทศในภูมิภาคอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย และเมียนมา เข้าร่วมเวทีสัมมนา
นายโอลา ซิกวาร์สสัน ผู้ตรวจการของรัฐสภาประเทศสวีเดน กล่าวว่า สภาการหนังสือพิมพ์สวีเดน เป็นสภาที่เก่าเเก่ที่สุดในโลกโดยมีผู้พิพากษาเป็นประธานร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องเเละภาคประชาชน เป็นองค์กรอิสระจากรัฐอย่างสิ้นเชิง ระบบการกำกับดูเเลกันเองของสื่อสวีเดนเป็นเรื่องความสมัครใจ ไม่ยึดติดกฎหมาย มีคณะกรรมการรับเรื่องร้องเรียนของวิชาชีพหนังสือพิมพ์ โดยหากมีการละเมิดจากการตีพิมพ์หรือภาพในหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์จะต้องชี้เเจงข้อกล่าวหาที่มีการร้องเรียนเเละทุกอย่างต้องได้รับการเเก้ไขภายใน 3 เดือน เเต่ละปีได้รับข้อร้องเรียนกว่า 500 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องอาชญากรรมเเละการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เดิมทีหากประชาชนถูกสื่อคุกคามไปเเจ้งความในชั้นศาล มีโอกาสเเพ้คดีสูง เพราะกฎ หมายของสวีเดนกำหนดให้สื่อรายงานข่าวได้ทุกเรื่อง เว้นเเต่ห้ามหมิ่นประมาทเเละยั่วยุให้เกิดอาชญากรรม ดังนั้นจึงเกิดสภาฯขึ้นเพื่อให้สื่อทำหน้า ที่ด้วยความรับผิดชอบ มีจริยธรรม
ด้านนายเดวิด ไวส์บรอท ประธานสภาการหนังสือพิมพ์ออสเตรเลีย กล่าวว่า สภาการหนังสือพิมพ์ของออสเตรเลีย เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ดูเเลกันเองเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อเเละเสรีภาพการเเสดงออก มีกลุ่มเป้าหมายดูเเลหนังสือพิมพ์เเละสื่อออนไลน์ที่ไม่ถูกควบคุมด้วยระบบใบ อนุญาต เพราะประชาชนส่วนใหญ่รับข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียเเละสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสื่อที่เป็นสมาชิก 900 องค์กร เเต่สมาชิกส่วนใหญ่เป็นหนังสือพิมพ์
ทั้งนี้การเข้าเป็นสมาชิกนั้นเกิดจากความสมัครใจ เเละหากเกิดกรณีสื่อที่ไม่ได้เป็นสมาชิกละเมิดสิทธิประชาชน สภาฯก็ไม่สามารถกำกับดูเเลหรือสั่งให้เเก้ไขได้ ถือเป็นปัญหาสำคัญ ขณะเดียวกันหากพบว่าสื่อใดละ เมิดสิทธิหรือรายงานข่าวที่ไม่ถูกต้องจะไม่มีบทลงโทษ เเต่ขอความร่วมมือให้สมาชิกตีพิมพ์ข้อพิจารณาของสภาฯถึงเรื่องที่ร้องเรียน ซึ่งได้รับความร่วม มือจากสมาชิกเป็นอย่างดี เเละทุกครั้งจะคอยย้ำว่าสื่อจะต้องรายงานข่าวที่มีความชัดเจน ถูกต้อง เป็นธรรม มีดุลยภาพ ปกป้องสิทธิมนุษยชนเเละ มีความโปร่งใส เชื่อถือได้ เเต่หากถูกละเมิด ประชาชนจะยื่นขอร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ของสภาฯหรือ www.presscouncil.org.au. สภารับข้อร้องเรียนอย่างอิสระ โดยไม่ให้องค์กรสื่อเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหรือครอบงำ ซึ่งมองว่าการทำงานของสภาฯนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการฟ้องร้องกันในชั้นศาล เพราะต้องใช้เวลานาน
ด้านนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์เเห่งชาติ กล่าวว่า สื่อไทยมีการเปลี่ยนเเปลงค่อนข้างเยอะ รัฐบาลพยายามออกกฎหมายควบคุมสื่อ เเต่สื่อไทยได้เรียกร้องที่จะควบคุมดูเเลกันเองเพื่อให้ได้ซึ่งเสรีภาพของสื่อมวลชนที่เเท้จริง
ทั้งนี้ภายหลังจากจัดสัมมนา มีการมอบรางวัลประกวดบทบรรณาธิการดีเด่น จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 เพื่อกระตุ้นให้กองบรรณาธิการตระหนักถึงความสำคัญของบทบรรณาธิการตามมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งราง วัลดีเด่นประเภทหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง ได้เเก่หนังสือสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์เรื่อง “ใครๆก็ไม่ควรทำ” ส่วนรางวัลชมเชยมี 2 รางวัล ได้เเก่ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ เรื่อง “มองความขัดเเย้งระหว่างรัฐกับภาคพลเมือง” เเละหนังสือ พิมพ์เดลินิวส์ เรื่อง “ใครจะรื้อระบบอุปถัมภ์ ส่วนประเภทบทบรรณาธิการเกียรติคุณ ได้เเก่เรื่อง “พระราชดำรัสต่อสื่อมวลชน ของหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงยังมีการแสดงปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “สื่อมวลชนใต้ร่มพระบารมีสถาบันพระมหากษัตริย์” โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา.-สำนักข่าวไทย