แกมเบียขอศาลโลกไม่รับคำค้านของเมียนมาคดีล้างเผ่าพันธุ์

ประเทศแกมเบียกล่าววานนี้เรียกร้องให้ศาลโลกไม่ยอมรับคำคัดค้านของเมียนมาให้ยุติการสอบสวนในคดีที่เมียนมาถูกกล่าวหาว่ากระทำการที่เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญา โดยระบุว่า แกมเบียไม่ได้เป็นตัวแทนของไคร

เมียนมาจะขึ้นศาลโลกคดีโรฮิงญาโดยไม่มี “ซู จี”

เฮก 21 ก.พ. – รัฐบาลทหารเมียนมาจะส่งตัวแทนขึ้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก แทนนางออง ซาน ซู จี ในวันนี้ เพื่อแถลงคัดค้านในเบื้องต้นต่อการไต่สวนสาธารณะในคดีที่เมียนมาถูกแกมเบียยื่นฟ้องในนามตัวแทนองค์กรประเทศมุสลิมว่า เมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา สื่อท้องถิ่นของเมียนมารายงานว่า ในการไต่สวนสาธารณะต่อคำคัดค้านที่เริ่มต้นขึ้นในวันนี้ รัฐบาลทหารเมียนมาจะให้การคัดค้านว่าศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าว และต้องยกฟ้องคดีนี้ก่อนที่จะไปถึงขั้นการพิจารณาคดีที่สำคัญ ทั้งยังระบุว่า รัฐบาลทหารเมียนมาได้แต่งตั้งให้ โก โก หล่าย รัฐมนตรีกระทรวงความร่วมมือระหว่างประเทศ และ ธิดา อู่ อัยการสูงสุดของเมียนมา เป็นตัวแทนคนใหม่ในการเข้าฟังการไต่สวนแบบเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์ในครั้งนี้ บุคคลทั้งสองถูกสหรัฐขึ้นบัญชีคว่ำบาตรจากเหตุรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อน ก่อนหน้านี้ นางซู จี เคยเป็นตัวแทนเมียนมาเพื่อโต้แย้งคำไต่สวนของศาลโลกเกี่ยวกับข้อกล่าวหาดังกล่าวครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2562 ก่อนที่จะถูกกองทัพเมียนมายึดอำนาจการปกครองในเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อน ขณะนี้ นางซู จี ซึ่งถูกกลุ่มสิทธิมนุษยชนโจมตีว่ามีส่วนพัวพันกับคดีดังกล่าว ถูกควบคุมตัวอยู่ในบ้านพักและถูกกล่าวหาว่ามีความผิดในหลายคดีที่ทำให้อาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดถึง 150 ปี. -สำนักข่าวไทย

ศาลโลกจะไต่สวนคำค้านเมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญา

กรุงเฮก 20 ก.พ.- ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกจะเปิดการไต่สวนสาธารณะต่อคำคัดค้านเบื้องต้นของเมียนมาที่ถูกแกมเบียยื่นฟ้องในนามตัวแทนองค์กรประเทศมุสลิมว่า เมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา การไต่สวนสาธารณะเป็นเวลา 4 วันจะเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ แต่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องผู้ที่จะขึ้นศาลในฐานะตัวแทนเมียนมา เนื่องจากนางออง ซาน ซู จี ที่เคยนำทีมกฎหมายเมียนมาขึ้นศาลโลกครั้งหลังสุด ถูกคุมขังตั้งแต่กองทัพรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาเผยว่า ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ 2 คนเป็นตัวแทนประเทศ ขณะที่กลุ่มวิจารณ์รัฐบาลทหารเมียนมาเห็นว่า ควรให้รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติที่เป็นรัฐบาลพลเรือนเงาเป็นตัวแทนในศาลโลก ด้านรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเผยว่า ได้แต่งตั้งนายจ่อ โม ตุน เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติเป็นตัวแทนทางเลือก และกำลังถอนคำคัดค้านเบื้องต้นของเมียนมาต่อศาลโลก ทนายความของแกมเบียได้แสดงภาพแผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียม และภาพกราฟฟิกต่อศาลโลกในการไต่สวนสาธารณะเมื่อปลายปี 2562 แจกแจงรายละเอียดสิ่งที่พวกเขาระบุว่าเป็นการฆาตกรรม ข่มขืน และทำลายล้างที่เทียบเท่ากับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาที่ดำเนินการโดยกองทัพเมียนมา ครั้งนั้นศาลมีคำสั่งให้เมียนมาหาทางป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา เป็นคำสั่งชั่วคราวเพื่อปกป้องชาวโรฮิงญาในระหว่างที่กำลังมีการไต่สวนคดี ซึ่งคาดว่าจะกินเวลาหลายปี.-สำนักข่าวไทย

เรือที่มีชาวโรฮิงญากว่า 100 คน ได้จอดในอินโดนีเซีย

ผู้อพยพชาวโรฮิงญามากกว่า 100 คน ซึ่งล่องเรือลอยอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกของอินโดนีเซียในสภาพที่เรือกำลังใกล้จะจม ได้รับอนุญาตให้นำเรือเข้าจอดเทียบท่าในอินโดนีเซียเมื่อช่วงเช้าวันศุกร์ หลังจากเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียยินยอมตามกระแสกดดันจากนานาประเทศที่เรียกร้องให้อินโดนีเซ๊ยให้ที่พักพิงแก่ผู้อพยพเหล่านี้

Meta จะแบนธุรกิจของกองทัพเมียนมาทั้งหมด

เมนโลปาร์ก 8 ธ.ค.- เมตา แพลตฟอร์ม อิงก์ (Meta) บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กจะไม่ให้ธุรกิจทั้งหมดของกองทัพเมียนมามีพื้นที่ในแพลตฟอร์มของบริษัท นายราฟาเอล แฟรงเคิล ผู้อำนวยการนโยบายสาธารณะสำหรับประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเมตาแถลงว่า การตัดสินใจดังกล่าวเป็นไปตามที่ประชาคมโลกและภาคประชาสังคมมีเอกสารประกอบอย่างครอบคลุมว่า ธุรกิจเหล่านี้มีบทบาทโดยตรงในการให้เงินทุนแก่กองทัพเมียนมา เมตาระบุชื่อธุรกิจเหล่านี้จากรายงานปี 2562 ของคณะค้นหาข้อเท็จจริงในเมียนมา งานวิจัยของกลุ่มนักเคลื่อนไหว และการหารือกับภาคประชาสังคม และได้ลบบัญชี หน้าเพจ รวมทั้งกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่อยู่ในความควบคุมของกองทัพเมียนมาแล้วมากกว่า 100 แห่ง ส่วนเรื่องที่เฟซบุ๊กถูกผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญายื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5 ล้านล้านบาท) โทษฐานไม่ดำเนินการใด ๆ กับการปลุกกระแสเกลียดชังชาวโรฮิงญาที่เป็นชนกลุ่มน้อยในเมียนมา และนำมาซึ่งการใช้ความรุนแรงกับชาวโรฮิงญานั้น นายแฟรงเคิลไม่ให้ความเห็นในเรื่องนี้ แต่กล่าวว่า เมตารังเกียจการก่ออาชญากรรมต่อชาวโรฮิงญาในเมียนมา โดยได้ตั้งทีมงานที่พูดภาษาเมียนมา แบนกองทัพเมียนมา ขัดขวางเครือข่ายที่ชักใยการแสดงความเห็นสาธารณะ และดำเนินการกับการให้ข้อมูลอันตรายเพื่อปกป้องผู้คนให้ปลอดภัย บริษัทไฮเทคยักษ์ใหญ่ของสหรัฐรายนี้เคยประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่า จะไม่ให้ทุกกลุ่มที่เกี่ยวโยงกับกองทัพเมียนมาลงโฆษณาในแพลตฟอร์มของบริษัท เฟซบุ๊กซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มของเมตาเป็นสื่อสังคมออนไลน์หลักในเมียนมา โดยเป็นช่องทางสื่อสารสำคัญทั้งของผู้ประท้วงต่อต้านกองทัพ และของกองทัพ แต่หลังจากถูกประชาคมโลกวิจารณ์เรื่องไม่ควบคุมการปลุกกระแสเกลียดชังทางออนไลน์ เฟซบุ๊กจึงได้เริ่มต่อต้านกองทัพเมียนมาและปกป้องผู้ใช้งานชาวเมียนมามากขึ้น.-สำนักข่าวไทย

UN ห่วงหลังมีข่าวทหารเมียนมาระดมพลทางเหนือ

สหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) กังวลว่า สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเมียนมาจะเลวร้ายลงอีก หลังจากมีรายงานว่า ทหารเมียนมากำลังระดมพลทางตอนเหนือของประเทศ

ยธ. เผย พล.ท.มนัส ผู้ต้องขังคดีค้ามนุษย์ เสียชีวิตแล้ว

ก.ยุติธรรม เผย พล.ท.มนัส ผู้ต้องขังคดีค้ามนุษย์ เสียชีวิตขณะออกกำลังกาย มีโรคประจำตัวหลายอย่าง ผลตรวจโควิดปลอดเชื้อ

ไฟไหม้ค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา เสียชีวิตหลายสิบ

ไฟไหม้ใหญ่ค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศ เสียชีวิตหลายสิบคน ที่พักซึ่งส่วนใหญ่เป็นกระท่อมและเต็นท์ ถูกไฟเผาวอด ถือเป็นเหตุไฟไหม้ครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือน ยังไม่ทราบสาเหตุ

ยูเอ็นห่วงชะตากรรมของโรฮีนจา หลังรัฐประหารในเมียนมา

สหประชาชาติหวั่นเกรงว่า รัฐประหารในเมียนมา จะทำให้ส่งผลกระทบต่อชะตากรรมของชาวมุสลิมโรฮิงญาราว 600,000 คน ที่ยังคงอาศัยอยู่ในเมียนมา

ชาวโรฮิงญาหลายร้อยหายตัวไปจากค่ายลี้ภัยในอินโดนีเซีย

จาการ์ตา 28 ม.ค. – ชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนหายตัวไปจากค่ายผู้ลี้ภัยในอินโดนีเซีย โดยคาดว่าเข้าร่วมกับขบวนการค้ามนุษย์เพื่อข้ามฝั่งไปยังมาเลเซีย เจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียเผยว่า ค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองล็อกเซอูมาเวทางชายฝั่งตอนเหนือของอินโดนีเซียเหลือชาวโรฮิงญาเพียง 112 คน ลดลงจากเดิมที่มีเกือบ 400 คนที่เดินทางมาอาศัยที่ค่ายแห่งนี้ระหว่างเดือนมิถุนายนและกันยายนปีก่อน เจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียและองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นไม่สามารถระบุเบาะแสของผู้ลี้ภัยเหล่านี้ที่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมไร้สัญชาติจากเมียนมา คาดว่าผู้ลี้ภัยได้ขอให้ขบวนการค้ามนุษย์ช่วยพาพวกเขาข้ามช่องแคบมะละกาเข้าไปยังมาเลเซีย หัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการดูแลชาวโรฮิงญาของเมืองล็อกเซอูมาเวกล่าวว่า ไม่มีใครรู้ว่าชาวโรฮิงญากลุ่มดังกล่าวไปไหน แต่ถ้าพวกเขาหาลู่ทางได้ก็จะหนีไปเพื่อทำตามเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ประจำอินโดนีเซียระบุว่า เคยเตือนชาวโรฮิงญาไม่ให้หนีออกนอกค่ายผู้ลี้ภัยแล้ว เนื่องจากการเดินทางมีความเสี่ยงสูงและอันตรายมาก รวมถึงการใช้บริการของขบวนการค้ามนุษย์ด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตำรวจอินโดนีเซียจับกุมชาวโรฮิงญาได้อย่างน้อย 18 คนจากค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองล็อกเซอูมาเวและนายหน้าค้ามนุษย์สิบกว่าคนในพื้นที่ทางตอนใต้ของเมืองเมดานที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทิศเหนือของอินโดนีเซีย ซึ่งถูกใช้เป็นจุดลักลอบข้ามไปยังฝั่งมาเลเซียโดยผิดกฎหมายอยู่บ่อยครั้ง. -สำนักข่าวไทย

ยูนิเซฟชี้ รร.ค่ายโรฮิงญาบังกลาเทศถูกวางเพลิง

ค็อกซ์บาซาร์ 19 ม.ค.- เกิดเหตุไฟไหม้โรงเรียน 4 แห่งที่องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟตั้งขึ้นเพื่อเด็กชาวโรฮิงญาในค่ายผู้ลี้ภัยบังกลาเทศ ยูนิเซฟระบุว่า เป็นการวางเพลิง กรรมาธิการผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศเผยกับสื่อว่า ทางการกำลังสอบสวนเหตุไฟไหม้ล่าสุด เชื่อว่าไม่ได้เกิดจากการจงใจ และวัสดุที่ใช้ก่อสร้างโรงเรียนก็เป็นวัสดุติดไฟง่าย เพราะไม่ได้สร้างขึ้นเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวร เหตุเกิดในช่วงที่โรงเรียนปลอดคน ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นมือของใครหรือกลุ่มใด หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพิ่งเกิดไฟไหม้กระท่อมไม้ไผ่หลายร้อยหลังในค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่ง ทำให้ชาวโรฮิงญาที่อพยพมาจากเมียนมาไร้ที่อยู่จำนวนมาก สันนิษฐานว่าต้นเพลิงมาจากเตาแก๊ส ด้านยูนิเซฟทวีตแย้งว่า เหตุไฟไหม้โรงเรียนเป็นการวางเพลิง ยูนิเซฟกำลังประสานกับผู้เกี่ยวข้องประเมินความเสียหาย และเร่งซ่อมแซมศูนย์การเรียนรู้เหล่านี้ขึ้นใหม่ ยูนิเซฟตั้งศูนย์การเรียนรู้ 2,500 แห่งในค่ายผู้ลี้ภัย 34 แห่งในเขตค็อกซ์บาซาร์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบังกลาเทศ มีเด็กชาวโรฮิงญาเข้าเรียนประมาณ 240,000 คน แต่ปิดไปหลายเดือนเพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระบาด เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์คาดว่า จะเปิดได้อีกครั้งในเดือนหน้า.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 31
...