fbpx

หามาตรการรับมือผู้หนีภัยสงครามจากเมียนมา

กมธ. มั่นคงฯ จับมือ ทร. หามาตรการรับมือผู้หนีภัยสงครามจากเมียนมา หลังประเมินเหตุการณ์ไม่ดี เฝ้าระวังโรฮีนจาหนีตายจากค็อกบาร์ซาร์ เข้าน่านน้ำไทย

เรียกร้องบังกลาเทศระงับการส่งโรฮีนจากลับเมียนมา

ฮิวแมนไรตส์วอตช์ (Human Rights Watch) หรือ เอชอาร์ดับเบิลยู กล่าววันนี้เรียกร้องให้บังกลาเทศระงับแผนการส่งตัวผู้อพยพชาวโรฮีนจากลับไปยังเมียนมา โดยเตือนว่า สภาพความเป็นอยู่ในเมียนมายังไม่ปลอดภัยสำหรับผู้อพยพเหล่านี้

พบชาวโรฮีนจากว่าร้อยลอยเคว้งในน่านน้ำนอกฝั่งอินเดีย

แหล่งข่าวเผยว่า กองทัพเรืออินเดียพบชาวโรฮีนจากว่า 100 คน อัดแน่นอยู่บนเรือที่ลอยเคว้งกลางน่านน้ำนอกชายฝั่งหมู่เกาะอันดามันของอินเดีย โดยคาดว่าอาจมีชาวโรฮีนจามากถึง 20 คน ที่เสียชีวิตจากภาวะขาดน้ำ หิวโหย หรือจมน้ำ

เมียนมาจับโรฮีนจา 70 คนซ่อนในรถที่ตกคลอง

รัฐบาลทหารเมียนมาแจ้งวันนี้ว่า ควบคุมตัวชาวโรฮีนจา 70 คนที่หลบซ่อนตัวอยู่ในรถบรรทุกคันหนึ่งที่ชนแล้วตกลงคลองข้างทาง

โรฮิงญากว่า 100 ชีวิตขึ้นฝั่งอินโดนีเซีย

จาการ์ตา 15 พ.ย.- เรือที่มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามากถึง 111 คน ขึ้นฝั่งจังหวัดอาเจะห์ ทางเหนือสุดของอินโดนีเซียในวันนี้ เจ้าหน้าที่จังหวัดอาเจะห์เผยว่า ผู้ลี้ภัยทั้ง 111 คนมีสุขภาพแข็งแรงดี ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 18 คน และสตรี 27 คน ทางการได้นำไปพักในหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นการชั่วคราว และจะหารือกันในวันนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามักอาศัยช่วงคลื่นลมในทะเลสงบระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนล่องเรือออกจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนมาหนีมายังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยในช่วงหลายปีมานี้ได้ล่องเรือมาขึ้นฝั่งที่จังหวัดอาเจะห์แล้วหลายร้อยคน บางครั้งต้องลอยเรืออยู่กลางทะเลนานหลายเดือน เมียนมาถือว่าชาวโรฮิงญา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม เป็นผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายจากบังกลาเทศแม้ว่าเกิดในเมียนมาก็ตาม ชาวโรฮิงญามากกว่า 730,000 คนหนีออกจากเมียนมาในปี 2560 หลังจากกองทัพเมียนมายกกำลังขึ้นไปโดยอ้างว่าเพื่อปราบปรามกลุ่มก่อเหตุไม่สงบ แต่ผู้เห็นเหตุการณ์แย้งว่า ทหารเมียนมาได้สังหารหมู่และข่มขืนชาวโรฮิงญา.-สำนักข่าวไทย

อังกฤษคว่ำบาตรบริษัทเมียนมาที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ

อังกฤษประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรระลอกใหม่ที่มีเป้าหมายเป็นบริษัทธุรกิจในเมียนมา มีความเกี่ยวข้องกับกองทัพ เพื่อสนับสนุนชุมชนชาวโรฮิงญาในเมียนมา จำกัดการเข้าถึงอาวุธและรายได้ของกองทัพเมียนมา

ศาลยูเอ็นเดินหน้าดำเนินคดีเมียนมาในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ไอซีเจ ซึ่งเป็นศาลสูงสุดของสหประชาชาติ ลงความเห็นในวันศุกร์ว่า คดีสำคัญที่มีการกล่าวหาเมียนมาเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา สามารถเดินหน้าต่อไปได้

เรือโรฮิงญา 90 ชีวิตล่มนอกชายฝั่งเมียนมา

เนปิดอว์ 24 พ.ค.- สื่อหลายแห่งรายงานว่า เรือที่มีชาวโรฮิงญาโดยสารอยู่ราว 90 คน อับปางนอกชายฝั่งเมียนมาช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาท่ามกลางสภาพอากาศไม่ดี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายหลายสิบคน วิทยุเอเชียเสรีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหรัฐรายงานอ้างประชาชนริมชายฝั่งในย่านชเว ดอง ยาน เขตอิรวดี ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมียนมาว่า ทางการควบคุมตัวผู้รอดชีวิตมากกว่า 20 คน พบผู้เสียชีวิตแล้ว 14 คน และยังสูญหายอยู่มากกว่า 50 คน บนเรือมีเด็กรวมอยู่ด้วย ด้านอิรวดี ไทมส์ รายงานอ้างข้อมูลจากผู้รอดชีวิตว่า เรือซึ่งกำลังมุ่งหน้าไปมาเลเซียเกิดปัญหา หลังล่องออกจากเมืองซิตตเว รัฐยะไข่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ชาวโรฮิงญามีสถานภาพเป็นคนไร้รัฐในเมียนมา ขณะนี้เหลืออยู่ในเมียนมาประมาณ 600,000 คน สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ประเมินว่า มีชาวโรฮิงญาพลัดถิ่นประมาณ 148,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามค่ายผู้ลี้ภัย และว่าช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้มีชาวโรฮิงญาเสี่ยงชีวิตล่องเรือข้ามอ่าวเบงกอลประมาณ 630 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 60 เป็นเด็กและผู้หญิง กองทัพเมียนมาอ้างว่า ใช้ปฏิบัติการในรัฐยะไข่ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธ […]

ผบ.ตร.สั่งเร่งล่า 31 ผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา

ผบ.ตร.สั่งเร่งล่า 31 ผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์โรฮีนจาที่เหลือ มาดำเนินคดี ยืนยันไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย ออกหมายจับไว้ 155 หมาย เสียชีวิตไป 2 ราย ฟ้องไป 116 ราย ส่วนใหญ่ศาลสั่งลงโทษ บางรายถูกตัดสินจำคุกกว่า 1,600 ปี เชื่อหากมีการช่วยเหลือกัน ผลไม่ออกมาเป็นแบบนี้

ชาวโรฮิงญาถูกรถชนตายบนทางหลวงมาเลเซียหลังแหกค่ายกักกัน

กัวลาลัมเปอร์ 20 เม.ย. – เกิดเหตุชาวโรฮิงญา 6 รายถูกรถชนเสียชีวิตบนทางหลวงมาเลเซีย ในจำนวนนี้ มีเด็กรวมอยู่ 2 ราย หลังจากที่ชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนได้หลบหนีออกจากศูนย์กักกันคนเข้าเมืองในรัฐปีนัง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียที่เกิดเหตุจลาจลเมื่อช่วงเช้ามืดวันนี้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของมาเลเซียระบุในแถลงการณ์ว่า มีชาวโรฮิงญาทั้งหมด 582 คนที่หลบหนีออกจากค่ายกักกันคนเข้าเมืองชั่วคราวในรัฐปีนังด้วยการพังประตูและทำลายรั้วตาข่าย ขณะนี้ทางการมาเลเซียสามารถจับกุมผู้หลบหนีกลับมาได้ 362 คนแล้ว ขณะที่ตำรวจมาเลเซียเผยว่า เจ้าหน้าที่กำลังสืบสวนหาสาเหตุของการก่อจลาจลเมื่อช่วงเช้ามืดวันนี้ และกำลังเร่งตามจับกุมชาวโรฮิงญาที่ยังคงหลบหนีอยู่ ด้านตำรวจของรัฐเกดะห์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย รายงานว่า มีชาวโรฮิงญา 6 รายถูกรถชนเสียชีวิตในขณะที่ทั้งหมดกำลังข้ามถนนบนทางหลวงที่อยู่ห่างจากค่ายกักกันคนเข้าเมืองชั่วคราว 8 กิโลเมตร ในจำนวนนี้ มีชาวโรฮิงญาที่เป็นผู้ชาย 2 ราย ผู้หญิง 2 ราย เด็กชาย 1 ราย และเด็กหญิง 1 ราย ทั้งนี้ ค่ายกักกันดังกล่าวมีชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ทั้งหมด 664 คน ซึ่งรวมถึงเด็ก 137 คน สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า มาเลเซีย ซึ่งไม่ยอมรับสถานะผู้ลี้ภัยของชาวโรฮิงญา เป็นจุดหมายปลายทางสำคัญที่ชาวโรฮิงญานิยมเดินทางไปเพื่อหลบหนีการถูกกดขี่ข่มเหงในเมียนมาหรือค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ […]

โรฮิงญาในบังกลาเทศดีใจสหรัฐชี้ขาดเมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ธากา 22 มี.ค. – ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศแสดงความยินดีที่รัฐบาลสหรัฐประกาศว่า การที่รัฐบาลทหารเมียนมาใช้ความรุนแรงกดขี่ชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญาถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ชายชาวโรฮิงญาวัย 60 ปี ที่ลี้ภัยอยู่ในค่ายแห่งหนึ่งในเขตค็อกบาซาร์ของบังกลาเทศเผยว่า ดีใจมากที่นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐประกาศขณะกล่าวสุนทรพจน์ที่พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สหรัฐในกรุงวอชิงตันเมื่อวันจันทร์ว่า การปราบปรามของเมียนมาถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยอ้างตามคำให้การที่มีการยืนยันเรื่องกองทัพเมียนมากระทำความโหดร้ายกับพลเรือนอย่างกว้างขวางและเป็นระบบต่อชาวโรฮิงญา ชายคนนี้กล่าวว่า รัฐบาลเมียนมาทรมานชาวโรฮิงญาและชุมชนต่าง ๆ มานาน 60 ปีแล้วเริ่มตั้งแต่ปี 2505 เขาเชื่อว่าการประกาศของสหรัฐเปิดทางให้ประชาคมโลกสามารถดำเนินการกับเมียนมาได้ ด้านศูนย์เพื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศึกษา มหาวิทยาลัยธากาในบังกลาเทศมองว่า การประกาศของสหรัฐถือเป็นก้าวเชิงบวก แต่จำเป็นต้องดูต่อไปว่า จะมีก้าวที่เป็นรูปธรรมติดตามมาหรือไม่ ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าการประกาศของสหรัฐจะทำให้ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาได้รับการรับรองสถานภาพพลเมืองในเมียนมา คำถามพื้นฐานคือผู้ลี้ภัยที่อยู่ตามค่ายต่าง ๆ ในเขตค็อกบาซาร์ราว 1 ล้านคนจะได้กลับเมียนมาอย่างไรและเมื่อใด ทางศูนย์คาดว่า สหรัฐอาจใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงต่อเมียนมาเป็นมาตรการขั้นถัดไป และต้องรอดูว่าสหรัฐจะสนับสนุนกระบวนการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกในกรุงเฮกที่กำลังไต่สวนเมียนมาในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาตามที่แกมเบียยื่นฟ้องหรือไม่.-สำนักข่าวไทย

รัฐบาลไบเดนชี้ขาดเมียนมา “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” โรฮิงญา

วอชิงตัน 21 มี.ค.- รัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐชี้ขาดอย่างเป็นทางการว่า การที่รัฐบาลทหารเมียนมาใช้ความรุนแรงกับชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ รอยเตอร์อ้างเจ้าหน้าที่สหรัฐที่ขอสงวนนามว่า นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐจะประกาศการตัดสินใจในวันจันทร์ตามเวลาสหรัฐที่พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สหรัฐในกรุงวอชิงตัน ซึ่งกำลังจัดแสดงนิทรรศการว่าด้วยสถานการณ์เลวร้ายของชาวโรฮิงญา นายบลิงเคนให้คำมั่นขณะรับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม 2564 ว่าจะทบทวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญาในเมียนมา หลังจากนายไมค์ พอมเพโอ รัฐมนตรีต่างประเทศคนก่อนหน้าเขาไม่ตัดสินใจในเรื่องนี้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐและบริษัทกฎหมายแห่งหนึ่งรวบรวมหลักฐานนำเสนอให้รัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ในเวลานั้นเร่งยอมรับว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องร้ายแรง เจ้าหน้าที่สหรัฐเผยว่า นายบลิงเคนได้สั่งการให้วิเคราะห์เชิงกฎหมายและข้อเท็จจริง ผลการวิเคราะห์สรุปว่า กองทัพเมียนมากำลังฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และรัฐบาลสหรัฐเชื่อว่าการชี้ขาดอย่างเป็นทางการจะเพิ่มแรงกดดันของนานาชาติในการทำให้รัฐบาลทหารเมียนมาต้องรับโทษและทำผิดได้ยากขึ้น คณะทำงานค้นหาความจริงของสหประชาชาติสรุปในปี 2561 ว่า ปฏิบัติการทางทหารในปี 2560 ที่รัฐบาลทหารเมียนมาอ้างว่าเป็นการปราบปรามกลุ่มก่อการร้าย มีการกระทำที่เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocidal acts) แต่รัฐบาลสหรัฐในเวลานั้นระบุว่า เป็นการกวาดล้างชาติพันธุ์ (ethnic cleansing) ซึ่งไม่มีคำนิยามทางกฎหมายในกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ ทั้งนี้นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สหรัฐใช้คำว่า “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” อย่างเป็นทางการเพียง 6 ครั้งกับเหตุสังหารหมู่ในบอสเนีย, รวันดา, อิรักและดาร์ฟูร์, เหตุกลุ่มรัฐอิสลามปองร้ายชาวยาซิดีและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ และการที่จีนปฏิบัติไม่ดีต่อชาวอุยกูร์และชาวมุสลิม.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 31
...