พล.อ.ประวิตร ระบุ จนท.เร่งสอบโรฮีนจาลักลอบเข้าเมือง
ทำเนียบ 7 ม.ค.-พล.อ.ประวิตร ระบุ จนท.เร่งสอบโรฮิงญาลักลอบเข้าเมือง พร้อมให้ผู้ว่าฯ ดูแลประชาชน รวมตัวทำหนังสือขอเดินทางข้ามจังหวัด
ทำเนียบ 7 ม.ค.-พล.อ.ประวิตร ระบุ จนท.เร่งสอบโรฮิงญาลักลอบเข้าเมือง พร้อมให้ผู้ว่าฯ ดูแลประชาชน รวมตัวทำหนังสือขอเดินทางข้ามจังหวัด
ธากา 28 ธ.ค. – บังกลาเทศจะย้ายชาวโรฮิงญากลุ่มที่สองในค่ายผู้ลี้ภัยไปยังเกาะที่มีพื้นที่ลุ่มต่ำในอ่าวเบงกอล แม้ว่ากลุ่มสิทธิเรียกร้องให้บังกลาเทศหยุดการย้ายชาวโรฮิงญาเพราะไม่ปลอดภัย เจ้าหน้าที่บังกลาเทศเผยว่า ทางการบังกลาเทศจะย้ายชาวโรฮิงญากว่า 1,100 คน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่หนีข้ามพรมแดนเมียนมาเข้ามาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยไปยังเกาะพาชันจาร์ ทางการเตรียมรถประจำทางและรถบรรทุกหลายคันไว้พร้อมสำหรับการย้ายชาวโรฮิงญาและขนสัมภาระต่าง ๆ ไปยังท่าเรือจิตตะกองในวันนี้ จากนั้นจะย้ายลงเรือกองทัพเรือไปยังเกาะพาชันจาร์ในวันพรุ่งนี้ ทางการบังกลาเทศเพิ่งย้ายชาวโรฮิงญากลุ่มแรกกว่า 1,600 คนไปยังเกาะดังกล่าวเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ด้านหน่วยงานด้านมนุษยธรรมและกลุ่มสิทธิได้ท้วงติงการจัดหาที่อยู่ใหม่ให้ชาวโรฮิงญา โดยระบุว่า เกาะดังกล่าวตั้งอยู่ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ เสี่ยงต่ออุทกภัยและพายุไซโคลนบ่อยครั้ง รวมถึงอาจจมอยู่ใต้น้ำในช่วงที่มีคลื่นสูง แต่ทางการบังกลาเทศแย้งว่า ทางการได้สร้างทำนบกันคลื่นยาว 12 กิโลเมตรป้องกันปัญหาน้ำท่วมเกาะ พร้อมกับสร้างบ้านให้ชาวโรฮิงญาอยู่ได้ราว 100,000 คน และการเดินทางย้ายที่อยู่อาศัยเป็นไปตามความสมัครใจของชาวโรฮิงญาโดยที่ทางการไม่ได้บังคับขู่เข็ญ อย่างไรก็ดี ผู้ลี้ภัยและเจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรมหลายรายเผยว่า ชาวโรฮิงญาบางส่วนถูกบีบบังคับให้ย้ายไปยังเกาะพาชันจาร์ที่มีพื้นที่เพียง 52 ตารางกิโลเมตร และก่อตัวจากตะกอนเทือกเขาหิมาลัยในปี 2549 ที่โผล่พ้นน้ำเมื่อ 20 ปีก่อน โดยที่ไม่เคยมีใครอยู่อาศัยมาก่อน ชาวโรฮิงญากว่า 730,000 คนหนีข้ามพรมแดนมาจากเมียนมาในปี 2560 หลังเกิดเหตุกวาดล้างชาวโรฮิงญาภายใต้การนำของกองทัพเมียนมาที่องค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นระบุว่ามีเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่กองทัพเมียนมาออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่ากองทัพตั้งเป้าโจมตีทหารโรฮิงญาที่โจมตีสำนักงานของตำรวจเมียนมา. -สำนักข่าวไทย
บังกลาเทศส่งผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาลงเรือไปยังเกาะห่างไกล แม้จะมีการประท้วง
บังกลาเทศเริ่มอพยพชาวโรฮิงญาในค่ายผู้ลี้ภัยไปยังเกาะที่สหประชาชาติและกลุ่มสิทธิติงว่าเป็นที่พื้นที่ลุ่มต่ำ เสี่ยงภัยน้ำท่วมและไซโคลน
กองทัพเมียนมาอ้างว่า พลทหาร 2 นายที่พูดเรื่องรับคำสั่งสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาถูกกลุ่มติดอาวุธในรัฐยะไข่ลักพาตัวและข่มขู่ให้พูด ด้านกลุ่มติดอาวุธแย้งว่า ทั้งคู่หนีทัพและสมัครใจสารภาพเอง
กลุ่มสิทธิเปิดเผยคลิปทหารเมียนมาหนีทัพ 2 นายที่อ้างว่า ถูกสั่งให้สังหารหมู่และข่มขืนชาวโรฮิงญาเมื่อปี 2560
ตำรวจเมียนมาที่พากลุ่มชาวโรฮิงญาไปยังศูนย์กักโรคในเขตอิรวดี ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเมื่อปลายเดือนก่อน ตรวจพบเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ผู้อพยพชาวโรฮิงญาเกือบ 300 คน มาขึ้นฝั่งที่เกาะสุมาตราของอินโดนีเซียเมื่อตอนเช้าวันนี้
กัวลาลัมเปอร์ 27 ก.ค.- เจ้าหน้าที่มาเลเซียแจ้งว่า พบชาวโรฮิงญา 26 คนที่เดิมคาดว่าจมน้ำเสียชีวิตนอกชายฝั่งมาเลเซียแล้ว ทั้งหมดยังมีชีวิตอยู่โดยหลบซ่อนตัวอยู่บนเกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง หน่วยยามฝั่งมาเลเซียเผยว่า เจ้าหน้าที่เห็นชาวโรฮิงญาคนหนึ่งว่ายน้ำขึ้นฝั่งมาจากเรือที่ลอยลำนอกชายฝั่งตะวันตกของลังกาวี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเมื่อวันเสาร์ เดิมคิดว่าคนที่เหลือจมน้ำเสียชีวิตหมดแล้ว แต่เมื่อค้นหาจึงพบผู้รอดชีวิตกลุ่มหนึ่งหลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้ของเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน ทั้งหมดถูกควบคุมตัวและต้องรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาก่อนนำตัวส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองต่อไป ทางการเชื่อว่า แก๊งค้ามนุษย์ย้ายชาวโรฮิงญากลุ่มนี้มาจากเรือลำใหญ่ที่นำชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนมาจากบังกลาเทศ โดยให้ลงเรือลำเล็กเพื่อลอบขึ้นฝั่งมาเลเซีย และใช้เรือประมงบังหน้าเป็นคนพาขึ้นฝั่ง หวังตบตาเจ้าหน้าที่ เดือนที่แล้วมาเลเซียควบคุมตัวชาวโรฮิงญา 269 คน ที่ขึ้นฝั่งเกาะลังกาวีมาพร้อมกับเรือที่เสียหาย เจ้าหน้าที่เผยในเวลานั้นว่า คาดว่ามีจำนวนหนึ่งเสียชีวิตระหว่างการล่องเรือที่กินเวลานานถึง 4 เดือน ขณะที่นายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยาสซินกล่าวว่า มาเลเซียไม่สามารถรับชาวโรฮิงญาเข้าประเทศได้อีกแล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจเสียหายหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 มาเลเซียเป็นจุดหมายหลักของชาวโรฮิงญาที่หนีจากค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศหวังมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการทำงานค่าแรงต่ำในภาคการเกษตรและการก่อสร้าง.-สำนักข่าวไทย
เจ้าหน้าที่ยามฝั่งมาเลเซียกล่าวว่า ชายชาวโรฮิงญา วัย 27 ปี น่าจะเป็นผู้รอดชีวิตรายเดียวจากเรือที่บรรทุกผู้อพยพชาวโรฮิงญา 20 กว่าคนที่เชื่อว่าประสบปัญหา
กองทัพเมียนมา แถลงวันนี้ว่า ศาลทหารที่พิจารณาคดีการกระทำโหดร้ายรุนแรงต่อชาวมุสลิม โรฮิงญา ในรัฐยะไข่ ได้ลงความเห็นว่า ทหารเมียนมา 3 นาย มีความผิดในเรื่องนี้
เมียนมาแจ้งว่า 23 คนที่ไทยเนรเทศเมื่อต้นเดือนพบเชื้อไวรัสโคโรนาระหว่างกักดูอาการในรัฐกะเหรี่ยง ด้านโฆษก ศบค.เผยไทยสุ่มตรวจแรงงานต่างด้าวแล้วไม่พบผู้ติดเชื้อ