อังกฤษได้รับสถานะ “คู่เจรจา” ของอาเซียน

อังกฤษได้รับสถานะคู่เจรจาของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งของรัฐบาลอังกฤษในการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นกับประเทศในทวีปเอเชียหลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หรือ อียู

อาเซียนตั้ง รมว. ต่างประเทศบรูไนเป็นทูตพิเศษเมียนมา

จาการ์ตา 4 ส.ค. – สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ระบุในแถลงการณ์วันนี้ว่า ได้แต่งตั้งนายเอรีวัน ยูซอฟ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของบรูไนคนที่สองเป็นทูตพิเศษอาเซียนประจำเมียนมา อาเซียนระบุในแถลงการณ์หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนว่า นายเอรีวัน ยูซอฟจะมีบทบาทในการสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นระหว่างฝ่ายต่าง ๆ และเดินหน้าตามหลักฉันทามติ 5 ประการที่อาเซียนตกลงกันไว้เมื่อเดือนเมษายน ภายในกรอบเวลาที่ชัดเจนเพื่อแก้วิกฤตการณ์ในเมียนมา ขณะที่สำนักข่าวรอยเตอร์สเคยรายงานก่อนหน้านี้ว่า กองทัพเมียนมา ซึ่งก่อเหตุยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อ 6 เดือนก่อน ได้สนับสนุนให้นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงต่างประเทศของไทย เข้ารับตำแหน่งดังกล่าว ทั้งนี้ การแต่งตั้งทูตพิเศษอาเซียนประจำเมียนมากลายเป็นประเด็นถกเถียงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาท่ามกลางความเห็นที่แตกต่างกันในอาเซียน ด้านสหประชาชาติ หรือยูเอ็น และอีกหลายประเทศ เช่น สหรัฐและจีน ได้เรียกร้องให้กลุ่มประเทศสมาชิก 10 ชาติของอาเซียน ซึ่งรวมถึงเมียนมา ใช้ความพยายามทางการทูตเพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพในเมียนมา.-สำนักข่าวไทย

สหรัฐว่าแผนเลือกตั้งของรัฐบาลทหารเมียนมาแค่ถ่วงเวลา

วอชิงตัน 3 ส.ค. – สหรัฐระบุว่า แผนจัดการเลือกตั้งภายใน 2 ปีของรัฐบาลทหารเมียนมาเป็นเพียงแค่การถ่วงเวลา และประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน จำเป็นต้องเร่งกดดันเมียนมาให้ปฏิบัติตามหลักฉันทามติ 5 ประการ เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศของสหรัฐกล่าวกับผู้สื่อข่าวก่อนถึงการประชุมออนไลน์ระหว่างนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐกับรัฐมนตรีต่างประเทศชาติสมาชิกอาเซียน ซึ่งรวมถึงเมียนมาในสัปดาห์นี้ว่า รัฐบาลทหารเมียนมาแค่ถ่วงเวลาและต้องการยึดครองอำนาจต่อไปเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง อาเซียนจึงต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างยิ่ง โดยการเร่งรัดให้เมียนมาปฏิบัติตามข้อตกลงตามหลักฉันทามติ 5 ประการที่ได้ลงนามร่วมกันเพื่อยุติปัญหาวุ่นวายในเมียนมา ทั้งยังระบุเพิ่มเติมว่า สหรัฐกับประเทศสมาชิกอาเซียนมีวาระการประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ไม่ได้เปิดเผยถึงประเด็นอื่น ๆ อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวคาดว่า นายบลิงเคนจะให้ข้อมูลแก่รัฐมนตรีอาเซียนเกี่ยวกับการสนับสนุนของสหรัฐเพื่อยับยั้งการระบาดรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงปัญหาที่สหรัฐมองว่าจีนได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ฮ่องกง และทิเบต รอยเตอร์มองว่า สหรัฐกำลังสื่อผ่านการเข้าร่วมประชุมระดับภูมิภาคติดต่อกัน 5 วันของนายบลิงเคนว่า รัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐจริงจังในการมีส่วนร่วมกับชาติพันธมิตรเพื่อต่อต้านอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีน โดยที่นายบลิงเคนจะมีกำหนดเข้าร่วมประชุมทางไกลในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐ และกลุ่มมิตรประเทศลุ่มน้ำโขงในสัปดาห์นี้อีกด้วย. -สำนักข่าวไทย

อินโดนีเซียเรียกร้องเมียนมาให้ยอมรับทูตอาเซียน

นางเรทโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าววันนี้เรียกร้องให้เมียนมาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้แทนพิเศษของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน พร้อมกับระบุว่า มีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแผนการส่งเสริมการเจรจาระหว่างฝ่ายที่เห็นต่างในเมียนมา

ผู้นำเมียนมารับปากเลือกตั้ง-ร่วมมือกับอาเซียน

เนปิดอว์ 1 ส.ค.- พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำกองทัพเมียนมารับปากว่า จะจัดการเลือกตั้งใหม่แบบมีหลายพรรคการเมือง และรัฐบาลของเขาพร้อมทำงานร่วมกับทูตพิเศษที่เสนอชื่อโดยสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่ายแถลงทางโทรทัศน์ในวันนี้ หลังจากรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ว่า เมียนมาพร้อมทำงานตามความร่วมมือกับอาเซียนภายในกรอบของอาเซียน รวมถึงการเจรจากับทูตพิเศษอาเซียนในเมียนมา ผู้นำเมียนมากล่าวเรื่องนี้ก่อนที่รัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมาจะประชุมกันในวันจันทร์ ที่ประชุมคาดหวังว่า จะสามารถตกลงเลือกผู้ทำหน้าที่ทูตพิเศษ ยุติเหตุรุนแรงและส่งเสริมการเจรจาระหว่างกองทัพกับฝ่ายต่อต้านในเมียนมา กลุ่มสิทธิอ้างว่า นับตั้งแต่เกิดรัฐประหารมีคนถูกสังหารกว่า 900 คน และจับกุมหลายพันคน ธนาคารโลกออกรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมเตือนว่า ผลจากการรัฐประหารและโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระบาด อาจทำให้เศรษฐกิจเมียนมาหดตัวมากถึงร้อยละ 18 ในปีนี้ และมีคนยากจนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เมียนมามียอดติดเชื้อสะสมกว่า 299,100 คน เสียชีวิตกว่า 9,300 คน.-สำนักข่าวไทย

รัฐบาลทหารเมียนมาขอความร่วมมือนานาชาติแก้วิกฤติโควิด

รัฐบาลทหารเมียนมากำลังแสวงหาความร่วมมือกับชุมชนระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้นในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะที่เมียนมากำลังเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

รมว. กลาโหมสหรัฐจะเยือนฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม

สถานทูตสหรัฐในกรุงฮานอย ของเวียดนาม กล่าวว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐแจ้งว่า นายลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ จะเดดินทางเยือนหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนนี้ ซึ่งได้แก่ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม

3 ประเทศขานรับเร่งปรับใช้รองรับ “e-Form D”แบบอิเล็กทรอนิกส์

3 ประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว- กัมพูชา-เมียนมาขานรับเร่งปรับหันมาใช้รองรับ “e-Form D” เต็มรูปแบบในการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้กรอบอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าผ่านแบบอิเล็กทรอนิกส์ ย้ำ 3 ประเทศกำลังเร่งดำเนินการคาดอนาคตเอกชนจะได้รับความสะดวกการค้าเพิ่มมากขึ้น

สหรัฐเรียกร้องอาเซียนจัดการปัญหาในเมียนมา

ฮานอย 14 ก.ค. – นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ระบุว่า สหรัฐรู้สึกกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ในเมียนมา และเรียกร้องให้สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ดำเนินการเพื่อยุติความรุนแรงและฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยในเมียนมา ในระหว่างการประชุมทางไกลร่วมกับคณะรัฐมนตรีต่างประเทศของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน นายเนด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐระบุในแถลงการณ์ว่า นายบลิงเคนเรียกร้องให้อาเซียนเร่งดำเนินการตามหลักฉันทามติ 5 ประการในทันทีและแต่งตั้งทูตพิเศษเพื่อประสานงานแก้ปัญหาวิกฤตในเมียนมา ทั้งยังขอให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังอย่างไม่ยุติธรรมทั้งหมดในเมียนมา และเร่งฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยในเมียนมาด้วย นอกจากนี้ นายบลิงเคนยังเน้นย้ำว่า สหรัฐปฏิเสธข้ออ้างสิทธิทางทะเลโดยมิชอบด้วยกฎหมายในทะเลจีนใต้ และระบุว่า สหรัฐขอยืนเคียงข้างกลุ่มผู้อ้างสิทธิในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องเผชิญกับการบีบบังคับจากจีน นายฮิชามมุดดิน ฮุสเซน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของมาเลเซียกล่าวว่า เขาหวังว่าการประชุมในวันนี้จะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงพันธสัญญาที่สดใสจากความร่วมมือระดับพหุภาคีของสหรัฐในภูมิภาคนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าใจดีว่ารัฐบาลสหรัฐชุดก่อนไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบพหุภาคีมากนัก แต่เป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน กลับยอมรับความร่วมมือในระดับพหุภาคี ทั้งยังระบุเพิ่มเติมว่า หนทางดังกล่าวเป็นทางเดียวที่จะสร้างความมั่นคง สันติภาพ ความมั่งคั่ง และเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่จีนระบุวันนี้ว่า จีนไม่เห็นด้วยอย่างมากกับจุดยืนที่ผิดของสหรัฐจากกรณีที่นายบลิงเคนระบุว่า สหรัฐปฏิเสธข้ออ้างสิทธิทางทะเลโดยมิชอบด้วยกฎหมายในทะเลจีนใต้ ทั้งนี้ นายบลิงเคนได้เข้าร่วมการประชุมทางไกลผ่านระบบออนไลน์กับคณะรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ประธานาธิบดีไบเดนเข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐในเดือนมกราคม และมีขึ้นท่ามกลางความวิตกกังวลในกลุ่มนักการทูตและกลุ่มอื่น ๆ ว่า รัฐบาลสหรัฐไม่ได้ให้ความสำคัญมากพอกับภูมิภาคที่สำคัญต่อยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคของตนเพื่อตอบโต้จีนที่กำลังแผ่ขยายอำนาจมากขึ้น.-สำนักข่าวไทย

สิงคโปร์ระบุอาเซียนเล็งเร่งแผนยุติวิกฤติในเมียนมา

นายวิเวียน บาลากริชนัน รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ กล่าววานนี้ว่า สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน กำลังทำงานเพื่อเร่งให้มีการริเริ่มปฎิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อ ที่ผู้นำอาเซียนตกลงร่วมกันในการแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเมียนมา

รัสเซียหนุนแผนอาเซียนยุติวิกฤตเมียนมา

รัสเซียสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อความพยายามทางการทูตของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ที่จะหาทางยุติวิกฤตเมียนมา และได้แสดงท่าทีเดียวกันนี้ต่อผู้นำกองทัพเมียนมาแล้ว

1 18 19 20 21 22 51
...