อนามัยโลกเผยวัคซีนโควิดกันติดเชื้อได้แค่ 40%

เจนีวา 25 พ.ย. – องค์การอนามัยโลกระบุเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ราวร้อยละ 40 พร้อมทั้งเตือนให้ผู้คนทั่วโลกเลิกเข้าใจผิดว่าการฉีดวัคซีนโควิดทำให้ใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องระมัดระวังตัว ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดครบโดสล้วนเข้าใจผิดว่าการฉีดวัคซีนทำให้ใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องระมัดระวังตัว แต่ที่จริงแล้วผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดและแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ยิ่งเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาแพร่ระบาดได้มากขึ้น ก็หมายความว่าวัคซีนโควิดมีประสิทธิภาพป้องกันลดลง ดร.ทีโดรส ยังระบุว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลกกำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าวัคซีนจะทำให้การระบาดของโรคโควิด-19 สิ้นสุดลง และผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค แม้วัคซีนจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ 100% ทั้งยังอ้างข้อมูลที่ระบุว่า ก่อนหน้านี้ วัคซีนโควิดมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อได้ราวร้อยละ 60 แต่หลังเกิดการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาก็มีประสิทธิภาพลดเหลือเพียงร้อยละ 40 เท่านั้น ดร.ทีโดรส ยังเน้นย้ำว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดครบโดสหมายถึงผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำต่ออาการป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 แต่ยังคงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดและแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ดังนั้น ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสจึงต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด และไม่ควรออกไปพบผู้อื่นนอกบ้านโดยไม่จำเป็น.-สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกหวั่นยุโรปเสียชีวิตจากโควิดเพิ่ม 700,000 คน

องค์การอนามัยโลกระบุเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า ทวีปยุโรปยังคงเผชิญกับการระบาดรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 โดยคาดว่าอาจมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกราว 700,000 คนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

WHO เตือนโควิดระบาดหนักในยุโรป-เสียชีวิตครึ่งล้านปีหน้า

องค์การอนามัยโลกเตือนว่า ยอดผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 รายใหม่ที่พุ่งสูงขึ้นในทวีปยุโรปเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวล และอาจทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 500,000 คนในทวีปดังกล่าวภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

อนามัยโลกรับรองวัคซีนโควิดของอินเดียใช้ฉุกเฉิน

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองการใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาโดยภารัต ไบโอเทค บริษัทเวชภัณฑ์ของอินเดีย เป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นการเปิดทางให้วัคซีนดังกล่าวเป็นที่ยอมรับในประเทศยากจน

WHO หวังซื้อยารักษาโควิดคอร์สละ 10 USD

บรัสเซลส์ 19 ต.ค.- รอยเตอร์อ้างร่างเอกสารว่า โครงการนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ต้องการให้ประเทศยากจนเข้าถึงวัคซีน การตรวจและยารักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ต้องการได้ยารักษาในราคาคอร์สละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 330 บาท) รอยเตอร์รายงานว่า ร่างเอกสารลงวันที่ 13 ตุลาคมได้กำหนดเป้าหมายของโครงการตัวเร่งในการเข้าถึงเครื่องมือโควิด-19 (ACT-A) จนถึงเดือนกันยายน 2565 ว่า ต้องการส่งมอบชุดตรวจให้แก่ประเทศยากจนประมาณ 1,000 ล้านชุด และจัดหายารักษาให้แก่ผู้ติดเชื้อสูงสุด 120 ล้านคนจากทั้งหมด 200 ล้านคนที่คาดว่าจะเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ร่างเอกสารไม่ได้ระบุชื่อ โมลนูพิราเวียร์ ซึ่งเป็นยารักษาโควิดที่อยู่ระหว่างการทดลองของเมอร์ค บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ แต่คาดหวังไว้ว่า จะสามารถซื้อยาต้านไวรัสชนิดรับประทานแบบใหม่ให้แก่ผู้ป่วยอาการปานกลางได้ในราคาคอร์สละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ ตั้งเป้าบรรลุข้อตกลงซื้อยาภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน และหวังว่าจะมียาให้จัดสรรตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2565 รอยเตอร์ระบุว่า โครงการนี้กำลังเจรจาซื้อยารักษากับเมอร์คและบริษัทผู้ผลิตยาสามัญ หากซื้อได้ในราคาคอร์สละ 10 ดอลลาร์สหรัฐจะถือว่าถูกมาก เพราะสหรัฐตกลงจะซื้อในราคาคอร์สละ 700 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 23,320 […]

สหรัฐจะยอมรับวัคซีนโควิดที่องค์การอนามัยโลกรับรอง

สำนักงานป่องกันและควบคุมโรคของสหรัฐ หรือ ซีดีซี กล่าวในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า สหรัฐจะยอมรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศที่ฉีดวัคซีนที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านยารักษาโรคของสหรัฐ หรือ องค์การอนามัยโลกให้การรับรอง

อนามัยโลกรับรองวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียขนานแรกของโลก

องค์การอนามัยโลกประกาศรับรองวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียขนานแรกของโลก และแนะนำฉีดวัคซีนดังกล่าวให้เด็กทั่วทวีปแอฟริกาเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรีย

เผยประเทศในทวีปแอฟริกาฉีดวัคซีนโควิดได้แค่ 2%

บราซซาวิล 1 ต.ค. – องค์การอนามัยโลกเผยเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่นว่า ประเทศในทวีปแอฟริกากว่าครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 54 ประเทศมีอัตราฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ครบสองโดสเพียงร้อยละ 2 หรือต่ำกว่านั้น องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีเพียง 15 ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีอัตราฉีดวัคซีนครบสองโดสไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของประชากรแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายอัตราฉีดวัคซีนร้อยละ 10 ทั่วโลกภายในวันที่ 30 กันยายนที่สมัชชาอนามัยโลกตั้งไว้เมื่อเดือนพฤษภาคม ขณะที่นายริชาร์ด มิฮิโก ผู้ประสานงานการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดขององค์การอนามัยโลกประจำทวีปแอฟริกา กล่าวว่า ข้อมูลล่าสุดชี้ให้เห็นว่าทวีปแอฟริกามีอัตราฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายฉีดวัคซีนครบสองโดสร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ที่องค์การอนามัยโลกตั้งไว้ แม้ทวีปแอฟริกาจะได้รับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น แต่แผนส่งมอบวัคซีนที่คลุมเครือยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ทำให้การฉีดวัคซีนของทวีปดังกล่าวไม่คืบหน้า ทั้งนี้ ทวีปแอฟริกาได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 23 ล้านโดสในเดือนกันยายน ซึ่งเพิ่มขึ้น 10 เท่าจากจำนวนวัคซีนที่ได้รับในเดือนมิถุนายน องค์การอนามัยโลกระบุว่า ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกาที่มีอัตราฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดสูงกว่าร้อยละ 10 เป็นประเทศที่มีประชากรน้อย เช่น มอริเชียส ซึ่งมีประชากร 1.2 ล้านคน และเซเชลส์ ซึ่งมีประชากร 98,000 คน มีอัตราฉีดวัคซีนสูงกว่าร้อยละ […]

อนามัยโลกปรับเกณฑ์ PM2.5 ใหม่สกัดมลพิษทางอากาศ

เจนีวา 23 ก.ย. – องค์การอนามัยโลกปรับระดับเกณฑ์คุณภาพอากาศใหม่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2548 เพื่อกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ หันมาใช้พลังงานสะอาดและป้องกันการเสียชีวิตหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศ โดยพบว่ามลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คนถึงปีละกว่า 7 ล้านราย องค์การอนามัยโลกได้ประกาศปรับระดับเกณฑ์คุณภาพอากาศครั้งใหม่ เช่น ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือพีเอ็ม และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ที่เป็นผลมาจากการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อช่วยรักษาชีวิตผู้คนหลายล้านคน เกณฑ์ดังกล่าวกำหนดให้ค่ามาตรฐานในบรรยากาศของฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือพีเอ็ม 2.5 เฉลี่ยรายปีไม่ควรเกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งปรับลดลงจากเกณฑ์เดิมที่ไม่ควรเกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าการสูดอากาศที่มีค่าฝุ่นพีเอ็มระดับต่ำในระยะยาวยังคงมีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคปอด โรคหลอดเลือดสมอง และส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพ ในขณะเดียวกัน ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เผยว่า มลพิษทางอากาศได้คร่าชีวิตผู้คนปีละกว่า 7 ล้านรายทั่วโลก และมีผลวิจัยที่ชี้ว่า แม้มลพิษทางอากาศจะอยู่ในระดับต่ำมาก แต่ก็ส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่ระบบสมองไปจนถึงทารกที่กำลังเติบโตอยู่ในครรภ์มารดา องค์การอนามัยโลกหวังว่าการปรับระดับเกณฑ์คุณภาพอากาศในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้ประเทศสมาชิก 194 ประเทศดำเนินการเพื่อลดการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ยังส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย ขณะนี้ ประเทศต่าง ๆ กำลังเผชิญกับแรงกดดันในการให้คำมั่นเกี่ยวกับแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนเปิดฉากการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์ในเดือนพฤศจิกายนนี้.-สำนักข่าวไทย

ชี้วัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นยังไม่จำเป็นต่อประชาชนทั่วไป

วอชิงตัน 14 ก.ย. – คณะนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำที่รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานอาหารและยาสหรัฐ หรือเอฟดีเอ และเจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกระบุในวารสารการแพทย์เมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เข็มที่สามเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันยังไม่จำเป็นต่อประชาชนทั่วไป คณะนักวิทยาศาสตร์ระบุในวารสารการแพทย์ ‘แลนเซต’ ว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับความจำเป็นของการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือระยะเวลาในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ควรขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางคลินิกหรือข้อมูลด้านระบาดวิทยาอย่างรอบคอบ ขณะนี้ ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไป เนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนต้านโรคโควิดยังคงอยู่ในระดับสูง ดังนั้น วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจช่วยรักษาชีวิตผู้คนได้เป็นจำนวนมาก หากนำไปฉีดให้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ทั้งนี้ คณะผู้เขียนบทความดังกล่าวประกอบด้วยมาริยง กรูเบอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและตรวจสอบวัคซีน และฟิล ครอส ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเดียวกันของเอฟดีเอ โดยที่ทั้งสองคนได้วางแผนลาออกจากเอฟดีเอในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ดี ทั้งสองคนระบุว่า ประชาชนบางคน เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น นอกจากนี้ บทความดังกล่าวยังมีผู้เขียนรายอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงนักวิทยาศาสตร์ระดับสูงขององค์การอนามัยโลก อย่างไรก็ดี บทความดังกล่าวถือว่าขัดแย้งกับแผนของรัฐบาลสหรัฐที่จะเริ่มฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ประชาชนที่ฉีดวัคซีนครบสองโดสเร็วสุดภายในสัปดาห์หน้า โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหน่วยงานกำกับดูแลด้านสุขภาพของสหรัฐในวันที่ 17 กันยายนนี้.-สำนักข่าวไทย

อนามัยโลกวอนประเทศร่ำรวยหยุดฉีดวัคซีนเข็มสาม

เจนีวา 9 ก.ย. – องค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ระงับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ไปจนถึงสิ้นปีนี้เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสได้รับวัคซีนมากขึ้น ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก แถลงเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า องค์การอนามัยโลกตั้งเป้าให้ทุกประเทศมีอัตราฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สูงกว่าร้อยละ 10 จากประชากรทั้งหมดของแต่ละประเทศภายในสิ้นเดือนกันยายน ประเทศที่มีรายได้สูงเกือบร้อยละ 90 ต่างบรรลุเป้าหมายดังกล่าวแล้ว แต่ยังไม่มีประเทศรายได้ต่ำแม้แต่เพียงประเทศเดียวที่มีอัตราฉีดวัคซีนถึงร้อยละ 10 นอกจากนี้ ประเทศที่มีรายได้สูงยังบริจาควัคซีนไม่ถึงร้อยละ 15 จากปริมาณวัคซีนที่พวกเขาสัญญาว่าจะบริจาคให้โครงการโคแวกซ์ขององค์การอนามัยโลก ดร. ทีโดรส ยังระบุว่า องค์การอนามัยโลกไม่อยากได้คำสัญญาอีกต่อไป แต่ต้องการเพียงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เท่านั้น และเรียกร้องให้ประเทศที่มีรายได้สูงระงับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันไปจนถึงสิ้นปีนี้เป็นอย่างน้อย เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกประเทศมีอัตราฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนร้อยละ 40 จากประชากรทั้งหมดของแต่ละประเทศ ขณะนี้ ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศอื่น ๆ เริ่มเดินหน้าฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มที่ 3 ให้แก่ประชาชนท่ามกลางสถานการณ์ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาที่แพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว ก่อนหน้านี้ องค์การอนามัยโลกได้เรียกร้องเมื่อเดือนก่อนให้ทั่วโลกระงับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 […]

WHO จับตาเชื้อโควิดสายพันธุ์ “มิว” ในโคลอมเบีย

องค์การอนามัยโลกกำลังเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งพบครั้งแรกในโคลอมเบียเมื่อเดือนมกราคม และจัดอยู่ในกลุ่มเชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่น่าจับตา

1 6 7 8 9 10 28
...