เตือนภัยมิจฉาชีพ หลอกโอนเงินเข้าสภากาชาดไทย
สภากาชาดไทย เตือนภัย! ขณะนี้มีแก๊งมิจฉาชีพเข้าไปในไลน์กลุ่มทำบุญ หลอกให้โอนเงินเข้าสภากาชาดไทย
สภากาชาดไทย เตือนภัย! ขณะนี้มีแก๊งมิจฉาชีพเข้าไปในไลน์กลุ่มทำบุญ หลอกให้โอนเงินเข้าสภากาชาดไทย
11 ตุลาคม 2566 สายกล่องสุ่มต้องระวัง ! เพราะตอนนี้มีมิจฉาชีพได้เกาะกระแสเทรนด์กล่องสุ่ม ด้วยการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมให้คล้ายกับเพจชื่อดังที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก และโพสต์ข้อความในลักษณะเชิญชวนให้ร่วมกิจกรรมซื้อกล่องสุ่มในราคา กล่องละประมาณ 1,000 บาท โดยอ้างว่ามีสิทธิที่จะได้รับรางวัลใหญ่ต่าง ๆ เช่น เงินสด รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ทองคำ เป็นต้น หลังจากที่ผู้เสียหายหลงเชื่อซื้อกล่องสุ่มดังกล่าวไปแล้ว มิจฉาชีพจะส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์มาแจ้งผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลเป็นทองคำ น้ำหนัก 5 บาท แต่ผู้เสียหายจะต้องทำการโอนเงินค่าภาษี 5,000 บาท และค่าประกันทองคำ 9,900 บาท มาให้เสียก่อนถึงจะได้รับทองคำดังกล่าว นอกจากนี้มิจฉาชีพยังแจ้งว่า หากผู้เสียหายเลือกรับเป็นเงินสดแทนทองคำจะได้เงินสด จำนวน 165,000 บาท และต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมอีก 12,000 บาท ผู้เสียหายบางรายหลงเชื่ออยากได้ทองคำจึงโอนไปให้มิจฉาชีพสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨ขอเตือน ก่อนร่วมกิจกรรมใด ๆ ขอให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า เพจเฟซบุ๊กนั้นเป็นของจริง รวมถึงระมัดระวังการหลงเชื่อข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ที่แจ้งว่าได้รับรางวัลหรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ หากมีการให้โอนเงินไปก่อนที่จะได้รับรางวัล ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพอย่างแน่นอน […]
11 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำกิจกรรม หรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย หลอกลวงทรัพย์สินได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบายการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ จากสถิติของศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่ามีเฟซบุ๊ก 7 รูปแบบที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอก ดังนี้ 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์ 1.เพจหน่วยงานราชการปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นข้าราชการระดับสูง สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางคดี ให้บริการรับแจ้งความ หรือร้องทุกข์ออนไลน์ รวมถึงการรับทำเอกสารราชการออนไลน์ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ บัตรประจำตัวประชาชน อ่านบทความอุบายหลอกแจ้งความปลอม : ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน , ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ? 2.เพจบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม หุ้นปลอม ชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงินดิจิทัล เงินสกุลต่างประเทศ หุ้นพลังงาน […]
6 ตุลาคม 2566 ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถือเป็นหนึ่งในอาชญกรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเสียหายให้กับคนจำนวนมาก มีรูปแบบการทำงานเป็นขบวนการ แบ่งหน้าที่กันทำ ทั้งการหลอกลวงผู้เสียหายให้เกิดความหวาดกลัว ใช้ความไม่รู้ของผู้เสียหายเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนในสังคม เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งสินค้า และแจ้งไปยังผู้เสียหายว่าบัญชีธนาคาร หรือพัสดุที่จัดส่งไปยังต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดกฎหมาย บัญชีธนาคารถูกอายัด หรือเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด รวมถึงหลอกสอบถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้วยังมีการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของหน่วยงานปลอมที่สามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือและโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหายได้ และตอนนี้อุบายล่าสุดที่คนร้ายใช้ในการหลอกผู้เสียหาย คือ การแอบอ้างเป็นพนักงานผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดกลโกงกระบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้าง กสทช. ! เริ่มต้นมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหาย พร้อมบอกชื่อ นามสกุลอย่างถูกต้อง และแจ้งว่าผู้เสียหายได้เปิดใช้บริการซิมโทรศัพท์มือถือในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล โดยหมายเลขที่เปิดใช้บริการในชื่อของผู้เสียหายนั้น ถูกนำไปใช้กระทำผิดกฎหมาย หรือถูกนำไปใช้หลอกลวงบุคคลอื่น โดยแจ้งอีกว่า หากผู้เสียหายไม่ได้เป็นผู้เปิดใช้บริการ ให้ไปดำเนินการแจ้งความยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ถูกเปิดใช้งานดังกล่าว แต่หากไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถทำการแจ้งความออนไลน์ผ่านช่องทางไลน์ของสถานีตำรวจดังกล่าวได้ เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดต่อไปยังไลน์สถานีตำรวจซึ่งถูกมิจฉาชีพปลอมขึ้นแล้ว ระหว่างการติดต่อ ผู้เสียหายจะได้รับแจ้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ต้องทำการโอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ […]
6 ตุลาคม 2566 จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – วันที่ 30 กันยายน 2566 พบว่า การหลอกลวงโอนเงินเพื่อหารายได้เสริมจากการทำกิจกรรม มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 44,250 เรื่อง หรือคิดเป็น 13.20% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 2 รองจากการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์ โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 5,425 ล้านบาท สูงเป็นลำดับที่ 3 ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด รองลงมาจากการหลอกลวงให้ลงทุน และการหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (แก๊ง Call Center) และตอนนี้หนึ่งในกลโกงที่มิจฉาชีพนำมาใช้หลอกผู้เสียหาย คือ การรับสมัครนักพากย์เสียงผ่านทางสื่อออนไลน์ โดยใช้รูปนักแสดงหญิงชื่อดังมาแอบอ้าง ทำให้มีคนหลงเชื่อและสูญเสียเงิน วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า กระบวนการของมิจฉาชีพเป็นอย่างไร สร้างเพจปลอม ยิงโฆษณา หลอกทำภารกิจและให้โอนเงินก่อน ! เริ่มจากมิจฉาชีพจะสร้างบัญชีสื่อออนไลน์ปลอม ทั้ง Facebook Page Instagram […]
28 กันยายน 2566 เดือนกันยายนของทุกปี ถือเป็นช่วงครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่า เกษียณอายุราชการ ทำให้มิจฉาชีพมักอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวมาหลอกลวงและแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย จากสถิติการแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 17 กันยายน 2566 พบว่า มีหลายกลโกงที่มักใช้หลอกคนวัยเกษียณ วันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูมุกยอดฮิตของเหล่าโจรออนไลน์ว่ามีอะไรกันบ้าง 1. หลอกลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 26,827 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 14,313 ล้านบาท 🚨กลโกง 🚨 มิจฉาชีพจะสร้างบัญชีทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยแอบอ้างบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการลงุทน หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เหรียญดิจิทัล พลังงาน เป็นต้น โดยมีการใช้คำโฆษณาสวยหรู อ้างว่าเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินหลักพันบาท แต่ได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว อ่านกลโกงเพิ่มเติม : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ? 2. หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ จำนวน […]
18 ก.ย. – ตำรวจรับตัว 4 ผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงินจากกัมพูชา ภายหลัง “รอง ผบ.ตร.” ประสานความร่วมมือระหว่างประเทศชี้เป้าจุดซ่อนตัว
ตำรวจเร่งแกะรอยบัญชีม้าหาเส้นทางการเงิน ล่าแก๊งมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน ชนวนเหตุพ่อฆ่ายกครัว 3 ศพ ใน จ.สมุทรปราการ ความคืบหน้าทางคดีเป็นอย่างไร รวมถึงเรื่องที่ญาติของทั้ง 2 ฝ่ายแย่งจัดงานศพให้กับผู้เสียชีวิต สุดท้ายได้ข้อสรุปอย่างไร ติดตามจากรายงาน
อาการยังโคม่า สามีเครียดบ้านจะถูกยึด ซ้ำร้ายถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเงินกว่า 1.7 ล้าน ตัดสินใจฆ่าภรรยา-ลูกชาย 2 คน ก่อนหวังปลิดชีพตัวเอง แต่ไม่สำเร็จ
นายกฯ สภาทนายความ เตือนภัย ปชช. ระวังทนายปลอมร่วมเเก๊งทำเว็บเเจ้งความออนไลน์ หลอกโอนเงิน เเนะตรวจสอบฝ่ายทะเบียนสภาทนายความก่อน อย่าให้ข้อมูลส่วนตัว เร็วๆ นี้ ลงนามระเบียบตรวจสอบใหม่
ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัย เพจศูนย์ดำรงธรรมปลอมระบาดหนัก อ้างสามารถช่วยเหลือแจ้งความออนไลน์ได้ แต่กลับหลอกเอาข้อมูล และหลอกให้โอนเงินค่าทนายความ พบผู้เสียหายหลายราย
เภสัชกรหญิงหอบหลักฐานร้อง “บิ๊กโจ๊ก” หลังถูกแก๊งโรแมนซ์สแกม หลอกโอนเงินซื้อ ชุดตรวจ ATK กว่า 8 ล้านบาท แต่เมื่อไปติดตามคดี ตำรวจ สน.ทุ่งสองห้อง กลับบอกว่าให้คิดว่าเงินก้อนนี้เราติดหนี้เขาเมื่อชาติที่แล้ว