fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: โจรอ้าง กสทช. ใช้ซิมผิดกฎหมาย หลอกโอนเงินเกลี้ยง

6 ตุลาคม 2566 ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถือเป็นหนึ่งในอาชญกรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเสียหายให้กับคนจำนวนมาก มีรูปแบบการทำงานเป็นขบวนการ แบ่งหน้าที่กันทำ ทั้งการหลอกลวงผู้เสียหายให้เกิดความหวาดกลัว ใช้ความไม่รู้ของผู้เสียหายเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนในสังคม เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งสินค้า และแจ้งไปยังผู้เสียหายว่าบัญชีธนาคาร หรือพัสดุที่จัดส่งไปยังต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดกฎหมาย บัญชีธนาคารถูกอายัด หรือเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด รวมถึงหลอกสอบถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้วยังมีการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของหน่วยงานปลอมที่สามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือและโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหายได้ และตอนนี้อุบายล่าสุดที่คนร้ายใช้ในการหลอกผู้เสียหาย คือ การแอบอ้างเป็นพนักงานผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดกลโกงกระบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้าง กสทช. ! เริ่มต้นมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหาย พร้อมบอกชื่อ นามสกุลอย่างถูกต้อง และแจ้งว่าผู้เสียหายได้เปิดใช้บริการซิมโทรศัพท์มือถือในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล โดยหมายเลขที่เปิดใช้บริการในชื่อของผู้เสียหายนั้น ถูกนำไปใช้กระทำผิดกฎหมาย หรือถูกนำไปใช้หลอกลวงบุคคลอื่น โดยแจ้งอีกว่า หากผู้เสียหายไม่ได้เป็นผู้เปิดใช้บริการ ให้ไปดำเนินการแจ้งความยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ถูกเปิดใช้งานดังกล่าว แต่หากไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถทำการแจ้งความออนไลน์ผ่านช่องทางไลน์ของสถานีตำรวจดังกล่าวได้ เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดต่อไปยังไลน์สถานีตำรวจซึ่งถูกมิจฉาชีพปลอมขึ้นแล้ว ระหว่างการติดต่อ ผู้เสียหายจะได้รับแจ้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ต้องทำการโอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : ระวังมุกใหม่ ! รับสมัครนักพากย์เสียง ที่แท้หลอกโอนเงิน

6 ตุลาคม 2566 จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – วันที่ 30 กันยายน 2566 พบว่า การหลอกลวงโอนเงินเพื่อหารายได้เสริมจากการทำกิจกรรม มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 44,250 เรื่อง หรือคิดเป็น 13.20% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 2 รองจากการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์ โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 5,425 ล้านบาท สูงเป็นลำดับที่ 3 ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด รองลงมาจากการหลอกลวงให้ลงทุน และการหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (แก๊ง Call Center) และตอนนี้หนึ่งในกลโกงที่มิจฉาชีพนำมาใช้หลอกผู้เสียหาย คือ การรับสมัครนักพากย์เสียงผ่านทางสื่อออนไลน์ โดยใช้รูปนักแสดงหญิงชื่อดังมาแอบอ้าง ทำให้มีคนหลงเชื่อและสูญเสียเงิน วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า กระบวนการของมิจฉาชีพเป็นอย่างไร สร้างเพจปลอม ยิงโฆษณา หลอกทำภารกิจและให้โอนเงินก่อน ! เริ่มจากมิจฉาชีพจะสร้างบัญชีสื่อออนไลน์ปลอม ทั้ง  Facebook Page Instagram […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : วัยเกษียณ ระวัง ! 3 มุกยอดฮิตภัยไซเบอร์

28 กันยายน 2566 เดือนกันยายนของทุกปี ถือเป็นช่วงครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่า เกษียณอายุราชการ ทำให้มิจฉาชีพมักอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวมาหลอกลวงและแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย จากสถิติการแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 17 กันยายน 2566 พบว่า มีหลายกลโกงที่มักใช้หลอกคนวัยเกษียณ วันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูมุกยอดฮิตของเหล่าโจรออนไลน์ว่ามีอะไรกันบ้าง 1. หลอกลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 26,827 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 14,313 ล้านบาท 🚨กลโกง 🚨 มิจฉาชีพจะสร้างบัญชีทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยแอบอ้างบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการลงุทน หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เหรียญดิจิทัล พลังงาน เป็นต้น โดยมีการใช้คำโฆษณาสวยหรู อ้างว่าเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินหลักพันบาท แต่ได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว  อ่านกลโกงเพิ่มเติม : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ? 2. หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ จำนวน […]

รับตัว 4 ผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์จากกัมพูชา

18 ก.ย. – ตำรวจรับตัว 4 ผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกโอนเงินจากกัมพูชา ภายหลัง “รอง ผบ.ตร.” ประสานความร่วมมือระหว่างประเทศชี้เป้าจุดซ่อนตัว

แกะรอยบัญชีม้า ล่าแก๊งเงินกู้ปลอม

ตำรวจเร่งแกะรอยบัญชีม้าหาเส้นทางการเงิน ล่าแก๊งมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน ชนวนเหตุพ่อฆ่ายกครัว 3 ศพ ใน จ.สมุทรปราการ ความคืบหน้าทางคดีเป็นอย่างไร รวมถึงเรื่องที่ญาติของทั้ง 2 ฝ่ายแย่งจัดงานศพให้กับผู้เสียชีวิต สุดท้ายได้ข้อสรุปอย่างไร ติดตามจากรายงาน

อาการผู้ก่อเหตุฆ่าเมีย-ลูก 3 ศพ ยังโคม่า

อาการยังโคม่า สามีเครียดบ้านจะถูกยึด ซ้ำร้ายถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเงินกว่า 1.7 ล้าน ตัดสินใจฆ่าภรรยา-ลูกชาย 2 คน ก่อนหวังปลิดชีพตัวเอง แต่ไม่สำเร็จ

เตือนภัย ระวังทนายปลอมหลอกโอนเงิน แนะตรวจสอบก่อน

นายกฯ สภาทนายความ เตือนภัย ปชช. ระวังทนายปลอมร่วมเเก๊งทำเว็บเเจ้งความออนไลน์ หลอกโอนเงิน เเนะตรวจสอบฝ่ายทะเบียนสภาทนายความก่อน อย่าให้ข้อมูลส่วนตัว เร็วๆ นี้ ลงนามระเบียบตรวจสอบใหม่

เตือนภัย เพจศูนย์ดำรงธรรมปลอมระบาดหนัก

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัย เพจศูนย์ดำรงธรรมปลอมระบาดหนัก อ้างสามารถช่วยเหลือแจ้งความออนไลน์ได้ แต่กลับหลอกเอาข้อมูล และหลอกให้โอนเงินค่าทนายความ พบผู้เสียหายหลายราย

ร้องถูกแก๊งโรแมนซ์สแกม หลอกโอนเงินซื้อ ATK

เภสัชกรหญิงหอบหลักฐานร้อง “บิ๊กโจ๊ก” หลังถูกแก๊งโรแมนซ์สแกม หลอกโอนเงินซื้อ ชุดตรวจ ATK กว่า 8 ล้านบาท แต่เมื่อไปติดตามคดี ตำรวจ สน.ทุ่งสองห้อง กลับบอกว่าให้คิดว่าเงินก้อนนี้เราติดหนี้เขาเมื่อชาติที่แล้ว

รวบบัญชีม้า ตร.เก๊ หลอกหมอโอนเงินกว่า 8 แสนบาท

ตำรวจไซเบอร์รวบสาวบัญชีม้าแก๊งตำรวจเก๊ หลอกหมอโรงพยาบาลใน จ.กำแพงเพชร โอนเงินกว่า 800,000 บาท ด้านผู้ต้องหาอ้างถูกหลอกอีกที นำบัญชีไปกู้เงินจากแอปฯ ธนาคารปลอม ก่อนมีเงินเข้า-ออกบัญชีกว่า 2 ล้านบาท

จับคนร้ายปลอมเฟซบุ๊กเป็นสาวยุโรป หลอกเหยื่อโอนเงิน 36 ล้านบาท

ตำรวจไซเบอร์จับคนร้ายปลอมเฟซบุ๊กเป็นหญิงสาวสวยชาวยุโรป หลอกเหยื่อให้หลงรัก จนยอมโอนเงินให้ผู้ต้องหาถึง 36 ล้านบาท

โมเดลลิ่งปลอม ! หลอกปั้นเด็ก ที่แท้หวังโกงเงิน | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

กรุงเทพฯ 11 พ.ค. 66 – รู้ทันมุกใหม่แก๊งมิจฉาชีพ ‘Kid Model’ โมเดลลิ่งปลอม หลอกปั้นเด็กเป็นดาว ที่แท้หวังโกงเงิน กลโกงของคนร้าย  1. มิจฉาชีพโฆษณาผ่านทางเฟซบุ๊กเชิญชวนผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าคัดเลือกเป็นดารา2.ผู้เสียหายหลงเชื่อส่งภาพและคลิปแสดงความสามารถของบุตรหลาน3.มิจฉาชีพหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและกดไลก์รูปเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเด็ก พร้อมบอกโอนเงินจำนวนน้อยเป็นการมัดจำ โดยคนร้ายอ้างว่าเป็นการยืนยันว่าสนใจเข้าร่วมและเป็นการทดสอบระบบ จากนั้นจึงโอนเงินคืนผู้เสียหาย4.ครั้งแรกได้รับเงินคืน ครั้งต่อมาให้ดำเนินการตามเดิมแต่มูลค่ายอดรวมสินค้าสูงขึ้น แต่ไม่ได้รับเงิน โดยอ้างว่าระบบมีปัญหา ผิดเงื่อนไข โอนเงินคืนไม่ได้ คนร้ายจะชักชวนและดำเนินการจนผู้เสียหายเชื่อใจ จากนั้นจึงทำการหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินเป็นจำนวนมากและแจ้งว่าทำผิดเงื่อนไข จึงไม่ได้รับเงินคืน ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ⚠️ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน ⚠️  ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ  ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์  

1 2 3 4 10
...