รวบบัญชีม้า ตร.เก๊ หลอกหมอโอนเงินกว่า 8 แสนบาท
ตำรวจไซเบอร์รวบสาวบัญชีม้าแก๊งตำรวจเก๊ หลอกหมอโรงพยาบาลใน จ.กำแพงเพชร โอนเงินกว่า 800,000 บาท ด้านผู้ต้องหาอ้างถูกหลอกอีกที นำบัญชีไปกู้เงินจากแอปฯ ธนาคารปลอม ก่อนมีเงินเข้า-ออกบัญชีกว่า 2 ล้านบาท
ตำรวจไซเบอร์รวบสาวบัญชีม้าแก๊งตำรวจเก๊ หลอกหมอโรงพยาบาลใน จ.กำแพงเพชร โอนเงินกว่า 800,000 บาท ด้านผู้ต้องหาอ้างถูกหลอกอีกที นำบัญชีไปกู้เงินจากแอปฯ ธนาคารปลอม ก่อนมีเงินเข้า-ออกบัญชีกว่า 2 ล้านบาท
ตำรวจไซเบอร์จับคนร้ายปลอมเฟซบุ๊กเป็นหญิงสาวสวยชาวยุโรป หลอกเหยื่อให้หลงรัก จนยอมโอนเงินให้ผู้ต้องหาถึง 36 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 11 พ.ค. 66 – รู้ทันมุกใหม่แก๊งมิจฉาชีพ ‘Kid Model’ โมเดลลิ่งปลอม หลอกปั้นเด็กเป็นดาว ที่แท้หวังโกงเงิน กลโกงของคนร้าย 1. มิจฉาชีพโฆษณาผ่านทางเฟซบุ๊กเชิญชวนผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าคัดเลือกเป็นดารา2.ผู้เสียหายหลงเชื่อส่งภาพและคลิปแสดงความสามารถของบุตรหลาน3.มิจฉาชีพหลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและกดไลก์รูปเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเด็ก พร้อมบอกโอนเงินจำนวนน้อยเป็นการมัดจำ โดยคนร้ายอ้างว่าเป็นการยืนยันว่าสนใจเข้าร่วมและเป็นการทดสอบระบบ จากนั้นจึงโอนเงินคืนผู้เสียหาย4.ครั้งแรกได้รับเงินคืน ครั้งต่อมาให้ดำเนินการตามเดิมแต่มูลค่ายอดรวมสินค้าสูงขึ้น แต่ไม่ได้รับเงิน โดยอ้างว่าระบบมีปัญหา ผิดเงื่อนไข โอนเงินคืนไม่ได้ คนร้ายจะชักชวนและดำเนินการจนผู้เสียหายเชื่อใจ จากนั้นจึงทำการหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินเป็นจำนวนมากและแจ้งว่าทำผิดเงื่อนไข จึงไม่ได้รับเงินคืน ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ⚠️ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน ⚠️ ไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์
วิธีหลอก : แอบอ้างชื่อที่พักดัง ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่งอุบาย : มีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ 1. ใช้เพจปลอม มิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นแอดมิน มีการคัดลอกเนื้อหาจากเพจจริง โดยอาศัยการยิงโฆษณาเพื่อสร้างความเข้าใจผิด 2. ใช้บัญชีเฟซบุ๊กอวตารแฝงตัวเข้าไปในกลุ่มแนะนำโรงแรม หรือที่พักต่าง ๆ เพื่อโพสต์ข้อความในลักษณะ “มีที่พักราคาดีหลุดจองอยู่”เมื่อเหยื่อสนใจตลอดจนติดต่อเข้าไปก็จะถูกลวงให้โอนเงินสำรองที่พัก ไปยังบัญชีบุคคลธรรมดา แน่นอนว่าการสำรองดังกล่าวไม่เป็นความจริง หากเหยื่อเดินทางไปเข้าพักยังสถานที่จริงย่อมไม่สามารถเข้าพักได้ช่องทาง : แอปพลิเคชัน Facebook ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพใช้เพจปลอม-บัญชีอวตารแนะนำที่พัก ก่อนแอบอ้างเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ลวงให้โอนเงินสำรองที่พัก ด้าน ‘โฆษก’ ขอให้ประชาชนระมัดระวังมากขึ้น พร้อมแนบวิธีการป้องกัน กรุงเทพฯ 4 พ.ค. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ออกประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพปลอมช่องทางการติดต่อของที่พักดัง แอบอ้างเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ลวงเหยื่อให้โอนเงินสำรองค่าที่พักก่อนชิ่งหนีไป ฉวยโอกาสฤดูกาลท่องเที่ยว ปลอมช่องทางการติดต่อ แอบอ้างชื่อที่พักดัง มิจฉาชีพอ้างตนเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่พัก ซึ่งมีรูปแบบของอุบายที่แตกต่างกัน ดังนี้1. […]
วิธีหลอก : ส่งลิงก์ปลอมให้ผู้เสียหายกดโหวต กดไลก์ เพิ่มยอดวิวภาพยนตร์อุบาย : อ้างเป็นบริษัทหารายได้พิเศษหลอกจ้างโปรโมตภาพยนตร์เรื่อง “เสือเผ่น 1” โดยส่งลิงก์ปลอมให้กดไลก์ กดโหวต จากนั้นหลอกให้โอนเงินแลกเป็นคะแนนโหวต อ้างให้ค่าจ้างตอบแทนคืน 10-15%ช่องทาง : โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตร.ไซเบอร์เตือนมิจฉาชีพอ้างตัวเป็นบริษัทหารายได้เสริม ส่งลิงก์จ้างกดโปรโมตภาพยนตร์เรื่อง “เสือเผ่น 1” ก่อนหลอกโอนเงิน อ้างใช้เป็นคะแนนโหวต แลกค่าตอบแทน 10-15% กรุงเทพ 4 พ.ค. 66 – ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยแก๊งมิจฉาชีพแอบอ้างตัวเป็นบริษัทหารายได้พิเศษหลอกจ้างผู้เสียหายโปรโมตภาพยนตร์ โดยใช้ขั้นตอนการหลอก ดังนี้1. แอบอ้างเป็นบริษัทโฆษณาชักชวนหารายได้พิเศษ เพียงกดโหวต กดไลก์ เพิ่มยอดวิว เพื่อโปรโมตภาพยนตร์ ออกใหม่ที่กําลังเข้าฉาย พบเคสที่ผ่านมานําภาพยนตร์ตลกเรื่อง “เสือเผ่น 1” มาแอบอ้าง2. มิจฉาชีพจะใช้วิธีการส่งลิงก์ปลอมให้ผู้เสียหายกดไลก์ กดโหวต เพื่อเพิ่มยอดวิว จากนั้นหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินแลกเป็นคะแนนโหวต โดยอ้างว่า จะให้ค่าจ้างตอบแทนคืน 10-15% 3. จากนั้น มิจฉาชีพจะทำให้ผู้เสียหายตายใจ โดยจ่ายค่าจ้างให้ในครั้งแรก แต่ต่อมาจะเริ่มให้ทำภารกิจที่ยากขึ้น และต้องโอนเงินให้ประมาณหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน […]
วิธีหลอก : ปลอมบัญชีสื่อสังคมออนไลน์เป็นบุคคลที่เรารู้จักอุบาย : พูดคุยสร้างความน่าเชื่อถือ ใช้ความรัก หรือคำพูดที่ดูน่าสงสาร มาหลอกลวงให้โอนเงินช่องทาง : แอปพลิเคชัน LINE และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ตำรวจไซเบอร์เตือนประชาชน ระมัดระวังมิจฉาชีพปลอมบัญชีสื่อสังคมออนไลน์เป็นบุคคลที่รู้จัก สร้างโปรไฟล์ปลอมมาพูดคุย ใช้ความรัก และคำพูดที่ดูน่าสงสาร หลอกให้เหยื่อโอนเงินให้ ทำให้สูญเงินจำนวนหลายแสนบาท กรุงเทพฯ 20 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือ ตำรวจไซเบอร์ ฝากเตือนประชาชน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีผู้เสียหาย ซึ่งเป็นภรรยาของนักร้องเพลงร็อกชื่อดัง ถูกมิจฉาชีพใช้บัญชีไลน์ปลอมของบุตรชายติดต่อเข้ามาพูดคุย สร้างความน่าเชื่อถือโดยการใช้ชื่อบัญชี ภาพโปรไฟล์ปลอม ใช้ความรัก และคำพูดที่ดูน่าสงสาร เพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้เชื่อว่า เป็นบุตรชายของตนจริง กระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อรีบโอนเงินให้มิจฉาชีพจำนวนหลายแสนบาท ต่อมาทราบว่าถูกหลอกลวงจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้สืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย สถิติความเสียหายรวมมากกว่า 312 ล้านบาทบช.สอท. ได้เปิดเผยรายงานสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ นับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 65 – 16 […]
ตำรวจไซเบอร์จับกุม 4 คนร้ายลวงเหยื่อซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ศาลฯ กู้เงินออนไลน์ หลอกให้โอนเงินค้ำประกันเครดิต สูญเงินจำนวนมาก
วิธีหลอก : ส่ง SMS ปลอมให้ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5อุบาย : แนบลิงก์ให้เพิ่มเพื่อนบัญชีไลน์ปลอม หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อดักเอาข้อมูลสำคัญช่องทาง : ข้อความสั้น (SMS), LINE, โทรศัพท์มือถือ ตร.ไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพ ส่ง SMS ปลอม ให้ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ สร้างความน่าเชื่อถือ ก่อนส่งลิงก์ให้เหยื่อโหลดแอปฯ ปลอม หลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 ตัวซ้ำหลายครั้ง จากนั้นขอสิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์ หวังใช้รหัสผ่านเข้าแอปฯ ธนาคารหลอกโอนเงิน กรุงเทพฯ 1 เม.ย. 66 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ประชาสัมพันธ์เตือนภัยกรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ ส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังประชาชน เพื่อหลอกลวงให้กดลิงก์ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 แนบลิงก์ SMS เพิ่มเพื่อนไลน์ปลอม อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สร้างความน่าเชื่อถือตามที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์กรณีประชาชนหลายรายได้รับ SMS จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา แจ้งข้อความว่า “โครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 […]
รองโฆษกรัฐบาลเผย 10 ธนาคารพาณิชย์ร่วมมือรัฐบาลตัดวงจรหลอกโอนเงิน ยกเลิกส่ง SMS แบบแนบลิงก์ ถ้าเจอเป็นมิจฉาชีพแน่นอน ที่เหลือกำลังดำเนินการ
ตำรวจไซเบอร์รวบสาวแสบปลอมเฟซบุ๊กพระ ส่งข้อความไปหลอกยืมเงินเหยื่อหลายราย ด้านเจ้าตัวอ้างเป็นเจ้าของบัญชีที่รับโอนจริง แต่ไม่มีส่วนรู้เห็น
ปัจจุบันมีการหลอกลวงแบบ Vishing Phishing คือ การหลอกโดยใช้เสียง เช่น การดาวโหลดแอปพลิเคชัน ที่มีการติดตั้งหลอกล่อผู้ให้บริการ เพื่อให้เข้าถึง ควบคุมระบบ นำไปสู่การสูญเสียเงิน มีการโอนเงินออกไปโดยการหลอกลวงผ่านเสียง
หลายคนสงสัยว่า SPOOFING คืออะไร?
SPOOFING คือ การหลอกลวงบนโลกออนไลน์อีกรูปแบบหนึ่ง โดยมิจฉาชีพจะสวมรอยแอบอ้างหรือปลอมแปลงบางสิ่งบางอย่างในระบบ