กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่เคยอยู่ในฟุกุชิมะฟ้องเรียกค่าชดเชย

โตเกียว 27 ม.ค.- ผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ 6 คนที่เคยอาศัยอยู่ในจังหวัดฟุกุชิมะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ปี 2554 ฟ้องเรียกค่าชดเชยจากบริษัทไฟฟ้า โดยระบุว่า พวกเขาป่วยเพราะรังสีจำนวนมากที่รั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิขนาดใหญ่ ผู้ป่วยอายุระหว่าง 17-27 ปี มีทั้งผู้ที่ยังอาศัยอยู่ในจังหวัดฟุกุชิมะและผู้ที่ย้ายออกมาแล้ว ขณะเกิดเหตุอายุเพียง 6-16 ปี พวกเขาเรียกร้องค่าชดเชยจากบริษัทไฟฟ้าโตเกียวหรือเทปโก (TEPCO) รวมเป็นเงินทั้งหมด 616 ล้านเยน (ราว 178 ล้านบาท) ผู้ป่วยสตรีคนหนึ่งเผยว่า สังคมมีอคติกับผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ เธอตัดสินใจออกมาพูดความจริงเพราะหวังว่า คนอีกเกือบ 300 คนที่เผชิญชะตากรรมเดียวกันจะมีชีวิตที่ดีขึ้น ทนายความระบุว่า คดีนี้เป็นการยื่นฟ้องเป็นกลุ่มครั้งแรกในญี่ปุ่น โดยยื่นต่อศาลแขวงโตเกียว ผู้ฟ้องหวังว่า ศาลจะชี้ขาดว่าการเป็นมะเร็งมีความเชื่อมโยงกับรังสีที่รั่วไหล หลังจากคณะผู้เชี่ยวชาญที่แต่งตั้งโดยทางการจังหวัดฟุกุชิมะยืนยันว่า ไม่มีความเชื่อมโยงกัน ทนายความเผยว่า ลูกความตรวจพบว่าเป็นมะเร็งไทรอยด์ช่วงปี 2555-2561 ลูกความ 4 คนตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมดและต้องรับฮอร์โมนบำบัดตลอดชีวิต หนึ่งในนั้นเผยว่า มะเร็งได้ลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นแล้ว ลูกความอีก 2 คนตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วน ทนายความชี้ว่า มีคนมากกว่า 290 คนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหรือต้องสงสัยเป็นมะเร็งไทรอยด์ […]

IAEAจะมีบทบาทนำจับตาญี่ปุ่นปล่อยน้ำปนเปื้อน

เวียนนา 15 เม.ย.- ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอ (IAEA) จะมีบทบาทสำคัญและเต็มที่ในการสังเกตการณ์เรื่องที่ญี่ปุ่นจะปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะลงสู่ทะเล นายราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการไอเออีเอให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ของญี่ปุ่นว่า การที่ไอเออีเอเข้ามามีบทบาทสำคัญ รวมถึงส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาสังเกตการณ์และให้การสนับสนุนทางเทคนิค จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างหลักประกันเรื่องความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไอเออีเอจะมีบทบาทเต็มที่ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังโครงการปล่อยน้ำลงสู่ทะเลที่จะต้องใช้เวลาหลายปี เขาจะกลับไปที่จังหวัดฟูกุชิมะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นที่เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิใหญ่เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 หลังจากไปเยี่ยมเมื่อปีก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนที่กังวล โครงการนี้จะปล่อยน้ำปริมาณมหาศาลที่สะสมในโรงไฟฟ้า เป็นภารกิจซับซ้อนที่ต่างจากการปล่อยน้ำของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อื่น ๆ ทั่วโลก จึงต้องมั่นใจว่าน้ำที่จะปล่อยได้รับการบำบัดตามระดับสูงสุดที่ตกลงกัน ด้านนายคัตสึโนบุ คาโตะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวระหว่างแถลงข่าวตามปกติในวันนี้ว่า ยินดีที่ไอเออีเอเตรียมให้คณะผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นคณะผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ที่ไม่มีการแบ่งแยกด้านเชื้อชาติ เดือนที่แล้วญี่ปุ่นได้ขอให้ไอเออีเอประเมินด้านความปลอดภัยก่อนประกาศเมื่อวันอังคารว่า ตัดสินใจปล่อยน้ำที่สะสมอยู่ในโรงไฟฟ้ากว่า 1.25 ล้านตันจนถึงเดือนมีนาคม โดยจะผ่านการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้จีน เกาหลีใต้และไต้หวันคัดค้าน โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนเรียกร้องญี่ปุ่นอย่าปล่อยน้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประเทศเพื่อนบ้านและไอเออีเอ.-สำนักข่าวไทย

ญี่ปุ่นจะปล่อยน้ำบำบัดแล้วจากไฟฟ้านิวเคลียร์

โตเกียว 13 เม.ย.- รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจวันนี้ว่า จะปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะไดอิจิลงสู่ทะเล โดยยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม แม้มีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย เว็บไซต์สำนักข่าวเกียวโดนิวส์รายงานว่า นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะกล่าวในการหารือกับรัฐมนตรีหลายคน รวมทั้งรัฐมนตรีอุตสาหกรรมเพื่อตัดสินใจอย่างเป็นทางการว่า การปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ตามแผนการปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะไดอิจิ ญี่ปุ่นจะให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอ (IAEA) และกลุ่มภายนอกเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วยเพื่อความโปร่งใส ต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี กว่าจะปล่อยน้ำลงทะเลได้จริง เนื่องจากต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและการตรวจสอบความปลอดภัย คณะอนุกรรมการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมสรุปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีก่อนว่า การปล่อยน้ำบำบัดแล้วลงสู่ทะเลและการทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอล้วนเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ แต่ทางเลือกแรกเป็นไปได้ในทางเทคนิคมากกว่า ขณะที่ไอเออีเอสนับสนุนทางเลือกนี้เพราะเป็นไปได้ในทางวิทยาศาสตร์และเป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ทั่วโลก สหพันธ์สหกรณ์ประมงญี่ปุ่นคัดค้านการตัดสินใจดังกล่าวและเรียกร้องให้มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ได้รับอาหารทะเลที่จับมาจากน่านน้ำใกล้โรงไฟฟ้าดังกล่าวที่เสียหายจากแผ่นดินไหวและสึนามิใหญ่เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 เจ้าหน้าที่ต้องสูบน้ำเข้าไปหล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ น้ำในโรงงานจึงปนเปื้อนรังสี ทางการใช้กระบวนการบำบัดสารกัมมันตรังสีส่วนใหญ่ แต่ยังคงเหลือทริเทียมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเล็กน้อยหากมีความเข้มข้นต่ำ ปริมาณน้ำสะสมในโรงงานขณะนี้มีไม่ต่ำกว่า 1.25 ล้านตัน ด้านจีน ไต้หวัน และเกาหลีคัดค้านอย่างแข็งขันหลังทราบการตัดสินใจของรัฐบาลญี่ปุ่น จีนและเกาหลีใต้อยู่ในกลุ่ม 15 ประเทศที่ยังคงจำกัดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ประมงและเกษตรจากพื้นที่ดังกล่าวของญี่ปุ่น.-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ : กระบองเพชรดูดรังสีหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำว่า ต้นกระบองเพชรสามารถดูดรังสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

เกาหลีใต้จะเพิ่มการตรวจสอบรังสีในอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น

เกาหลีใต้ประกาศจะเพิ่มการตรวจสอบรังสีในอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นเป็นสองเท่า เนื่องจากเกรงการปนเปื้อนรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ

เรือดำน้ำนิวเคลียร์รัสเซียที่จมในน่านน้ำนอร์เวย์ปล่อยรังสีมากกว่าปกติ 100,000 เท่า

นักวิทยาศาสตร์เตือน ระดับรังสีในน่านน้ำโดยรอบเรือดำน้ำ เค-278 คอมโซโมเลตส์ ที่จมอยู่ในน่านน้ำนอร์เวย์มานาน 30 ปี สูงกว่าปกติถึง 100,000 เท่า

เรือดำน้ำนิวเคลียร์โซเวียตจมในนอร์เวย์ปล่อยรังสีมากกว่าระดับปกติแสนเท่า

เรือดำน้ำนิวเคลียร์สมัยสหภาพโซเวียตที่จมในทะเลนอร์เวย์ มีระดับรังสีในน้ำสูงกว่าปกติถึง 100,000 เท่า บ่งชี้ว่ายังเป็นอันตรายอยู่แม้จมน้ำนานกว่า 30 ปี แล้ว

ทันตแพทยสภา ค้านร่าง พ.ร.บ.นิวเคลียร์ ก.วิทย์ฯ

สภาวิชาชีพการแพทย์หนุนร่าง พ.ร.บ.นิวเคลียร์ฉบับแก้ไขโดย สนช.ชี้แก้ไขปัญหาตรงประเด็น แต่ไม่เห็นด้วยกับร่างฉบับ ก.วิทย์ฯ ที่เพียงแค่ต้องการลดกระแสค้าน

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนอันตรายโทรผ่าน APP และ WI-FI จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนการโทรศัพท์ผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ ว่ามีอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังสูงที่ถูกส่งออกมาขณะใช้งาน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : อันตรายจากแสงและควันเชื่อมโลหะ จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเชื่อมโลหะว่าให้ระวังแสงและควันจากการเชื่อมโลหะที่จะก่ออันตรายกับช่างและคนที่อยู่ใกล้ๆ ได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

เปิดผลพิสูจน์รังสีแผ่เครื่องเอ็กซ์เรย์ฟัน

ทันตแพทยสภา โชว์ผลพิสูจน์การวัดรังสีที่แผ่มาจากเครื่องเอ็กซ์เรย์ฟัน พบว่าน้อย ต่ำกว่ามาตรฐาน หวังให้กระทรวงวิทย์ฯเข้าใจ

สีสันต่างประเทศ : นวัตกรรมอ่านไม่ต้องเปิดหนังสือ

นักวิจัยในสหรัฐคิดนำรังสีชนิดหนึ่งในคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ในการมองเห็นเนื้อหาในหนังสือได้โดยไม่ต้องพลิกเปิดหน้าหนังสือดู

1 2
...