กทม. 12 พ.ค.-บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนการโทรศัพท์ผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ ว่ามีอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังสูงที่ถูกส่งออกมาขณะใช้งาน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์.-สำนักข่าวไทย
บทสรุป :ไม่ควรแฃร์ต่อ ทำให้เกิดความตื่นตระหนก
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท สอบถาม นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค ชี้แจงว่าสถาบันที่วิจัยเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับมะเร็งในยุโรปได้คำนวณเปรียบเทียบว่าโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่องมีกำลังส่งความแรงเท่ากับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ต่อไว-ไฟ 20 ตัว และไว-ไฟ เราเตอร์อีก 2 ตัว แต่โทรศัพท์มือถือปัจจุบันมีทั้งคลื่นมือถือกับคลื่นไว-ไฟอยู่ในเครื่องเดียวกัน เมื่อทำงานพร้อมกันกำลังส่งจะขึ้นไประดับร้อยๆ มิลลิวัตต์ ปัจจุบันมือถือส่วนใหญ่ไม่เกิน 600 มิลลิวัตต์ คือ 0.6 วัตต์ และมือถือรุ่นใหม่ยิ่งต่ำกว่านั้น ส่วนที่เตือนว่าการใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันนานๆ อาจจะทำให้เกิดเนื้องอกในสมองนั้น องค์การอนามัยโลกเคยเตือนว่า “มีความเป็นไปได้” จริง เนื่องจากเริ่มแรกคนใช้โทรศัพท์มือถือในการพูดคุุยเป็นหลัก รังสีอยู่ใกล้สมอง แต่ปัจจุบันเล่นมือถือโดยใช้มือจิ้ม ทำให้ร่างกายได้รับคลื่นน้อยกว่าการโทร
ถือหรือเก็บโทรศัพท์ไว้ใกล้บริเวณอวัยวะสำคัญจะเกิดอันตราย – ยังไม่มีการยืนยันชัดเจน คลื่นแต่ละคลื่นมีผลต่ออวัยวะต่างกัน ไม่ใฃ่ว่าคลื่นนี้จะทำให้เป็นมะเร็งได้ทั้งตัว
เล่นมือถือแล้วตึงนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก คอ บ่า ไหล่ ปวดตา แสดงว่าโดน EMF หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า – อาจเกิดจากการที่ใช้กล้ามเนื้อในการถือโทรศัพท์นานๆ แนะนำว่าขณะใช้โทรศัพท์มือถือต้องพยายามตั้งศีรษะขึ้น ก้มคอให้น้อยลง
เวลาใช้โทรศัพท์ให้วางห่างเท่าที่จะทำได้ – ให้อยู่ในระยะที่เหมาะสมที่จะใช้งานได้สะดวก หากก้มศีรษะในท่าที่ไม่เหมาะสมจะเกิดปัญหาสุขภาพอื่นตามมา
เสียบสายหูฟังดีกว่าบลูทูธ – ยุโรปยืนยันว่าหูฟังแบบมีสายจริงๆ แล้วลดความแรงสัญญาณลงไม่ได้มาก อาจจะแค่ 10% หากกังวลจริงๆ อาจเปิด speaker phone ออกลำโพงจะดีกว่า
บลูทูธไม่อันตราย – บลูทูธแผ่สัญญาณต่ำกว่ามือถือมาก หากฟังเพลงใช้ได้ รับโทรศัพท์ก็ได้ แต่หากไม่ใช้อะไรเลยก็เอาออกจากศีรษะ เพราะบลูทูธแผ่สัญญาณตลอดเวลา
แนะนำให้ปิดไว-ไฟ และ Data ก่อนพกพา – ขึ้นกับแต่ละคน หากจำเป็นต้องสื่อสารผ่านโซเชียลก็ไม่จำเป็นต้องปิด
วิธีการ • Add LINE ของสำนักข่าวไทย เข้าไปที่เพิ่มเพื่อน แล้วพิมพ์ @TNAMCOT ถ้าได้รับแชร์อะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาให้เราตรวจใน “ชัวร์ก่อนแชร์” พบกับสกู๊ปข่าวนี้ได้ในข่าวค่ำสำนักข่าวไทยทุกวัน
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter