ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CYBER EMPATHY ? — ทักษะสำคัญสำหรับคนในยุคดิจิทัล

30 กันยายน 2566 – สิ่งนี้… เป็นพื้นฐานการแสดงออกบนโลกออนไลน์ ที่ทุกคนควรตระหนัก และหากขาด สิ่งนี้…ไป อาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมใกล้ตัวอย่าง Fake News หรือ Cyberbullying ได้ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ระบุตำแหน่งอย่างไรให้ปลอดภัย| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

2 ตุลาคม 2566 บริการระบุตำแหน่งบนโทรศัพท์มือถือมอบความสะดวกให้กับเรามากมาย ไม่ว่าจะเป็น การนำทาง หรือการค้นหาตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ แต่หารู้ไม่ว่า อาจมีสิ่งที่คุณไม่คาดคิดจากเหล่าแฮกเกอร์แอบแฝงอยู่ก็ได้ มาร่วมหาวิธีป้องกัน และตั้งค่าการระบุตำแหน่งเพื่อทำให้เราปลอดภัยมากขึ้นได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน * สำหรับผู้ใช้งานในระบบปฏิบัติการ iOS **ในขณะรับฟัง สามารถตั้งค่าตามที่ระบุไว้ใน Podcast ได้เลย #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาเป็นหนอง

28 กันยายน 2566 – ตาเป็นหนองเกิดจากสาเหตุใด เกิดได้ที่บริเวณไหน และมีวิธีการป้องกันอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การเป็นหนองบริเวณดวงตา แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1.บริเวณเปลือกตา ที่พบบ่อยจะเป็น โรคตากุ้งยิง โดยมักเกิดบริเวณเปลือกตา เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณรอบ ๆ เปลือกตา การรักษาแพทย์จะขูดหนองที่อยู่บริเวณเปลือกตาออก เป็นอีกวิธีที่ทำให้การอักเสบหายได้เร็วขึ้น 2.บริเวณเยื่อบุตา พบบ่อยในโรคตาแดงหรือเยี่อบุตาอักเสบ คือ ภาวะที่เยื่อบุตาเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งเยื่อบุตาเป็นเยื่อเมือกใสที่คลุมตาขาวและบุด้านในของเปลือกตา ติดต่อกันได้ง่ายผ่านการสัมผัสโดยตรงผ่านทางขี้ตาหรือมือสัมผัสโดยตรง 3.บริเวณกระจกตาดำ กลุ่มนี้ถือว่ามีความรุนแรงต่อการมองเห็น สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา เช่น ถูกใบหญ้าหรือพืชผักบาดกระจกตาดำ หรือ การใส่คอนแทคเลนส์ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรค 4.ลูกตาหรือดวงตาเป็นหนอง มักเกิดตามหลังจากการเกิดอุบัติเหตุในดวงตา หรือจากการผ่าตัดดวงตาแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อนมีการติดเชื้อตามมา เป็นภาวะอันตรายสูงมาก มีความสำคัญยิ่งต่อการมองเห็นหากได้รับการรักษาช้า  อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการติดเชื้อที่ตาควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของการติดเชื้อที่ตา สัมภาษณ์เมื่อ : 19 กันยายน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : วัยเกษียณ ระวัง ! 3 มุกยอดฮิตภัยไซเบอร์

28 กันยายน 2566 เดือนกันยายนของทุกปี ถือเป็นช่วงครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่า เกษียณอายุราชการ ทำให้มิจฉาชีพมักอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวมาหลอกลวงและแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย จากสถิติการแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 17 กันยายน 2566 พบว่า มีหลายกลโกงที่มักใช้หลอกคนวัยเกษียณ วันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูมุกยอดฮิตของเหล่าโจรออนไลน์ว่ามีอะไรกันบ้าง 1. หลอกลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 26,827 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 14,313 ล้านบาท 🚨กลโกง 🚨 มิจฉาชีพจะสร้างบัญชีทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยแอบอ้างบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการลงุทน หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เหรียญดิจิทัล พลังงาน เป็นต้น โดยมีการใช้คำโฆษณาสวยหรู อ้างว่าเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินหลักพันบาท แต่ได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว  อ่านกลโกงเพิ่มเติม : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ? 2. หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ จำนวน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ใช้ที่ชาร์จฉุกเฉินบ่อย ระบบไฟฟ้ารถ EV จะเสียหาย จริงหรือ ?

26 กันยายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนเกี่ยวกับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถ EV ว่า หากใช้เครื่องชาร์จฉุกเฉิน (Emergency Charger) บ่อย ๆ จะทำให้ระบบไฟฟ้าของรถ EV เสียหายได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ อธิบายว่า การใช้เครื่องชาร์จฉุกเฉินบ่อยแล้วจะทำให้ระบบรถยนต์ไฟฟ้าเสื่อมสภาพไวนั้นไม่เป็นความจริง แต่มีจุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้เครื่องชาร์จฉุกเฉินนี้ คือเรื่องปลั๊กและสายไฟภายในตัวบ้าน เนื่องจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าฉุกเฉิน กระแสไฟจะเข้าแบตเตอรี่น้อย (3kW) และใช้เวลาค่อนข้างนานอาจทำให้เกิดความร้อนสะสม และสายไฟบ้านโดยทั่วไปทนกระแสไฟได้ 10A หรือน้อยกว่าแล้วแต่สภาพใช้งาน ดังนั้นจึงควรเลือกปลั๊กและสายไฟที่ได้มาตรฐานสามารถรับกำลังไฟได้เทียบเท่าหรือมากกว่าเครื่องชาร์จฉุกเฉิน เพราะอาจทำให้สายปลั๊กละลาย เกิดการไหม้ได้ การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยใช้ไฟบ้านแบบปลอดภัยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้ Home Charger ซึ่งรับกระแสไฟขั้นต่ำได้ 16A สามารถชาร์จได้เต็มประสิทธิภาพของรถยนต์แต่ละรุ่น และมีระบบตัดไฟเมื่อชาร์จเต็มหรือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว สิ่งที่จะต้องคำนึงตามมานั่นคือเรื่อง EV Charger และสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปด้วยคือการรองรับระบบสายไฟภายในบ้าน เพราะการชาร์จรถไฟฟ้าต้องใช้กำลังไฟเยอะขึ้นแต่หากสายไฟในบ้านยังเป็นแบบเดิม หากใช้งานไปเรื่อย ๆ อาจทำให้สายไฟร้อน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารต้องห้าม สำหรับไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

25 กันยายน 2566 – ตามที่มีการแชร์บทความว่า 5 อาหารต้องห้าม สำหรับไขมันพอกตับ ห้ามกินทั้ง น้ำตาล เกลือ แอลกอฮอล์ เนื้อแดง และของทอดนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย อธิบายว่า “อาหารกลุ่มที่แชร์มามักจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ภาวะไขมันตับแย่ลง โรคไขมันพอกตับ ชื่อโรคตับคั่งไขมัน เป็นชื่อที่ถูกต้องตามราชบัณฑิต คำว่าไขมันพอกตับมักไม่ค่อยใช้กัน เพราะเราจะรู้สึกว่ามันแค่พอก ล้างออกได้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นยา อาหาร หรือ สมุนไพรไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของสกปรกที่เราจะนำมาล้างออกได้ เนื่องจากมันแทรกเข้าไปในทุกอณูของเซลล์ตับ การเอาออกต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย” อาหารต้องห้ามสำหรับไขมันพอกตับ จริงหรือ ? Q : น้ำตาล ?A : อาหารกลุ่มนี้แพทย์แนะนำให้ลดเท่าที่จำเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยากษัยเส้นบำรุงไต จริงหรือ ?

24 กันยายน 2566 – บนโซเชียลแชร์แนะนำ “ยากษัยเส้นบำรุงไต” เพียงชุดละ 5 เม็ด แก้ปวดหลัง ปวดเอว ปวดกล้ามเนื้อ เส้นแข็งขึ้น ขัดยอกไปทั้งตัวได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาลัย ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) อธิบายว่า ยากษัยเส้นไม่ได้บำรุงไตแต่อย่างใด กลับกันฤทธิ์ของมันทำให้ไตวาย ไตเสื่อมได้ ยาในซอง จะเป็นยากลุ่ม NSAIDs (ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) ยากษัยเส้นบำรุงไตแก้เมื่อยได้ จริงหรือ ? ตัวยามีสรรพคุณช่วยให้หายปวดเมื่อยตามจุดต่าง ๆ ได้จริง เนื่องจากยา NSAIDs มีฤทธิ์บรรเทาปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เจ็บปวดตามข้อ ยากลุ่ม NSAIDs อันตรายได้หลายประการ อย่างไรก็ตาม การขายยาแบบนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากประชาชนเห็นยาแบบนี้ ให้หลีกเลี่ยงและอย่าใช้เป็นอันขาด หากมีปัญหาสุขภาพจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : HATE SPEECH ? — ต้นตอผิด พร้อมทำลายผู้คิดต่าง

23 กันยายน 2566 สิ่งนี้… ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้รับสารได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งนี้… สร้างความเกลียดชัง ทำให้เกิดความรุนแรง จนนำไปสู่อาชญากรรมได้ และ สิ่งนี้…เคยถูกใช้เป็นเครื่องมือ จนเกิดเหตุการณ์ที่สะเทือนใจมนุษยชาติที่สุด สร้างความสูญเสียนับล้านชีวิต คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 17 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ดวงตาบอกโรค

22 กันยายน 2566 – ดวงตาสามารถบอกโรคเราได้อย่างไร อาการทางตาแบบใดสามารถบอกโรคทางร่างกายได้บ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ประคบตา

21 กันยายน 2566 – การประคบตาที่ถูกต้องควรทำอย่างไร ? อาการแบบไหนควรประคบอุ่น หรือประคบเย็น ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การประคบตาเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบดวงตา กรณีไหนบ้างที่จะแพทย์แนะนำให้ประคบอุ่นหรือประคบเย็น ? อาการที่ควรประคบเย็น โรคภูมิแพ้ : การประคบเย็นทำให้หลอดเลือดหดตัว ลดอาการคันบริเวณดวงตาและลดอาการบวมจากภูมิแพ้ ตาล้า : ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบดวงตา บรรเทาอาการปวดตา ลดอาการแสบเคืองตา บวมช้ำรอบดวงตาจากอุบัติเหตุ : การประคบเย็นช่วยลดการอักเสบจากอุบัติเหตุ และช่วยให้หลอดเลือดหดตัว ลดอาการบวมช้ำได้ วิธีประคบเย็นตา – นำน้ำแข็งและน้ำใส่ในชามใบเล็ก– นำผ้าขนหนูผืนเล็กมาชุบน้ำเย็นในชาม บิดให้หมาดๆ หรือนำน้ำแข็งมาใส่ในผ้าขนหนู– นำผ้าขนหนูมาวางประคบบริเวณดวงตา อาการที่ควรประคบอุ่น การประคบอุ่นบริเวณดวงตาช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น บรรเทาอาการปวด กล้ามเนื้อรอบดวงตาทำให้เส้นเลือดขยายตัว ได้ประโยชน์ในกลุ่มที่อักเสบหรือติดเชื้อ วิธีประคบอุ่นตา – นำผ้าขนหนูผืนเล็กอุ่นหม้อที่ต้มน้ำบิดผ้าให้หมาด– นำออกมาแตะหลังมือตรวจความร้อนให้พอเหมาะ– นำผ้าแห้งมาห่ออีกชั้นหนึ่ง– วางประคบบนตา ในบางกรณี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : ภัยไซเบอร์ SMS ชวนเชื่อ หลอกดูดเงิน

20 กันยายน 2566 – ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีใครหลายคนได้รับ SMS ชวนเชื่อจากมิจฉาชีพ บ้างอ้างว่ามาจากธนาคารให้กรอกข้อมูลตัวส่วนตัวต่าง ๆ จนกระทั่งถูกดูดเงิน ?! ร่วมเรียนรู้กลโกงของมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ในโลกไซเบอร์ และศึกษาหาทางสร้างภูมิคุ้มกันกับชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 5 : เตือนภัย SMS เงินกู้  ตรวจสอบข้อมูลกับ : นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย วิธีการของมิจฉาชีพกลุ่มนี้ จะหลอกให้กดลิงก์เข้าไป จากนั้นให้กรอกข้อมูลส่วนตัวแต่เมื่อกดลิงก์หรือกรอกข้อมูลไปแล้วกลายเป็นสมัครสินเชื่อเงินกู้ดอกเบี้ยแพงมหาโหดโดยทันที ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของท่าน อย่าให้ข้อมูลส่วนตัว และไม่กดลิงก์จาก sms ต้องสงสัยที่ไม่ทราบที่มาโดยเด็ดขาด อันดับที่ 4 : อย่าตกใจได้อีเมลใบเสร็จที่ไม่ได้ซื้อ ตรวจสอบข้อมูลกับ : พ.ต.อ.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การส่งอีเมลมาหลอกให้เราตกใจว่าเราไปสมัครใช้บริการ หรือไปซื้อสินค้า เป็นใบเสร็จรับเงินมา เป็นเทคนิคที่คนร้ายใช้หลอกลวงกันเยอะมากในปัจจุบัน โดยมิจฉาชีพจะมีลิงก์มาให้ แล้วบอกว่าหากคุณไม่ได้ซื้อสินค้าตัวนี้จริง ให้คลิกที่ลิงก์ พอเราคลิกก็จะพาเราไปสู่เว็บ ดูหน้าตาเหมือนเว็บของจริงทุกอย่าง แต่หากสังเกตดีๆ จะพบความแตกต่างระหว่างเว็บจริงกับเว็บปลอม ซึ่งต่างกันตรงคำว่า “apple” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใบค่าปรับจราจร ไม่มีรูปรถ ห้ามจ่าย จริงหรือ ?

20 กันยายน 2566 ตามที่มีการแชร์เตือนใบค่าปรับจราจร ไม่มีรูปรถห้ามจ่าย นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ อย่าแชร์ -เป็นเอกสารจริง เพื่อเตือนให้ชำระค่าปรับ ซึ่งจะไม่มีรูปรถขณะกระทำผิด  👉  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันผ่าน กรมประชาสัมพันธ์ ว่า รูปภาพเอกสารที่แชร์กันนั้น เป็นเอกสารจริง โดยเป็นเอกสารการแจ้งเตือน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ชำระค่าปรับ หลังจากที่มีการส่งเอกสารครั้งแรก ซึ่งจะมีภาพรถขณะกระทำผิด แล้วผู้กระทำผิดยังไม่ชำระเงินค่าปรับ “ใบสั่งที่ส่งถึงท่านครั้งแรกจะปรากฏรูป รถ ทะเบียน ข้อหาที่กระทำความผิดโดยระบบอัตโนมัติ แต่หากไม่ชำระค่าปรับภายใน 7 วัน ระบบจะส่งใบเตือนไปยังเจ้าของรถทางไปรษณีย์ ซึ่งในใบเตือนจะไม่มีภาพรถ โดยในใบสั่งมีสาระสำคัญจะมีนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไปเป็นผู้ลงนาม ประกอบกับข้อมูลการชำระค่าปรับทางระบบอิเล็กทรอนิกส์” พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าว 👉 อย่างไรก็ตาม การสแกน QR CODE เพื่อชำระเงินใด ๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจ […]

1 33 34 35 36 37 202
...