ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปการผลิตหมูสามชั้นปลอม จริงหรือ ?

22 ธันวาคม 2566 – บนโซเชียลแชร์คลิปพร้อมคำเตือนให้ระวังหมูสามชั้นปลอม โดยเป็นคลิปกระบวนการผลิตหมูสามชั้นแผ่นใหญ่ ก่อนจะตัดออกเป็นแผ่นเหมือนเบคอน บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ คลิปต้นฉบับ “เยลลีหมูสามชั้น” ที่ถูกนำมาแอบอ้าง • [단독] 삼겹살 맛 하나도 안나는 ‘삼겹살 젤리’. 요리요리에서 제…     • 달코미의 달달리뷰 – 디담 삼겹살젤리     • 절대 굽지 말라는 삼겹살 젤리를 구워봤더니.. 대박ㅋㅋㅋㅋㅋ [홍윤…  

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนหลับตาไม่สนิท หรือตากระต่าย

24 ธันวาคม 2566 – ตากระต่าย หรือนอนหลับตาไม่สนิท เกิดจากสาเหตุใด อันตรายหรือไม่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ด้านมืด ของ Generative AI ตอนที่ 1| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

25 ธันวาคม 2566 Generative Ai ที่ดูดีมีประโยชน์ ช่วนสร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตเรา แต่รู้หรือไม่ว่า สิ่งนี้ ก็อาจมีภัยที่แอบแฝงมาโดยที่เราอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ มาร่วมเรียนรู้ภัยจากด้านมืดของ Generative Ai ได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาโหล เบ้าตาลึก

21 ธันวาคม 2566 – ตาโหล เบ้าตาลึกเป็นยังไง และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปหมูสามชั้นปลอม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปพร้อมคำเตือนว่า “หมูเถื่อนคือหมูจริง ๆ แต่นำเข้าผิดกฎหมาย ไม่เสียภาษีแต่ตอนนี้มี หมู 3ชั้นปลอม แล้วนะ” บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่ออาหารที่อยู่ในคลิป คือ ขนมเยลลี่ที่ทำเป็นรูปหมูสามชั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบคลิปที่แชร์มา ซึ่งเป็นคลิปที่มีข้อความภาษาจีนระบุว่า “惊人的人造肉” ซึ่งแปลได้ว่า เนื้อเทียม และ “看看制作过程吧不良商家罪该万死” แปลว่า มาดูกระบวนการผลิต ผู้ค้าที่แย่ ๆ สมควรตายจากการก่ออาชญากรรมนี้” ตรวจสอบต้นฉบับพบว่าโพสต์โดยผู้ใช้แอป 快手 รหัส 1580974446 สืบหาต้นตอ🔍 เมื่อนำวิดีโอในคลิปไปตรวจวิเคราะห์เพื่อหาต้นตอ พบว่ามีเบาะแสที่สำคัญ คือ ภาพการติดฉลาก ในช่วงนาทีที่ 02.26 และเมื่อนำภาพดังกล่าวไปตรวจสอบค้นหาภาพกับเว็บ Baidu ก็พบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวางขายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีฉลากเป็นภาษาเกาหลี เขียนว่า 디담 삼겹살 모양 젤리 หรือ DIDAM PORK BELLY JELLY [ https://graph.baidu.com/s?card_key=&entrance=GENERAL&extUiData%5BisLogoShow%5D=1&f=all&isLogoShow=1&session_id=15932161682953549650&sign=126919df67580cf37f03901703131463&tpl_from=pc […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 9 สาเหตุ ทำน้ำยาหล่อเย็นหาย จริงหรือ ?

19 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 9 สาเหตุที่ทำให้น้ำยาหล่อเย็นหายจากระบบระบายความร้อนของรถยนต์ เช่น ฝาสูบโก่ง และ ประเก็นฝาสูบแตกนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ห้ามให้แมวกินนมวัว จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือน ห้ามให้น้องแมวกินนมวัว เพราะย่อยไม่ได้หากกินจะทำให้ท้องเสียนั้น  สรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับศ.น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า “เป็นความจริงที่ทั้งสุนัขและแมวกินนมวัวไม่ได้ เพราะไม่มีแลคเตสสำหรับใช้ย่อยแลคโตสที่ค่อนข้างสูงในนมวัว จึงมักจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย ถ้าให้กินติดต่อกันอาจจะเป็นท้องเสียเรื้อรังได้ แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องให้กินนมวัวให้ผสมไข่แดงเพื่อเจือจางแลคโตสและให้ในปริมาณที่เหมาะสมตามน้ำหนักตัว”

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคซึมเศร้า – การพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

18 ธันวาคม 2566 – คำพูดใดบ้าง ที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และเราควรจะปฏิบัติกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างไร เพื่อช่วยเหลือและดูแลจิตใจให้เขาหายป่วยได้โดยเร็ว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 5 กันยายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจโรคงูสวัด

14 ธันวาคม 2566 – โรคงูสวัดเกิดขึ้นได้ยังไง อันตรายแค่ไหน และจะมีวิธีการป้องกันได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายก สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย หัวหน้า สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีสัมภาษณ์เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566 และ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยหนัก และผู้สูงอายุ สัมภาษณ์เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : น้ำตาเทียม

15 ธันวาคม 2566 – น้ำตาเทียมมีกี่ชนิด ชนิดไหนเหมาะกับใคร และมีวิธีการใช้งานที่ถูกต้องอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์​ก่อนแชร์ : อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เสี่ยงดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ “อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เพราะอาจโดนดูดเงินหมดบัญชี” นั้น บทสรุป : ต้องตระหนักและระวัง แต่ไม่ได้รุนแรงฉับพลันตามที่แชร์กัน ทั้งนี้ โดยทั่วไปเพียงแค่รับสายโทรศัพท์ ไม่สามารถทำให้เงินหายออกจากบัญชีได้ แต่หากรับสายแล้วหลงกลคำพูดของมิจฉาชีพ แล้วยอมทำตาม เช่น ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมหรือกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะโดนโจรกรรมทั้งเงินและข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับเบอร์ดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า มีรายงานข่าวเตือนว่าเป็นเบอร์โทรที่คนร้ายใช้โทรศัพท์ไปหาคนจำนวนมาก ในช่วงเดือนเมษายน 2566 และเบอร์เดิมกลับมาเป็นข่าวอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2566 ข่าวระบุว่า เบอร์ดังกล่าว มิจฉาชีพจะโทรมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง หลอกลวงให้ผู้เสียหายกดยกเลิกสิทธิโครงการของรัฐฯ ที่หมดเขตไปแล้ว ซึ่งกระทรวงการคลัง ยืนยัน ไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ติดต่อหาประชาชนเพื่อยกเลิกสิทธิ์หรือมอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้แก่บุคคลใดทั้งสิ้น แต่หากผู้เสียหายหลงเชื่อและสอบถามขั้นตอน มิจฉาชีพจะทำทีให้ความช่วยเหลือ โดยให้แอดไลน์เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตัวปลอม และจะส่งลิงก์ให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าเงินหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและล็อกอินเข้าสู่ระบบ รวมถึงหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน และนำรหัสผ่านดังกล่าวไปใช้โจรกรรมต่อไป อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพสามารถเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ไปได้เรื่อย ๆ และไม่จำเป็นที่ว่าผู้ใช้งานเบอร์นี้ในอนาคตจะต้องเป็นมิจฉาชีพเสมอไป เนื่องจากเบอร์อาจถูกปิดและนำกลับมาจัดสรรใหม่ คำแนะนำจาก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ จะเห็นได้ว่า การรับสายโทรศัพท์ไม่ว่าจะเป็นเลขหมายใด ๆ เพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปจึงไม่สามารถทำให้เงินหายหมดบัญชีได้ รวมทั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PRETEXTING ? — ภัยคุกคามยุคใหม่ในการล้วงข้อมูล

16 ธันวาคม 2566 สิ่งนี้… คือภัยคุกคามยุคใหม่ทางวิศวกรรมสังคม ที่ใช้หลักจิตวิทยาในการหลอกลวงให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลสำคัญ และสิ่งนี้… เป็นเทคนิคสำคัญที่แฮกเกอร์ใช้เพื่อขโมยเงิน หรือข้อมูลจากสถาบันการเงิน ซึ่งกว่า 88% ดำเนินการผ่านอีเมล คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

1 34 35 36 37 38 212
...