MCOT Cares X ชัวร์ก่อนแชร์เสริมภูมิคุ้มกันนักศึกษา ศสกร. เขตห้วยขวาง

“MCOT Cares X ชัวร์ก่อนแชร์ เพื่อชุมชน” เสริมภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันอาชญากรรมบนโลกออนไลน์ แก่นักศึกษา ศสกร. เขตห้วยขวาง

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ทอนซิลอักเสบให้กินไอศกรีม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความระบุว่าหากเป็นทอนซิลอักเสบให้กินไอศกรีม เพราะจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือลดการอักเสบได้ บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ว่าที่ ร.ต.ท.หญิง เพชรรัตน์ แสงทอง นายแพทย์ สบ 1 กลุ่มงานหู คอ จมูก โรงพยาบาลตำรวจ “ความเย็นของไอศกรีมมีส่วนช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอจริง แต่การกินของเย็นไม่ได้ช่วยลดการอักเสบตามที่แชร์กัน แพทย์เตือนว่า หลังจากกินไอศกรีมก็ควรทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ”

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สัตว์เลี้ยงกับโรคในฤดูฝน

3 กันยายน 2566 – ฤดูฝนนี้ สัตว์เลี้ยงเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง เราจะสังเกตและดูแลสุนัขและแมวในช่วงนี้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1. โรคไข้เห็บ สุนัขมักมีอาการเจ็บป่วยเนื่องจากเห็บในปริมาณมาก เห็บยังเป็นตัวที่ทำให้สัตว์อ่อนแอ โลหิตจาง เนื่องจากเห็บดูดเลือด ซึ่งจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของสัตว์ลดต่ำลงทำให้สัตว์ติดเชื้อและเกิดโรคได้ง่าย โรคไข้เห็บเกิดได้จากเชื้อหลักๆ 3 เชื้อ คือ Erhlichia (เออร์ลิเชีย), Babesia (บาบีเซีย) และ Hepatozoon (เฮปปาโตซูน) ซึ่งการติดต่อของโรคพยาธิเม็ดเลือดนี้นั้นจะเกิดจากการถูกเห็บกัด หรือสุนัขแทะตัวและกินเห็บเข้าไป อาการที่มักพบในน้องหมาที่เป็นโรคไข้เห็บ ได้แก่ ไข้สูง โลหิตจางสำหรับน้องแมว เห็บหรือหมัดอาจจะถูกกำจัดไปก่อน ส่วนน้องแมวโดยธรรมชาติเป็นสัตว์ที่ดูแลตัวเองสูงมักจะเลียตัวเองก็เหมือนกับเป็นการตรวจสอบสิ่งผิดปกติในร่างกายอยู่แล้ว ซึ่งแบบนี้ในสุนัขจะไม่มี 2. โรคพยาธิทางหัวใจ โรคนี้สามารถติดต่อได้โดยการถูกยุงกัด เมื่อสุนัขโดนยุงตัวที่มีตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจกัด ก็จะถ่ายทอดตัวอ่อนสู่สุนัขตัวที่ไม่เป็นโรค แล้วตัวอ่อนก็จะเจริญเติบโตอยู่ในสุนัขตัวนั้น มักพบบ่อยในฤดูฝน อาการที่พบได้ในโรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข ได้แก่ หัวใจโต หอบเหนื่อยง่าย 3. โรคฉี่หนู […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังเด็กถือป้ายที่อยู่อ้างพลัดหลง เบื้องหลังคือแก๊งค้าอวัยวะ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนว่า “ด่วน! จากกรมตำรวจ…” ให้ระวังเด็กถือกระดาษเขียนบ้านเลขที่แอบอ้างว่าพลัดหลง เพราะจะมีมิจฉาชีพรอปล้นหรือขโมยตัดอวัยวะ นั้น บทสรุป : มั่ว ❌ อย่าแชร์ เป็นข้อความข่าวลือในต่างประเทศ ที่ส่งต่อกันมาหลายปีแล้ว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อความดังกล่าว พบว่ามีข้อพิรุธหลายจุด เช่น ใช้คำว่า “กรมตำรวจ” ซึ่งตามข้อเท็จจริงนั้น ประเทศไทย ไม่มีหน่วยงานชื่อ “กรมตำรวจ” ตั้งแต่ปี 2541 เนื่องจากเปลี่ยนเป็น “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” และเมื่อตรวจสอบไปที่แหล่งข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ไม่เคยประกาศคำเตือนในลักษณะนี้แต่อย่างใด ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้คำแนะนำกรณีการพบเด็กพลัดหลง ว่าควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อช่วยประสานงานตามหาผู้ปกครองต่อไป ด้านนายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ให้ความเห็นต่อข้อความดังกล่าวว่า “มันเป็นการแชร์ที่ไม่มีข้อเท็จจริงเลย เหมือนเป็นการแต่งเรื่องมาจากนักสร้างเรื่องมากกว่า เมื่อดูจากบริบทของเรื่องและลักษณะการให้ข้อมูล รวมทั้งการอ้างอิงคำว่า กรมตำรวจ ซึ่งสมัยนี้ไม่มีแล้ว จะมีแต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนั้น น่าจะเป็นข้อความขยะที่ส่งต่อกันมา หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย แนะนำว่า หากพบเด็กพลัดหลง สอบถามแล้วยังไม่ได้ข้อมูล สะท้อนว่าอาจจะมีประเด็นปัญหาบางประการในครอบครัว พลเมืองดีจึงควรประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือนำเด็กส่งสถานีตำรวจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : รถ EV ยิ่งชาร์จแบต ฯ จะยิ่งเสื่อมเร็ว จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์ข้อความว่ารถ EV ยิ่งชาร์จแบตเตอรี่ จะยิ่งเสื่อมเร็วนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับนาย สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ปัจจุบันรถ EV ถูกออกแบบให้รองรับการชาร์จที่หลากหลายและมีระบบ Liquid Cooling ที่ช่วยระบายความร้อนและจัดการควบคุมอุณหภูมิของกระแสไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าช่วยลดผลกระทบไม่ให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือน อันตรายในไอศกรีม จริงหรือ ?

25 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์บทความเรื่อง “อันตรายในไอศกรีม” เตือนว่า ในไอศกรีมของโปรดของหลายคน หารู้ไม่ว่า มีสารสังเคราะห์จากสารเคมี ที่นำอันตรายต่อสุขภาพเราได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ สารแต่งกลิ่นถูกใช้ในการทำไอศกรีมในปริมาณที่น้อยมาก และยังอยู่ในปริมาณตามที่กฎหมายควบคุมอยู่ มีความปลอดภัยแต่สิ่งที่ต้องระวังในการรับประทานไอศกรีมเป็นอาหารที่ มีไขมันสูง น้ำตาลสูง  เพราะฉะนั้นให้รับประทานในปริมาณที่พอดี ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า “ไอศกรีมที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีการใส่วัตถุเจือปนอาหารบางอย่างเพื่อปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งหลายอย่างก็อาจจะเป็นสารเคมี ในการผลิตระดับอุตสาหกรรมผู้ผลิตจะต้องขออนุญาตสูตร จากนั้น อย.จะพิจารณาว่าใช้ได้หรือไม่และมีการใช้เกินปริมาณที่กำหนดหรือไม่ ปริมาณที่กำหนดนั้นจะถูกกำหนดจากความปลอดภัยในการใช้สารนั้น ๆ เพราะฉะนั้นหากผู้ผลิตได้รับ อย. ก็ให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าอาหารนั้น ๆ มีความปลอดภัย” Q : ผู้ผลิตนำไขมันที่มาจากโรงฆ่าสัตว์มาทำไอศกรีม จริงหรือ ?A : ไอศกรีมส่วนมากทำจากครีม ครีมคือไขมันที่อยู่ในนม บางกรณีที่ผู้ผลิตอาจจะลดต้นทุน หากเป็นไอศกรีมราคาถูกหน่อย ผู้ผลิตก็จะใช้แหล่งไขมันอื่น ในบ้านเรานิยมใช้ไขมันปาล์มเติมลงไปเพื่อให้มีความมัน ส่วนไขมันจากโรงฆ่าสัตว์ที่นำมาใช้ […]

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนระบบ iOS| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

1 กันยายน 2023 คุณรู้หรือไม่ว่า สมาร์ทโฟนของคุณอาจมีช่องโหว่จากการตั้งค่า ที่อาจทำให้เหล่าแฮกเกอร์เข้ามาโจมตีข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ มาร่วมเรียนรู้วิธีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของคุณได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน * สำหรับผู้ใช้งานในระบบปฏิบัติการ iOS16 **ในขณะรับฟัง สามารถตั้งค่าตามที่ระบุไว้ใน Podcast ได้เลย #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต ขนมหวานและชานมไข่มุก จริงหรือ ?

30 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับขนมหวานอย่างป๊อปคอร์นและชานมไข่มุกเอาไว้มากมาย บ้างก็ว่าเม็ดไข่มุกย่อยยาก อันตราย แถมยังก่อมะเร็งในไตอีกด้วย ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ทอนซิลอักเสบให้กินไอศกรีม จริงหรือ ? มีการแชร์ว่าหากทอนซิลอักเสบให้กินไอศกรีม หรือโกโก้เย็น จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือลดการอักเสบได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ว่าที่ ร.ต.ท.หญิง เพชรรัตน์ แสงทอง นายแพทย์ สบ 1 กลุ่มงานหู คอ จมูกโรงพยาบาลตำรวจ บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ “ความเย็นของไอศกรีมแค่บรรเทาอาการเจ็บคอเท่านั้น  และควรทำความสะอาดช่องปากหลังรับประทานไอศกรีมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ” อันดับที่ 2 : เม็ดในชานมไข่มุกย่อยยาก อุดตันลำไส้ จริงหรือ ? มีการแชร์ข่าวว่าในประเทศจีน มีคนกินชาไข่มุกแล้วเม็ดไข่มุกไม่ย่อยไปอุดตันในลำไส้ พร้อมเตือนว่า เม็ดแป้งไข่มุกนั้นย่อยยาก ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : อ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์  ❌ “เม็ดของไข่มุกส่วนใหญ่เป็นแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งพอรับประทานเข้าไปแล้ว […]

How To Secure : ถ้ารู้…ง่ายนิดเดียว | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

31 สิงหาคม 2566 เดินทางมาถึงบทที่ 6 ของหนังสือ The Cyber Mindset ผลงานชิ้นเอกของ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก กับบทที่ชื่อว่า “How to secure ถ้ารู้..ง่ายนิดเดียว” เนื้อหาในบทนี้จะเป็นอย่างไร และจะน่าสนใจแค่ไหน ติดตามได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : น้ำมันพืชทาไข่สดเก็บได้นาน จริงหรือ?

จากกรณีมีการแชร์ข้อความแนะนำ วิธีเก็บไข่ไก่ให้ได้นานโดยไม่ต้องเข้าตู้เย็นเพียงนำน้ำมันพืชมาทาเคลือบให้ทั่วเปลือกไข่ จะเก็บได้นานเป็นปีนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายอำนวย เลี้ยวธารากุลผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ปีก กรมปศุสัตว์ และ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตราฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ “น้ำมันอาจช่วยได้บ้าง แต่การเก็บรักษาไข่สดให้คงคุณภาพทีทำได้ง่ายและเหมาะสมที่สุด คือการเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้เก็บไข่ไว้ได้นานเป็นเดือน และมีความปลอดภัยในนำมากิน”

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน

28 สิงหาคม 2566 ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับตำรวจไซเบอร์ บช.สอท. พบว่า มีมิจฉาชีพยิงโฆษณาเว็บไซต์รับแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกลวงว่าสามารถนำเงินกลับคืนมาได้ โดยการโจมตีระบบเว็บไซต์พนันออนไลน์แหล่งที่เงินผู้เสียหายถูกฟอกอยู่  เริ่มต้นจากที่มีผู้เสียหายหลายรายได้รับความเดือดร้อน จากการถูกมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง ซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ การถูกหลอกลวงให้กู้เงิน การถูกหลอกลวงให้ลงทุน หรือการถูกหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์ ผู้เสียหายจึงได้ใช้คำว่า “แจ้งความออนไลน์” เป็นคีย์เวิร์ด (Keyword) ในการสืบค้นข้อมูลผ่านเว็บไซต์ค้นหา (Search Engine Site) ยอดนิยมต่าง ๆ เช่น Google.com, Bing.com ทำให้พบเว็บไซต์การรับแจ้งความออนไลน์ของปลอมที่มิจฉาชีพจ่ายเงินเพื่อซื้อโฆษณา ทำให้ขึ้นมาเป็นลำดับแรก ๆ ของการค้นหา เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อและกดเข้าไปยังเว็บไซต์ปลอมดังกล่าว มิจฉาชีพจะหลอกให้กดเพิ่มเพื่อนทางไลน์ ซึ่งแอบอ้างเป็นที่ปรึกษากฎหมาย หรือทนายความ จากนั้นจะหลอกถามข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียดการถูกฉ้อโกงหรือหลอกลวง มูลค่าความเสียหาย และขอเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อแพลตฟอร์ม หลักฐานการโอนเงิน ประวัติการสนทนากับมิจฉาชีพ เป็นต้น รวมถึงมีการทำหนังสือมอบอำนาจปลอมเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยให้ทนายปลอมดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการทางคดีที่เกี่ยวข้องแทนผู้เสียหาย โดยมีค่าดำเนินการ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : คลิปต้มน้ำอัดลมบ่งบอกอันตราย จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปให้นำน้ำอัดลมไปต้มเคี่ยวจนเดือด เกิดปฏิกิริยาที่ดูน่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง พร้อมเตือนว่าเป็นการบ่งบอกว่า น้ำอัดลมมีอันตราย สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.ปรารถนา ตปนีย์ อาจารย์หลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลที่ผิด เมื่อต้มน้ำอัดลมปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นจริง แต่ไม่ได้เป็นตัวบอกว่าน้ำอัดลมอันตราย เป็นเพียงปฏิกิริยาคาราเมลไลซ์เท่านั้น และเหตุการณ์นี้ไม่เกิดขึ้นในกระเพาะอาหารเนื่องจากกระเพาะอาหาร ไม่มีการทำความร้อนแบบเดียวกับการนำไปต้ม”

1 35 36 37 38 39 202
...