OPEN BANKING | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

27 กรกฎาคม 2566 OPEN BANKING คืออะไร และจะมาเปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรมทางการเงินการธนาคารไปในทิศทางไหน และเกี่ยวข้องอะไรกับผู้ใช้บริการทางธนาคารอย่างเรา ๆ มาติดตามได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน มาร่วมมองอนาคตว่า ในอีก 3 – 5 ปีข้างหน้า รูปแบบการทำธุรกรรมทางธนาคารจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

เตรียมพร้อมสู่การธนาคารยุคใหม่ | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

26 กรกฎาคม 2023 คุณคิดว่า อนาคตของการเงินและการธนาคารเป็นอย่างไร ? จะมีหน้าตาเป็นแบบไหน และจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ติดตามได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน มาร่วมมองอนาคตว่า ในอีก 3 – 5 ปีข้างหน้า รูปแบบการทำธุรกรรมทางธนาคารจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไข้เลือดออก – สังเกตอาการ และ การรักษา

24 กรกฎาคม 2566 – ไข้เลือดออก โรคร้ายที่หลายคนละเลย เราจะรับมือและป้องกันได้อย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า “ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง แต่หากรุนแรงและรักษาไม่ทันก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ ปี 2566 ประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้น เดือนมกราคม – กรกฎาคม พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรวม 36,000 ราย เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาสูงขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยสัปดาห์ละ 5,000 ราย หากเทียบกับปี 2565 จะอยู่ในระดับ 1,000-2,000 ราย และพบผู้เสียชีวิตในประเทศ 32 ราย ส่วนมากเป็นผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงมาจากการได้รับวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกช้าหรือมีภาวะแทรกซ้อน อาการโรค โรคไข้เลือดออกอาจมีอาการแสดงเพียงไข้อย่างเดียว ซึ่งในบางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปวดเมื่อยตามตัว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : CYBERBULLYING

CYBERBULLYING หมายถึง การกลั่นแกล้ง ระราน คุกคามหรือกระทำใด ๆ ให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย หรือได้รับความทุกข์ใจ โดยมีวิธีดำเนินการผ่านทางโลกออนไลน์ กรณีนี้คือการนำข้อความหรืออะไรก็ได้มาโพสต์ผ่านทางโซเชียลมีเดีย เพื่อให้อีกฝ่ายเกิดความทุกข์ใจ หากรู้สึกว่ากำลังโดนบูลลี่ควรพักเว้นจากการเข้าโซเชียลและปรึกษาคนที่ไว้ใจ Cyberbullying มีผลกระทบที่ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสภาพร่างกาย หรือจิตใจ ทุกคนสามารถช่วยกันป้องกันได้ โดยการคิดก่อนจะโพสต์ คอมเมนต์ แชร์ หรือแชตอะไรไปว่าไม่เป็นการละเมิดหรือสร้างความรู้สึกไม่ดี บางครั้งความรู้สึกร่วม หรืออารมณ์ที่รุนแรงในขณะนั้น อาจจะทำให้พิมพ์ข้อความหรือแชร์บางอย่างที่ทำร้ายคนอื่นโดยที่บางครั้งไม่ทันรู้ตัวให้หยุดคิด ก่อนกดแชร์ กดโพสต์ ไปพัก ไปดื่มน้ำ หรือปรับอารมณ์สักพักแล้วกลับมาทบทวนสิ่งที่จะโพสต์ลงบนโลกออนไลน์อีกครั้งอาจจะทำให้ค้นพบว่าสิ่งที่จะโพสต์หรือแชร์นั้น มีบางส่วนข้อความ หรือภาพที่ทำร้ายคนอื่นได้

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เลสิก

23 กรกฎาคม 2566 –  เลสิกคืออะไร แก้ปัญหาสายตาได้อย่างไร มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เลสิก คืออะไร ? เลสิก เป็นการแก้ปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงโดยกำเนิด ให้หายกลับมาเป็นปกติได้ หลักการคือเจียระไนกระจกตาให้ได้ความโค้งที่ต้องการเพื่อปรับให้ภาพคมชัด แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดว่าคนไข้จะเข้ารับการรักษาด้วยเลสิกได้หรือไม่ คือ ความหนาและความแข็งแรงของกระจกตา ช่วงอายุที่เหมาะสมกับการทำเลสิก แพทย์แนะนำให้ทำเลสิกได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป เพราะเป็นอายุที่ค่าสายตาคงที่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ ความนิ่งของค่าสายตา ผู้ที่จะทำเลสิกได้นั้น ควรมีค่าสายตาที่ไม่เปลี่ยนแปลงแล้วอย่างน้อย 1 ปี ข้อดีของการทำเลสิก ทำให้ชีวิตสะดวกมากขึ้น เช่น นักกีฬา คนออกกำลังกายหรือคนเล่นกีฬาบางชนิด หรือเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจ ภาวะแทรกซ้อนของคนทำเลสิก อย่างไรก็ตาม สำหรับคนอยากทำเลสิก ต้องหาข้อมูลและตรวจสภาพตาอย่างละเอียดก่อนเลือกประเภทของการปรับค่าสายตา การตรวจประเมินสภาพตา จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก คนไข้ควรปรึกษาและวางแผนการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม สัมภาษณ์เมื่อ : 11 กรกฎาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย :  พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ยิ่งใส่แว่น สายตายิ่งแย่ลง จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความเรื่อง การยิ่งใส่แว่น จะยิ่งทำให้สายตาแย่ลง หรือตรงกันข้าม การไม่ใส่แว่น จะยิ่งทำให้สายตาแย่ลงด้วยนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “การใส่หรือไม่ใส่แว่นไม่ได้ทำให้ค่าสายตาแย่ลง แว่นสายตาเป็นเพียงตัวช่วยปรับให้แสงที่เข้าสู่ดวงตาไปตกที่จอประสาทตาพอดี จึงทำให้เห็นภาพชัดขึ้นถ้าสายตาผิดปกติแล้วรู้สึกว่ากระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น การเรียน การทำงาน การขับรถ ก็ควรจะไปตรวจเพื่อนำแว่นมาใส่”

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สมุนไพรและโรคไต จริงหรือ ?

20 กรกฎาคม 2566 – มีการแชร์เกี่ยวกับสมุนไพรและโรคไตเอาไว้มากมาย ทั้ง หญ้าพันงู หญ้าไผ่น้ำ ช่วยรักษาโรคไต และการดื่มน้ำผักชีช่วยล้างไตได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่  1 : กระชายโสมเมืองไทย ยาอายุวัฒนะ รักษาโรคไต จริงหรือ ? มีการแชร์แนะนำสรรพคุณของกระชาย เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงไต รักษาโรคไต บำรุงสมอง มีคุณค่าสูงกว่านมหลายเท่า ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : น.อ.นพ.พงศธร คชเสนี ประธานคณะอนุกรรมการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และ รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “ไม่มีงานวิจัยรองรับว่ากระชายปั่นรักษาโรคได้ การกินกระชายทำให้รู้สึกร้อน กระชุ่มกระชวย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แต่ไม่ได้ช่วยบำรุงหรือรักษาโรคไตตามที่แชร์กัน ” อันดับที่ 2 : หญ้าไผ่น้ำแก้โรคไต จริงหรือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 5 ข้อห้ามทำร้ายรถเกียร์ออโต้ จริงหรือ?

18 กรกฎาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คำเตือนว่ามี 5 สิ่งที่ห้ามทำสำหรับผู้ใช้รถเกียร์อัตโนมัติ หรือเกียร์ออโต้ เช่น ห้ามใช้เกียร์ว่างขับลงเขานั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นาย สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Q : ห้ามเปลี่ยนเกียร์ D เป็น R ขณะที่รถยังไม่หยุดนิ่ง จริงหรือ ? A : จริง ✅ การเข้าเกียร์ R (ถอยหลัง) ทุกครั้งจะต้องรอให้รถหยุดนิ่งก่อน เพื่อเป็นการถนอมเกียร์ และป้องกันการเสียหายต่อชุดเฟือง ชุดคลัชของเกียร์ แต่ในรถยนต์รุ่นใหม่หัวเกียร์ถูกปรับเป็นแบบจอยสติ๊ก หากเกิดเหตุเผลอเปลี่ยนเกียร์เป็นเกียร์ R ระหว่างรถกำลังวิ่งอยู่ ตำแหน่งเกียร์ก็จะไม่เปลี่ยน Q : ห้ามออกตัวแบบรถซิ่ง ทำให้เกียร์สึกหรอและเป็นอันตราย จริงหรือ ? A : จริง […]

กองทุนสื่อเผย 2 ทีมชนะเลิศ TMF-Hackathon ผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ พร้อมเงินสนับสนุน

กรุงเทพฯ 20 ก.ค. 66 – กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้จัดงานแถลงข่าวความสำเร็จของโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ “Thai Media Fund Hackathon 2023” เพื่อสร้างผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์สู่ธุรกิจ Start Up ร่วมกับภาคีผู้ร่วมจัดทำโครงการ “Thai Media Fund Hackathon 2023” โดยมีจุดประสงค์ เพื่อสร้างผู้ประกอบการ Start Up และ SMEs เป็นต้นแบบในการพัฒนาผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ให้สามารถผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ขึ้นได้เป็นอย่างดี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า นับตั้งแต่วันเปิดตัวโครงการพัฒนาผู้ประกอบการสื่อรายใหม่ “Thai Media Fund Hackathon 2023” ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566  ที่ผ่านมา นับเป็นเวลากว่า 5 เดือน ที่ได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือก และเป็นผู้ให้คำแนะนำในการ Phitching วัตถุประสงค์ของกองทุน คือ การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จากสิ่งที่เป็นคุณค่าให้มีมูลค่า สร้างโอกาส สร้างธุรกิจ สร้างคน นับเป็นเป้าหมายสูงสุด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สะพานไทย-เบลเยี่ยมแอ่น งดใช้ จริงหรือ ?

20 กรกฎาคม  2566 ตามที่มีการแชร์เตือน สะพานไทย-เบลเยี่ยมแอ่น งดใช้ นั้น 📌บทสรุป : ❌ ข้อมูลเก่าวนซ้ำ ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ทวิตเตอร์ของ จส.100 ได้ยืนยันว่า ข้อความดังกล่าว เป็นข้อมูลเก่า ไม่ควรแชร์ต่อ รวมถึง สำนักการโยธาได้ยืนยันผ่านเพจเฟซบุ๊กกรุงเทพมหานคร ว่า ข้อความเตือนที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยสำนักการโยธา ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ไม่พบความผิดปกติ สะพานมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถใช้งานได้ตามปกติ    👉  อย่างไรก็ตาม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ในปี 2562 เพจเฟซบุ๊ก จส.100 มีการโพสต์รูปภาพ พร้อมข้อความระบุว่า “อันตรายไปหน่อย จุดยูเทิร์นแยกวิทยุ ถ.พระราม4 มีชิ้นส่วนสะพานไทยเบลเยี่ยมชำรุด กลัวจะหล่นลงมา”  ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามารื้อชิ้นส่วนที่ไม่ปลอดภัยออกจากพื้นที่ รวมถึงปิดซ่อมและดำเนินการปรับปรุงเรียบร้อยแล้วในปีเดียวกัน  ❌ดังนั้นข้อความที่แชร์กันนี้ไม่เป็นความจริง งดส่งต่อข้อมูลที่สร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง❌ 20 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : BURNOUT ? — โรคใหม่ในยุคปัจจุบัน

15 กรกฎาคม 2566 สิ่งนี้… มักเกิดขึ้นในช่วง learn and work from home สิ่งนี้…องค์การอนามัยโลก ได้ขึ้นทะเบียนรับรองให้เป็นโรคใหม่ในยุคปัจจุบัน และ สิ่งนี้… เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั่วโลก คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล BURNOUT คืออะไร ? คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียด จนบางครั้งรู้สึกมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย ไม่หยิบจับทำอะไร รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองงานที่กำลังอยู่ในเชิงลบ ขาดความสุข สนุกในเนื้องาน หมดแรงจูงใจประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง บางรายอาจรู้สึกเหินห่างจากเพื่อนร่วมงาน จนทำให้ความมีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน เบิร์นเอาต์ไม่ใช่แค่เรื่องของวัยทำงาน ในปัจจุบันภาวะ BURNOUT ส่งผลมาถึงเด็กและเยาวชน เกิดจากเร่งเรียน เรียนเร็ว เรียนหนัก และภาวะ BURNOUT ในเด็ก ส่งผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้เด็กขาดการออกกำลังกาย ขาดแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เบื่อเรื่องการเรียนไปเลย […]

อธิปไตยไซเบอร์ (Cyber Sovereignty) | ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

15 กรกฎาคม 2566 ในยุคที่โลกไร้พรมแดน การใช้อินเทอร์เน็ต ก็ต้องมีอธิปไตยไซเบอร์ เพื่อปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของเรา แล้วอธิปไตยไซเบอร์คืออะไร ถ้าเราโดนลุกล้ำหรือสูญเสียจะมีผลเสียมากน้อยแค่ไหน และจะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร ติดตามได้ในได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

1 36 37 38 39 40 199
...