ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CRYPTOJACKING ? — ภัยคุกคามที่มาแรงในปัจจุบัน

14 ตุลาคม 2566 สิ่งนี้…กลายเป็นตัวเลือกภัยคุกคามในปัจจุบัน ที่สร้างรายได้ให้กับอาชญากรทางไซเบอร์เป็นจำนวนมาก และ สิ่งนี้…มีรายงานพบว่าเกิดขึ้นกว่า 8 ล้านครั้งต่อวัน และมีปริมาณเพิ่มขึ้นทั่วโลก คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัย สัมภาษณ์เมื่อ : 14 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และจิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้ได้อย่างไร ตับคั่งไขมัน

13 ตุลาคม 2566 – ตับคั่งไขมัน หรือที่หลายคนเรียกว่า ไขมันพอกตับ เมื่อโภชนาการเกิน ทำให้เกิดพังผืดในตับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคนี้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 22 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สูตรน้ำผักผลไม้ บำรุงร่างกาย โรคร้ายหาย จริงหรือ ?

11 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับน้ำผักผลไม้เอาไว้มากมาย บ้างก็ว่าน้ำผักบุ้ง-มะเฟืองปั่น รักษาต่อมลูกหมากโต และการดื่มน้ำมะพร้าวแก้บ้านหมุนได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่  1 : น้ำกระชายแก้กระดูกเสื่อมได้ จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อมูลวิธีรักษาโรคกระดูกเสื่อม ด้วยการดื่มน้ำกระชาย ผสมน้ำผึ้งมะนาว บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ รองผู้อำนวยการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูก แคลเซียมมีคุณสมบัติทำให้กระดูกแข็งแรง ไม่ละลายในน้ำ “กระชาย” มีแคลเซียมเพียง 2-3% ที่ร่างกายต้องการต่อวัน นอกจากไม่มีฤทธิ์รักษาโรคกระดูกเสื่อมแล้ว หากกินต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำอันตรายต่อตับ ควรกินอาหารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบจะมีประโยชน์กว่า อาทิ ปลาตัวเล็ก นม ฯลฯ ลดการสูญเสียแคลเซียมด้วยการลดอาหารรสเค็ม สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ แชร์ว่าผู้ป่วยโรคกระดูกเสื่อมเฉียบพลันจะหายดีเมื่อกินน้ำกระชาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เพจปลอม หลอกขายกล่องสุ่ม สุดท้ายหลอกโอนเงิน

11 ตุลาคม 2566 สายกล่องสุ่มต้องระวัง ! เพราะตอนนี้มีมิจฉาชีพได้เกาะกระแสเทรนด์กล่องสุ่ม ด้วยการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมให้คล้ายกับเพจชื่อดังที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก และโพสต์ข้อความในลักษณะเชิญชวนให้ร่วมกิจกรรมซื้อกล่องสุ่มในราคา กล่องละประมาณ 1,000 บาท โดยอ้างว่ามีสิทธิที่จะได้รับรางวัลใหญ่ต่าง ๆ เช่น เงินสด รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ทองคำ เป็นต้น หลังจากที่ผู้เสียหายหลงเชื่อซื้อกล่องสุ่มดังกล่าวไปแล้ว มิจฉาชีพจะส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์มาแจ้งผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลเป็นทองคำ น้ำหนัก 5 บาท แต่ผู้เสียหายจะต้องทำการโอนเงินค่าภาษี 5,000 บาท และค่าประกันทองคำ 9,900 บาท มาให้เสียก่อนถึงจะได้รับทองคำดังกล่าว นอกจากนี้มิจฉาชีพยังแจ้งว่า หากผู้เสียหายเลือกรับเป็นเงินสดแทนทองคำจะได้เงินสด จำนวน 165,000 บาท และต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมอีก 12,000 บาท ผู้เสียหายบางรายหลงเชื่ออยากได้ทองคำจึงโอนไปให้มิจฉาชีพสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨ขอเตือน ก่อนร่วมกิจกรรมใด ๆ ขอให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า เพจเฟซบุ๊กนั้นเป็นของจริง รวมถึงระมัดระวังการหลงเชื่อข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ที่แจ้งว่าได้รับรางวัลหรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ หากมีการให้โอนเงินไปก่อนที่จะได้รับรางวัล ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพอย่างแน่นอน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์

11 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำกิจกรรม หรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย หลอกลวงทรัพย์สินได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบายการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ จากสถิติของศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่ามีเฟซบุ๊ก 7 รูปแบบที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอก ดังนี้ 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์ 1.เพจหน่วยงานราชการปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นข้าราชการระดับสูง สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางคดี ให้บริการรับแจ้งความ หรือร้องทุกข์ออนไลน์ รวมถึงการรับทำเอกสารราชการออนไลน์ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ บัตรประจำตัวประชาชน อ่านบทความอุบายหลอกแจ้งความปลอม : ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน , ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ? 2.เพจบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม หุ้นปลอม ชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงินดิจิทัล เงินสกุลต่างประเทศ หุ้นพลังงาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ดื่มน้ำเย็น ทำให้ไขมันจับตัวเป็นก้อน จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปเตือนว่า การดื่มน้ำเย็นจะทำให้ไขมันจับตัวแข็งอุดตันในร่างกายนั้น สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับดร.วราภรณ์ มลิลาศ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เมื่อน้ำเย็นเจออุณหภูมิในปากจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อร่างกายคือ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งไขมันไม่สามารถเป็นไขได้ในอุณหภูมิดังกล่าว ภาพที่เห็นในคลิปเป็นเพียงการทดลองว่าเมื่อน้ำบางประเภทถูกอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจะทำให้เป็นไข หากใช้น้ำอุ่นเลียนแบบอุณหภูมิร่างกายก็ไม่มีผลให้เกิดเป็นไข จึงควรระวังการกินไขมันมากกว่ากลัวว่าไขมันจะจับตัวเป็นไขในร่างกาย อย่างไรก็ตาม แม้น้ำเย็นจะสร้างความสดชื่นเวลาออกกำลังกาย แต่ควรกินน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่นมากกว่าน้ำเย็น เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานที่ต้องปรับอุณหภูมิที่เย็นเข้าสู่อุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกาย

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังเบอร์โทรอันตราย จริงหรือ ?

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เรื่อง เบอร์อันตราย ห้ามรับสายเด็ดขาด หากรับสายจะเป็นการยืนยันสมัครสมาชิก ทำให้เสียเงินทุกเดือนนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ⚠️ เบอร์โทรนี้ เคยเป็นข่าวในอดีต ⚠️ คือ เป็นของบริษัทให้บริการเนื้อหาเสียงแห่งหนึ่ง ที่เคยถูกร้องเรียนเกี่ยวกับการยกเลิกบริการได้ยากแต่ต่อมาได้มีการชี้แจงและแก้ไขแล้ว ตั้งแต่ราวปี 2558 อย่างไรก็ตาม ข้อความที่แชร์กัน มีส่วนที่คลาดเคลื่อน คือ การรับสายในประเทศไทย ไม่มีผลทำให้เสียค่าบริการ หรือเป็นการสมัครบริการโดยอัตโนมัติแต่อย่างใดจะต้องมีการกดยืนยันการสมัครก่อนเสมอและการจำเพียงเบอร์โทรต่าง ๆ นั้น ก็อาจจะไม่สามารถป้องกันได้ 100% เพราะมีเบอร์โทรอีกมากมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพียงเข้าใจหลักการ และ ไม่หลงกดปุ่มตามโดยทันที ที่อาจมีเบอร์โทรใดโทรมาเชิญชวนหรือเร่งเร้าให้กดยืนยันสิทธิ์ ดูเพิ่มเติม 18 พ.ค. 2564ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท ———– ข้อความที่แชร์กัน ————-บอกเพื่อนของคุณทุกคนเพื่อป้องกันการถูกแฮ็ก ทักทายด้วยคำพูดของคุณเองและส่งเฉพาะภาพและวิดีโอที่คุณสร้างขึ้นเพื่อทักทายคุณเท่านั้นสิ่งนี้ปลอดภัยสำหรับคุณครอบครัวและเพื่อนของคุณ โปรดเข้าใจว่าฉันหมายถึงอะไรให้ถูกต้อง! โทรศัพท์มือถือของทุกคนแนบบัตรธนาคารและโทรศัพท์มือถือของทุกคนมีรายชื่อติดต่อมากมาย รูปภาพทักทายแบบนี้ที่แฮกเกอร์สร้างขึ้นไม่เพียง แต่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อตัวคุณเอง แต่ยังคุกคามผู้ติดต่อทั้งหมดในโทรศัพท์เพื่อนและคนรู้จัก นี่คือความจริงที่โหดร้าย! ‼️ ! ‼️ ! […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถยนต์เกียร์ออโต้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ จริงหรือ ?

ไม่จริง ไม่ควรแชร์

น้ำมันเกียร์เมื่อใช้ไปสักพักจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม นาน ๆ เข้าก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำ และยังเหนียวหนืดกว่าเดิมอีกด้วย ซึ่งจะเกิดความร้อนในการทำงานของระบบเกียร์ และเศษโลหะที่เข้าไปปะปน จึงทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพลง

ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

9 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ เช่น อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ จุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร จุกชายโครงขวา นอนไม่หลับ และคันตามผิวหนังนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย เนื่องจากอาการตับคั่งไขมัน หรือไขมันพอกตับส่วนใหญ่มักไม่มีสัญญาณบอกเหตุ ดังนั้นจึงไม่ควรกังวลเกินไปแต่หากสงสัยแพทย์มีวิธีสังเกต ดังนี้ 1. มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 (BMI > 23) หรือไม่ ? 2. ดูโรคร่วมว่ามีเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือไม่ ? 3. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ค่าตับสูงหรือไม่ ? ข้อความที่แชร์มา 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ สัมภาษณ์เมื่อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุโรคตับคั่งไขมัน

2 ตุลาคม 2566 – ไขมันพอกตับ หรือ ตับคั่งไขมัน โรคที่หลายคนอาจเป็น แต่อาจไม่รู้ตัว โรคนี้เป็นอย่างไร และมีสาเหตุมาจากอะไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย สาเหตุของโรคตับคั่งไขมัน 1.กลุ่มโภชนาการเกิน โรคอ้วน ส่วนมากผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันมักมีรูปร่างอ้วนและมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน ทำให้เกิดการสะสมไขมันที่ตับ 2.กลุ่มสัมพันธ์โดยตรงกับโรคเบาหวาน ภาวะนี้มักเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพราะร่างกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการอักเสบของตับสูง ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของตับ นำไปสู่โรคตับคั่งไขมันได้ 3.กลุ่มซ่อนรูป คนที่มีรูปร่างผอมเพรียวก็อาจตรวจพบโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดมาจากพันธุกรรมเป็นเบาหวาน โรคตับคั่งไขมันอาการมักค่อยเป็นค่อยไป ทำให้หลายคนไม่ทราบว่ากำลังมีภาวะดังกล่าว ถึงแม้ว่าคนที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคตับคั่งไขมัน แต่ถ้าหากพูดถึงอาหารในแง่ของการเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคด้วยที่มีปัญหาเรื่องโรคตับคั่งไขมัน มักมีไขมันสะสมในเลือดสูง หลักการรักษาทำได้โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง ในกรณีผู้ป่วยเบาหวานให้ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สัมภาษณ์เมื่อ : 22 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : กล้วยเป็นสีดำ มีปรสิต ห้ามกิน จริงหรือ ?

6 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการคลิปและคำเตือนว่า กล้วยที่สุกจนเปลือกเป็นสีดำ เมื่อนำไปส่องกล้องจะพบว่ามีปรสิต พยาธิของหนอนแมลงวัน อันตรายสุด ๆ นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบ ผศ.ดร.เบญจคุณ แสงทองพราว อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในคลิปเป็นปรสิต จริงหรือ ?ตอบ : ไม่ใช่ปรสิตหรือพยาธิแต่อย่างใด จริง ๆ แล้วเป็นหนอนแมลงวัน อาจารย์อธิบายว่า ในคลิปเป็นหนอนแมลงหวี่ แมลงหวี่เป็นแมลงวันอีกวงศ์หนึ่ง ที่มีขนาดเล็ก มักชอบตอมผลไม้ที่สุกงอม แมลงหวี่ก็มักจะมาตอม และวางไข่ ก็จะมีตัวหนอนมาชอนไชในเนื้อผลไม้ที่เราตั้งทิ้งไว้ กล้วยเป็นสีดำ เป็นกระบวนการค่อย ๆ เน่าโดยธรรมชาติแต่ไม่ใช่จุดดำจะมีหนอนเสมอไป และไม่ควรกินเมื่อผลไม้เริ่มเน่าเพราะอาจจะมีเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ปะปนอยู่ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : QUEERBAITING ? — การตลาดเจาะกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

7 ตุลาคม 2566 – สิ่งนี้…เป็นกลยุทธ์การตลาดที่นำอัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศมาเป็นจุดขาย ดึงดูดผู้คน และ สิ่งนี้…นำมาซึ่งเสียงสะท้อน ทำให้เกิดภาพจำแบบเหมารวม ด้วยความเข้าใจผิด ต่อความหลากหลายทางเพศ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

1 31 32 33 34 35 202
...