ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : QUEERBAITING ? — การตลาดเจาะกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

7 ตุลาคม 2566 – สิ่งนี้…เป็นกลยุทธ์การตลาดที่นำอัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศมาเป็นจุดขาย ดึงดูดผู้คน และ สิ่งนี้…นำมาซึ่งเสียงสะท้อน ทำให้เกิดภาพจำแบบเหมารวม ด้วยความเข้าใจผิด ต่อความหลากหลายทางเพศ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนไม่หลับ

8 ตุลาคม 2566 – การนอนไม่หลับทางการแพทย์เป็นยังไง เราจะต้องรักษาและปรับวิธีพฤติกรรมอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวังเพจปลอม ! ชวนลงทุน แอบอ้าง AIS

7 ตุลาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ภาพโฆษณา “AIS ชวนลงทุนผ่านสื่อออนไลน์ รับผลตอบแทนสูง” นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อเพจปลอม แอบอ้างผู้บริหารของ AIS 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บริษัท AIS ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความและภาพโฆษณาดังกล่าวไม่เป็นความจริง และทางบริษัทฯ ไม่มีนโยบายและไม่มีการโฆษณา เชิญชวนการลงทุนผ่านช่องทางออนไลน์ หรือสื่อโซเชียลต่าง ๆ ทั้ง เฟซบุ๊ก (Facebook) หรือ ไลน์ (LINE) ทั้งสิ้น 🎯อุบายของคนร้าย จะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมและจ่ายเงินซื้อโฆษณา ทำให้คนเห็นจำนวนมาก จงใจใช้ภาพโลโก้และภาพผู้บริหารของ AIS เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ รวมถึงใช้คำโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่เป็นความจริง ทั้ง การเทรดหุ้นระยะสั้นให้ผลตอบแทนสูงและมือใหม่ก็ลงทุนได้แม้ทุนน้อย หากสนใจจะต้องติดต่อผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งจะมีคนร้ายอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ จากนั้นจะหลอกล่อให้ผู้เสียหายโอนเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ 🎯ในข่าวประชาสัมพันธ์ของ AIS ระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการนำข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: โจรอ้าง กสทช. ใช้ซิมผิดกฎหมาย หลอกโอนเงินเกลี้ยง

6 ตุลาคม 2566 ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถือเป็นหนึ่งในอาชญกรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเสียหายให้กับคนจำนวนมาก มีรูปแบบการทำงานเป็นขบวนการ แบ่งหน้าที่กันทำ ทั้งการหลอกลวงผู้เสียหายให้เกิดความหวาดกลัว ใช้ความไม่รู้ของผู้เสียหายเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนในสังคม เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งสินค้า และแจ้งไปยังผู้เสียหายว่าบัญชีธนาคาร หรือพัสดุที่จัดส่งไปยังต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดกฎหมาย บัญชีธนาคารถูกอายัด หรือเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด รวมถึงหลอกสอบถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้วยังมีการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของหน่วยงานปลอมที่สามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือและโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหายได้ และตอนนี้อุบายล่าสุดที่คนร้ายใช้ในการหลอกผู้เสียหาย คือ การแอบอ้างเป็นพนักงานผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดกลโกงกระบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้าง กสทช. ! เริ่มต้นมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหาย พร้อมบอกชื่อ นามสกุลอย่างถูกต้อง และแจ้งว่าผู้เสียหายได้เปิดใช้บริการซิมโทรศัพท์มือถือในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล โดยหมายเลขที่เปิดใช้บริการในชื่อของผู้เสียหายนั้น ถูกนำไปใช้กระทำผิดกฎหมาย หรือถูกนำไปใช้หลอกลวงบุคคลอื่น โดยแจ้งอีกว่า หากผู้เสียหายไม่ได้เป็นผู้เปิดใช้บริการ ให้ไปดำเนินการแจ้งความยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ถูกเปิดใช้งานดังกล่าว แต่หากไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถทำการแจ้งความออนไลน์ผ่านช่องทางไลน์ของสถานีตำรวจดังกล่าวได้ เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดต่อไปยังไลน์สถานีตำรวจซึ่งถูกมิจฉาชีพปลอมขึ้นแล้ว ระหว่างการติดต่อ ผู้เสียหายจะได้รับแจ้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ต้องทำการโอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : ระวังมุกใหม่ ! รับสมัครนักพากย์เสียง ที่แท้หลอกโอนเงิน

6 ตุลาคม 2566 จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – วันที่ 30 กันยายน 2566 พบว่า การหลอกลวงโอนเงินเพื่อหารายได้เสริมจากการทำกิจกรรม มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 44,250 เรื่อง หรือคิดเป็น 13.20% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 2 รองจากการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์ โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 5,425 ล้านบาท สูงเป็นลำดับที่ 3 ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด รองลงมาจากการหลอกลวงให้ลงทุน และการหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (แก๊ง Call Center) และตอนนี้หนึ่งในกลโกงที่มิจฉาชีพนำมาใช้หลอกผู้เสียหาย คือ การรับสมัครนักพากย์เสียงผ่านทางสื่อออนไลน์ โดยใช้รูปนักแสดงหญิงชื่อดังมาแอบอ้าง ทำให้มีคนหลงเชื่อและสูญเสียเงิน วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า กระบวนการของมิจฉาชีพเป็นอย่างไร สร้างเพจปลอม ยิงโฆษณา หลอกทำภารกิจและให้โอนเงินก่อน ! เริ่มจากมิจฉาชีพจะสร้างบัญชีสื่อออนไลน์ปลอม ทั้ง  Facebook Page Instagram […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถติดแก๊ส ระบบน้ำมันเสียหาย เพราะไม่เติมน้ำมัน จริงหรือ ?

3 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำเตือนเกี่ยวกับรถยนต์ที่ดัดแปลงติดตั้งระบบแก๊ส ว่า ถ้าไม่เติมน้ำมันเลย ปล่อยให้ถังน้ำมันแห้ง จะทำให้ระบบน้ำมันเกิดความเสียหายได้นั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ อธิบายว่า “โดยปกติควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิงไว้อย่างน้อย 1 ใน 4 ของถังน้ำมัน เพื่อรักษาคุณภาพของเครื่องยนต์ที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำมันไม่ให้เสื่อมสภาพ และควรสตาร์ตหรือดับเครื่องยนต์ ด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่เสมอ แต่หากปล่อยให้น้ำมันใกล้หมดถังอยู่บ่อย ๆ อาจทำให้ปั๊มเชื้อเพลิง หรือ ปั๊มติ๊ก ที่ทำหน้าที่ดูดน้ำมันจากถังส่งไปยังระบบหัวฉีดของเครื่องยนต์ดูดอากาศปะปนเข้ามากับน้ำมัน ทำให้เครื่องยนต์มีอาการสะดุด เร่งไม่ขึ้น สตาร์ตติดยาก และส่งผลให้ปั๊มเชื้อเพลิงมีอายุการใช้งานสั้นลง เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงในถังจะทำหน้าที่ช่วยในการระบายความร้อนให้แก่ปั๊มเชื้อเพลิงอีกด้วย” * ปั๊มติ๊ก คือ ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์เบนซิน ทำงานโดยใช้หลักการตัดต่อกระแสไฟฟ้าที่ป้อนให้กับขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้แผ่นไดอะเฟรมขยับตัวเข้าออก เมื่อประกอบเข้ากับชุดลิ้นปิด-เปิด การขยับตัวของแผ่นไดอะเฟรมจะเกิดแรงดูด และแรงดันทำให้สามารถดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังเชื้อเพลิงป้อนให้กับระบบเชื้อเพลิง ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปนวดท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก จริงหรือ ?

5 ตุลาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปกดนวดบริเวณดวงตาของทารก เพื่อรีดเอาน้ำตาที่ค้างในท่อน้ำตาออก ช่วยรักษาอาการท่อน้ำตาอุดตันได้นั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ตามคลิปที่แชร์มาเป็นวิธีพิสูจน์อาการท่อน้ำตาอุดตันแต่กำเนิดของเด็กทารก ในคลิปเป็นการนวดโดยผู้เชี่ยวชาญ ไม่แนะนำให้ผู้ที่ไม่มีทักษะทำตามเพราะอาจจะเกิดความบอบช้ำกับทารกได้” สัมภาษณ์เมื่อ : 19 กันยายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ตั้งค่า iOS อย่างไรให้ปลอดภัย| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

การตรวจสอบด้านความปลอดภัย ฟีเจอร์นี้คืออะไร และเมื่อเราตั้งค่าสิ่งนี้แล้ว จะทำให้เราปลอดภัยมากขึ้นแค่ไหน มารู้จักฟีเจอร์ใหม่ที่มีในระบบ iOS และตั้งค่าไปพร้อม ๆ กันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้ในชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน * สำหรับผู้ใช้งานในระบบปฏิบัติการ iOS **ในขณะรับฟัง สามารถตั้งค่าตามที่ระบุไว้ใน Podcast ได้เลย #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : น้ำมะนาวรักษาต้อเนื้อ จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความว่า “ตาต้อเนื้อ” หรือต้อเนื้อที่เกิดขึ้นในตานั้นสามารถใช้น้ำมะนาวหยอดตารักษาได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.สมเกียรติ อธิคมกุลชัย จักษุแพทย์ โรงพยาบาลเอกชัย, นพ.นนท์ รัตนิน จักษุแพทย์ โรงพยาบาลจักษุรัตนิน และ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ไม่มีส่วนประกอบใดในน้ำมะนาวที่ทำให้ต้อเนื้อเล็กลง หายไป หรือหลุดออกมาได้ และน้ำมะนาวมีฤทธิ์ป็นกรด อาจทำให้แสบตา ระคายเคืองตาและเป็นอันตรายต่อเยื่อบุตาได้”

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความเตือน ไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง เพราะจะกัดกระเพาะและทำให้ท้องอืดได้ ? บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.ภญ.พิมพิกา กาญจนดำเกิง ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล “นมเป็นกรดอ่อน ๆ จนเกือบไม่ต่างกับเป็นกลาง ไม่สามารถกัดกระเพาะได้ สำหรับคนสุขภาพดีทั่วไปสามารถกินนมตอนท้องว่างได้ ยกเว้นผู้ที่มีน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่เพียงพอ และคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเพราะจะทำให้รู้สึกไม่สบายท้องหรือท้องอืดได้ การกินสิ่งต่าง ๆ อาจส่งผลต่อร่างกายของแต่ละคนได้แตกต่างกัน”

ป้องกัน… แอปปลอม (กรณีสายชาร์จดูดเงิน)| ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST | THE CYBER MINDSET

กระแสสายชาร์จดูดเงินทำเอาหวั่นกันไปทั่วทั้งผู้ใช้งานระบบ iOS และ Android โดยเฉพาะความกังวลของผู้ใช้งาน Android เกี่ยวกับสายชาร์จว่าสามารถดูดเงินได้จริงหรือไม่ มาไขข้อสงสัยได้ใน ชัวร์ก่อนแชร์ PODCAST ซีรีส์ THE CYBER MINDSET กับ “อาจารย์ปริญญา หอมเอนก” ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินรายการโดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ซีรีส์ THE CYBER MINDSET จะนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยตอบข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวในโลกไซเบอร์ที่อาจใกล้ตัวคุณผู้ฟังมากกว่าที่คิด เพื่อลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมทางออนไลน์และเสริมภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้ไม่ตกเป็นเหยื่อจากความไม่รู้เท่าทัน #THECYBERMINDSET #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST รู้ทันไซเบอร์ สร้างความเข้าใจ ใช้งานปลอดภัยไปกับ #ชัวร์ก่อนแชร์PODCAST พอดแคสต์ที่จะช่วยให้คุณรู้เท่าทันสื่อ สังคม ภัยไซเบอร์และเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จัดทำโดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่อง โซดารักษาโรค จริงหรือ ?

4 ตุลาคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับโซดาเอาไว้มากมาย บ้างก็ว่าดื่มโซดาจะช่วยย่อยอาหาร บ้างก็บอกว่ามะนาวโซดารักษามะเร็งได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : มะนาวโซดารักษามะเร็ง จริงหรือ ? มีการแชร์กันว่า การดื่มเครื่องดื่มมะนาวผสมโซดาเป็นประจำจะสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.ทพ.ญ.ดุลยพร ตราชูธรรม อาจารย์ด้านพิษวิทยา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล “มะนาวโซดาไม่ได้ช่วยรักษามะเร็งและไม่ควรกินมะนาวโซดาตอนท้องว่างเพราะมีฤทธิ์เป็นกรด อาจมีการระคายเคือง กัดกระเพาะ และฟันสึกกร่อนได้ ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนให้ระวังการกดแชร์ข้อมูลอาหารรักษามะเร็ง อาจไม่ได้ช่วยชีวิตคนดังที่ตั้งใจ การป้องกันมะเร็งกับการรักษามะเร็งคนละอย่างกัน ที่บอกว่าอาหารนั้นอาหารนี้รักษามะเร็งนั้นคือการรักษาตัวคนไข้มะเร็งได้ แต่ถ้าบอกว่ารักษาตัวโรคมะเร็งก็ไม่ควรแชร์ถ้าไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน เพราะจะทำให้คนที่มีโอกาสไปรักษาที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว และมีข้อพิสูจน์แล้วว่าได้ผล ทำให้เขาเสียโอกาส” อันดับที่ 2 : ล้างหน้าด้วยโซดากระชับรูขุมขน จริงหรือ ? มีการแชร์แนะนำวิธีการล้างหน้าที่ช่วยกระชับรูขุมขน ด้วยการล้างหน้าโดยใช้โซดา บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา (หน่วยผิวหนัง) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]

1 29 30 31 32 33 199
...