ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต คลิปเตือน อาหารปลอม ต้องระวัง จริงหรือ ?

6 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับคำเตือนอาหารปลอมเอาไว้มากมาย ทั้งให้ระวังสาหร่ายที่ทำมาจากถุงดำ อีกทั้งยังมีเนื้อปลอม ไข่ปลอม และข้าวสารปลอมจากพลาสติกอีกด้วย ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : คลิปเตือน เนื้อปลาปลอม จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปเตือนให้ระวังเนื้อปลาปลอม มีวางขายตามท้องตลาดแล้ว บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล “ในคลิปไม่ใช่ปลาปลอม แต่เป็นปลาแช่แข็งที่ไม่ได้คุณภาพ ทำให้เนื้อปลาแห้งคล้ายฟองน้ำหรือพลาสติก ปัจจัยหนึ่งเกิดจากบริเวณเนื้อปลาสัมผัสกับความเย็นมากเกินไป ทำให้ผิวปลาหยาบกระด้าง แผ่นหนังของปลาจะแข็งเพราะความเย็นจะดูดน้ำออก ทั้งนี้ ปลาแช่แข็งที่วางจำหน่ายจะแช่แข็งด้วยกรรมวิธี Quick Freezing (การแช่เยือกแข็งแบบเร็ว) มีการกำหนดอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ทำให้โปรตีนในเนื้อสัตว์แปรสภาพไปมากนัก บางครั้งโรงงานผลิตจะเติมสารป้องกันการแข็งตัวของน้ำแข็งไม่ให้มีขนาดใหญ่มากเกินไป จึงยังคงสภาพเนื้อสัตว์ได้ดี ข้อปฏิบัติสำหรับซื้อปลามาแช่แข็ง ต้องใส่เนื้อปลาในถุงหรือภาชนะที่ถูกอากาศน้อยที่สุด, หั่นปลาชิ้นไม่ใหญ่เกินไปเพื่อให้เย็นเร็วขึ้น, ไม่ควรแช่แข็งไว้นานเกิน 2 เดือน ก่อนนำมาปรุงอาหารควรละลายน้ำแข็งทิ้งไว้ในช่องธรรมดาก่อน 1 คืน เพื่อไม่ให้เนื้อปลาเปลี่ยนสภาพมากเกินไป แต่ห้ามแช่น้ำร้อน” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจสาเหตุเด็กมองไม่เห็นกะทันหัน

3 ธันวาคม 2566 ตามองไม่เห็นกระทันหันในเด็ก เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และจะต้องรักษาอย่างไร ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : MILKSHAKE DUCK ? — เปรียบวัฒนธรรมหนึ่ง ทางอินเทอร์เน็ต

2 ธันวาคม 2566 สิ่งนี้…เคยถูกยกเป็นคำศัพท์แห่งปี จากพจนานุกรมแมกควารี และสิ่งนี้… เป็นวลีหนึ่งที่เปรียบได้กับวัฒนธรรมทางอินเทอร์เน็ต อันเกี่ยวกับผู้มีชื่อเสียงชั่วข้ามคืน คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แผลที่กระจกตา หรือ กระจกตาติดเชื้อ

1 ธันวาคม 2566 แผลที่กระจกตา เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง อันตรายแค่ไหน และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : หัวไชเท้า ล้างหลอดเลือด บำรุงหัวใจ ไล่มะเร็ง จริงหรือ ?

4 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์แนะนำว่า หัวไชเท้า เป็นอาหารทางการแพทย์ เสริมภูมิคุ้มกัน กำมะถันจะขับไล่เชื้อโรค ล้างคราบจากหลอดเลือด บำรุงหัวใจ ขับไล่มะเร็ง ฟื้นฟูตับไต และใบหัวไชเท้ายังกำจัดสารพิษจากร่างกายได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ คุณสมบัติตามที่แชร์มายังไม่มีการวิจัยในคน ดังนั้นจึงยังไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 17 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 5 สิ่งควรคำนึง ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า จริงหรือ ?

5 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 5 ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เช่น ดูขนาดของแบตเตอรี่ และ ดูไลฟ์สไตล์การใช้งานรถยนต์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : เปลี่ยนสีดวงตา ทำได้จริงหรือ ?

30 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปการเปลี่ยนสีดวงตา บริเวณรอบ ๆ รูม่านตา จากสีน้ำตาลเป็นสีฟ้า หรือสีอื่น ๆ ได้นั้น บทสรุป :  จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า ทางการแพทย์มีวิธีการเปลี่ยนสีม่านตาได้ แต่แพทย์จะใช้รักษาคนไข้ในบางกรณีเท่านั้น จึงไม่แนะนำให้ทำตามแฟชั่น ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ ในคลิปที่แชร์มาเป็นการเปลี่ยนสีดวงตา เรียกว่า corneal tattoo เป็นการป้ายสีลงบนผิวกระจกตา แต่การกระทำตามคลิปดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และผู้ที่ไปทำอาจได้รับอันตราย หากต้องการเปลี่ยนสีดวงตาตามแฟชั่น แพทย์แนะนำวิธีที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด คือการใส่คอนแทคเลนส์สีต่าง ๆ ด้วยคอนแทคเลนส์ที่ได้มาตรฐานรับรอง การเปลี่ยนสีกระจกตา ทางการแพทย์ใช้รักษาคนไข้กรณีใดบ้าง ? สำหรับผู้ที่กระจกตาเป็นฝ้าขาวหนาทึบ โดยที่ตาข้างนั้นมองไม่เห็นแล้ว แต่กลางตาดำเป็นฝ้าขาวแลดูไม่สวยงาม มีวิธีที่ทำให้กระจกตาที่เป็นฝ้าขาวให้มีสีเหมือนตาอีกข้าง คือสีดำหรือน้ำตาล แพทย์จะใช้วิธีที่เรียกว่า corneal tattoo เป็นการป้ายสีลงบนผิวกระจกตา หลังจากทำประมาณ 1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วัคซีนงูสวัด

30 พฤศจิกายน 2566 – วัคซีนงูสวัดป้องกันโรคงูสวัดได้แค่ไหน และใครที่ควรฉีด ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ หมายเหตุ: เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจาก “ทิงเกอร์” ผู้ขับเคลื่อนงานด้านการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ

ชัวร์ก่อนแชร์ : บริษัทตรวจ Lab Covid เตือน “เมื่อวานคืนเดียว ตรวจพบเกือบ 100 ราย” จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความ “เจ้าของบริษัทตรวจ lab เชื้อ covid แห่งหนึ่ง เตือนให้ระวังการระบาดใหญ่รอบใหม่ คืนเดียวพบเชื้อเกือบ 100 ราย” หืม… ชัวร์เหรอ ? 📌 บทสรุป : ❌เก่า ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความนี้เป็นข้อความเก่าที่เคยแชร์กันมาก่อน โดยมีข้อมูลที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้รับข้อความนี้ครั้งแรกเมื่อ 7 เมษายน 2564 อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 ยังคงเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังและความรุนแรงหากผู้ติดเชื้อมีสุขภาพไม่ดีหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทั้งนี้ วิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงยังคงไม่แตกต่างจากเดิม เช่น การสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ อยู่เสมอ 29 พฤศจิกายน 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ ข้อความที่แชร์กัน เรียนพี่ๆ น้องๆคะ เมื่อเช้านี้ อาจารย์รุ่นน้องที่เป็นเจ้าของบริษัทตรวจ lab covid แห่งหนึ่ง เตือนมาแต่เช้าค่ะ ว่าระบาดรอบนี้ใหญ่มากเมื่อวานคืนเดียว แลบ แค่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : หอมแดง ขจัดรังแค แก้คันหนังศีรษะ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความแนะนำ วิธีกำจัดรังแคแก้คันหนังศีรษะ ด้วยการใช้หอมแดง ตำผสมน้ำเปล่าชโลมทั่วศีรษะ อาการคันและรังแคหายขาดนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทยหม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร ระบุว่า “การนำหอมแดงมาชโลมศีรษะไม่สามารถรักษารังแคได้ หากต้องการแก้เรื่องรังแคจริง ๆ แนะนำให้ใช้น้ำมะกรูดมาสระผม จึงจะเห็นผล”

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ขับรถลงเขา ทำให้เบรกไหม้ จริงหรือ ?

28 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์คำเตือนสำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ว่า การขับรถลงเขา จะทำให้เบรกของรถยนต์เกิดการไหม้ได้นั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตามองไม่เห็นกะทันหันในเด็ก

27 พฤศจิกายน 2566 – ตามองไม่เห็นกะทันหันในเด็กเกิดจากสาเหตุใด รุนแรงแค่ไหน และมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ 

1 27 28 29 30 31 203
...