ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามกินลูกพลับกับนมเปรี้ยวและกล้วยหอม จริงหรือ ?

❌ เรื่องเก่าวนมาแชร์ใหม่ ❌ ตามที่มีการแชร์เตือนว่า ห้ามกินลูกพลับ แล้วต่อด้วยนมเปรี้ยวและกล้วยหอม เพราะจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย มีเด็กเสียชีวิตแล้วนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ – เป็นข้อมูลเท็จเก่า ที่แชร์กันในจีน– ไม่พบข่าวหรือหลักฐานการเสียชีวิตตามที่กล่าวอ้าง– ลูกพลับแม้อาจย่อยยาก แต่การกินตามปกติทั่วไป ไม่ถึงขั้นทำให้เสียชีวิต ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อความดังกล่าวมีการแชร์กันอย่างกว้างขวางในประเทศจีน ตั้งแต่ราวปี 2558 หรือก่อนหน้านั้น โดยมีการแชร์วนซ้ำเป็นประจำทุกปี หลายสำนักข่าวในประเทศจีน ได้ตรวจสอบและเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะเดียวกันว่า ข้อความดังกล่าว ไม่เป็นความจริง โดยไม่พบหลักฐานว่ามีกรณีที่ผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตจากการกินลูกพลับและโยเกิร์ตและกล้วยหอม ข่าวในประเทศจีน อ้างถึงผู้เชี่ยวชาญในประเทศจีน บอกว่า แม้ลูกพลับอาจจะมีคุณสมบัติย่อยยากอยู่บ้าง แต่จะไม่ได้อันตรายถึงเสียชีวิตแต่อย่างใด ผู้เชี่ยวชาญในจีน ไม่แนะนำให้กินลูกพลับในปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร รวมทั้งไม่แนะนำให้กินตอนท้องว่าง และไม่แนะนำให้กินเปลือกลูกพลับ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเพิ่มเติมกับ แพทย์จีน ต้นสกุล สังข์ทอง แผนกอายุรกรรมทางเดินอาหาร คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน อธิบายว่า ยังไม่มีงานวิจัยระบุว่าการกินพลับตามด้วยนมเปรี้ยวและกล้วยหอม จะมีสารอาหารที่ออกฤทธิ์เสริมกันแล้วก่อให้เกิดพิษต่อร่างกาย หรือทำให้เสียชีวิตได้  ลูกพลับ มีสรรพคุณช่วยดับกระหาย ให้ความชุ่มชื่นกับปอด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : งดจัดงานปีใหม่ เนื่องจากเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนซึ่งเริ่มต้นด้วยข้อความระบุว่าจะมีการงดจัดเทศกาลปีใหม่เนื่องเนื่องด้วยเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่นั้น.📌 บทสรุป : ❌เก่า คลาดเคลื่อน ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ.👉🏻 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่าข้อความลักษณะนี้มีการแชร์มาตั้งแต่ปี 2564 เรื่องงดจัดเทศกาลปีใหม่ เป็นหัวข้อข่าวในปีก่อน ๆ โดยยังไม่มีข้อมูลว่าจะมีการงดจัดเทศกาลสำหรับปีใหม่ 2567 นี้แต่อย่างใด.👉🏻 สำหรับ “เดลตาครอน” เคยเป็นข่าวเมื่อช่วงปี 2565อ่านรายละเอียดบางส่วนจากข่าวนี้ https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/134827.🤟🏻 ส่วนข้อความด้านล่าง ส่วนมากไม่จริงและเก่าแล้ว ไม่มีประโยชน์ในการแชร์ต่อ.📌 อย่างไรก็ตาม เชื้อโควิดยังคงแพร่กระจายได้ หากไม่ระวัง และ อาจเป็นอันตรายกับบางคนได้ จึงควรดูแลตนเอง และเข้มงวดมาตรการต่าง ๆ ต่อไป ตามระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนเผชิญ เพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด.🎯 ชัวร์ก่อนแชร์ CLASSIC COLLECTION : หลากหลายคำเตือนโควิด จริงหรือ ? 6 พฤศจิกายน 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ ข้อความที่แชร์กัน รัฐบาลเตรียมจ่อประกาศงดเทศกาลปีใหม่ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธ์ใหม่ “เดลตาครอล XBC” ซึ่งแพร่ระบาดได้ง่าย/รวดเร็ว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : THE ANAGRAM

❓ MOCHABREECH❓ ตัวอักษรที่สลับกันอยู่ …คือคำว่าอะไร ? คำใบ้ คือ “กับดักความคิดบนโลกออนไลน์ เป็นสภาวะที่ได้รับข้อมูลข่าวสารความคิดเห็น ความเชื่อ เพียงด้านเดียว และมักเลือกรับแต่ข้อมูลที่ชื่นชอบเสมือนการยืนยันว่า ความคิดในใจของเราถูกต้องหรือ ทำให้รู้สึกว่าเป็นความคิดที่ผู้คนส่วนใหญ่ก็คิดเหมือน ๆ กัน” รับชมคลิปเฉลยและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมที่น่าสนใจได้ที่นี่ :

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 สิ่งห้ามทำ ถ้าไม่อยากเป็นมะเร็งในผู้หญิง จริงหรือ ?

6 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า หยุดทำ 3 สิ่งนี้ ถ้าไม่อยากเป็นมะเร็งในผู้หญิง เช่น กินยาสตรี กินหวานเกินจำเป็น และ นอนดึกนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Q : กินยาสตรีแล้วจะทำให้เป็นมะเร็ง จริงหรือ ?A : ยาสตรี โดยทั่วไปมีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง และมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ และจากองค์ประกอบของยาสตรี มีพวกสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่น กวาวเครีอ ว่านต่าง ๆ ตังกุย เป็นต้น หากได้รับมากเกินไปหรือกินต่อเนื่องเป็นประจำก็จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ Q : กินหวานเกินไปทำให้เป็นมะเร็ง จริงหรือ ?A : เรื่องความหวานกับมะเร็งนั้น ยังไม่มีการศึกษาค้นพบว่ามีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่ในทางกลับกันพบว่า น้ำตาลหรือความหวานนั้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับการอักเสบในร่างกาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 โรคที่ต้องหลีกเลี่ยงดื่มน้ำมะพร้าว จริงหรือ ?

3 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า ถ้าจะดื่มน้ำมะพร้าว คนที่ป่วย 3 โรคนี้ต้องระมัดระวัง โรคเบาหวาน หัวใจเต้นผิดจังหวะ และไตเสื่อมนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.พิณทิพย์ รัมภกาภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและนวัตกรรมความรู้ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องหลีกเลี่ยงน้ำมะพร้าว เนื่องจากในน้ำมะพร้าวมีน้ำตาลกลูโคส ฟรุกโตส และซูโครสในปริมาณสูง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินน้ำมะพร้าวสดหรือเครื่องดื่มจากน้ำมะพร้าวชนิดหวานน้อยหรือไม่เติมน้ำตาล เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น 2.ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ถ้าร่างกายได้รับโพแทสเซียมมากเกินไป อาจสร้างปัญหาให้หัวใจ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม 3.ผู้ป่วยโรคไตเสื่อม น้ำมะพร้าวจะไปกระตุ้นการขับปัสสาวะ หากร่างกายขาดน้ำผู้ป่วยโรคไตอาจเกิดอันตรายได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 17 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : ร่าง พ.ร.ฎ. เพิ่มเงินบำนาญสูงถึง 10,000 จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์กันว่า พ.ร.ฎ.เพิ่มเงินให้ผู้รับบำนาญ – ขยายเพดานวงเงินบำเหน็จ​ ผ่านการพิจารณาแล้ว โดยเพิ่มเงินสูงถึง 10,000 นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ปรับเพิ่มเฉพาะผู้ที่ได้รับเบี้ยหวัดบำนาญรวมกับ ช.ค.บ. ที่ไม่ถึง 10,000 บาทเท่านั้น 👉🏻 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความดังกล่าว ถูกส่งต่อกันตั้งแต่ช่วงปี 2563 โดยนางญาณี แสงศรีจันทร์ โฆษกกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ในขณะนั้น ได้ออกแถลงเตือน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ผ่านเว็บไซต์กรมประชาสัมพันธ์ ว่า กฎหมายดังกล่าวมีเพียงประเด็นปรับเพิ่ม เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) เท่านั้น โดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2562 โดยปรับเพิ่มเงินให้กับผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ รวมกันทุกประเภทและรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) แล้ว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ตำรวจเตือน ! ระวัง เพจขายลอตเตอรี่ปลอม

6 พ.ย. 66 จากกรณีที่มีผู้เสียหายถูกรางวัลจากการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือลอตเตอรี่ (Lottery) แต่ไม่ได้รับเงินรางวัล เนื่องจากภายหลังพบว่าตนถูกหลอกลวงให้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ผ่านเพจเฟซบุ๊กปลอมของมิจฉาชีพที่ได้ปลอมเป็นผู้ให้บริการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือลอตเตอรี่ออนไลน์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ซึ่งการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นการหลอกลวงในรูปแบบเดิม ที่ผ่านมามิจฉาชีพมักจะปลอมเพจเฟซบุ๊ก โดยตั้งชื่อให้เหมือน หรือใกล้เคียงกับเพจจริง แอบอ้างใช้สัญลักษณ์บริษัท หรือหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นเพจปลอมหลอกลวงขายสินค้า หรือบริการออนไลน์ เพจหน่วยงานราชการปลอม เพจบริษัทห้างร้านปลอม เพจสถาบันการเงินปลอม เพจที่พักปลอม เป็นต้น พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการใช้งาน หรือเข้าถึงบริการต่างๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างการติดต่อกับหน่วยงาน หรือร้านค้าออนไลน์ต่างๆ ควรตรวจสอบช่องทางเหล่านั้นให้ดีเสียก่อนว่าเป็นของหน่วยงาน หรือร้านค้านั้นจริงหรือไม่ ขอให้ประชาชนมีสติ ไม่หลงเชื่อง่าย ๆ แม้ว่ามิจฉาชีพจะเปิดเพจใหม่ที่เหมือนเพจจริงมาหลอกลวงอย่างไร ถ้ามีประชาชนมีสติ ไม่หลงเชื่อ ตรวจสอบอย่างรอบคอบเสียก่อน ก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านี้อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา บช.สอท. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ผักชีลาว ว่านกาบหอยแครง ขมิ้น บรรเทากรดไหลย้อนได้ จริงหรือ ?

จากกรณีที่มีการแชร์ข้อความว่าผักชีลาว ว่านกาบหอยแครง ขมิ้น บรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สอบถามกับอาจารย์ นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช หน่วยระบบโรคทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า จากการทดลองเรื่องกรดไหลย้อนในหนูพบว่ามีฤทธิ์ลดการหลั่งกรด แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าช่วยคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนได้, การใช้ว่านกาบหอยแครงต้มกับใบเตยก็ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ส่วนขมิ้น เป็นสารลดการระคายเคือง ลดการอักเสบ ไม่มีฤทธิ์ลดกรดไหลย้อน แต่อาจลดการอักเสบของผิวหลอดอาหารที่เกิดจากกรดไหลย้อนได้  กรดไหลย้อนมีทั้งที่เป็นโรคและไม่เป็นโรค หากมีอาการแสบร้อนกลางหน้าอกนาน ๆ ครั้ง ไม่รุนแรง ถือว่าไม่ใช่โรค แต่หากมีอาการแสบร้อนรุนแรงเป็นเวลานานมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ถือเป็นโรคกรดไหลย้อน ส่วนอาการอื่นที่อาจพบได้คือ เสียงแหบเรื้อรัง กล่องเสียงอักเสบ ฟันผุ มีกลิ่นปาก ไอเรื้อรัง การดื่มนมที่นำไปแช่เย็นสามารถบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ เพราะนมจะไปจับกับกรดช่วยลดอาการแสบร้อน แต่หากอาการรุนแรงควรพบแพทย์ แพทย์แนะนำเพิ่มเติมว่า คนไข้กรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ย่อยยาก ควบคุมน้ำหนัก ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดหรือคับเกินไป อย่านอนหลังอาหารภายใน 3 ชั่วโมง และนอนหนุนศีรษะสูงอย่างน้อย 6 นิ้วโดยเป็นการหนุนเตียง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : PATHOLOGICAL GAMBLING ? — ภัยร้ายทำลายชีวิต

4 พ.ย. 66 – สิ่งนี้…เป็นกิจกรรมที่ฉาบไว้ด้วยความสนุก แต่กลับเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย และ สิ่งนี้…เป็นพฤติกรรมการเสพติดที่พบในกลุ่มคนรุ่นใหม่กว่า 3 ล้านคน คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตัดแว่นไม่ตรงค่าสายตา เสี่ยงตาบอด จริงหรือ ?

5 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่า การตัดแว่นไม่ตรงกับค่าสายตา ทำให้ตาบอดได้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ – มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำเป็นต้องเข้าพบและได้รับคำปรึกษากับจักษุแพทย์ก่อนทำการวัดสายตาเพื่อตัดแว่นให้ตรงกับค่าสายตา การที่เด็กไม่ได้รับภาพที่ชัดเจน จะทำให้สมองส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ได้พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่สายตา 2 ข้างไม่เท่ากัน เมื่อไม่ได้ตัดแว่นที่ถูกต้องกับค่าสายตา ก็อาจทำให้เป็นโรคตาขี้เกียจและอาจทำให้ตาบอดได้ สำหรับการวัดความผิดปกติของสายตาเด็กเนื่องจากเด็กมีจุดโฟกัสดีกว่าสายตาผู้ใหญ่ ต้องหยอดยาลดการเพ่งก่อน โดยหยอดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กเพ่งน้อยลง แล้วค่อยวัดความสั้น ความเอียง ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยว่าผิดปกติหรือไม่ต้องนัดตรวจซ้ำอย่างน้อย 1-2 ครั้ง กรณีผู้ใหญ่หากตัดแว่นไม่ตรงกับค่าสายตาก็จะทำให้การมองเห็นไม่ดี ภาพไม่ชัดเจน แต่จะไม่มีผลทำให้เกิดภาวะตาบอดถาวรแบบในเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญ หมั่นสังเกตจะช่วยลดความเสี่ยงและช่วยแก้ไขก่อนจะสายเกินไป สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหาร 3 ชนิดช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ?

2 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์ข้อความว่ามีอาหาร 3 ชนิด กินก่อนนอนช่วยให้หลับสบาย ได้แก่ นม กล้วย และถั่วลิสงนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ Q : นมและผลิตภัณฑ์จากนม กินก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ?A : จริง เพราะนมมีกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย แก้ปัญหานอนไม่หลับหรือนอนหลับยากได้ จะเป็นนมอุ่น หรือนมแช่เย็น แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน หากใครแพ้นมวัว สามารถกินนมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ แทนได้เช่นกัน *คำแนะนำจากแพทย์ >> กินนม 1 แก้วก่อนนอน อย่างน้อย 1 ชั่วโมง Q : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ดึงหางแมว เสี่ยงอัมพาต จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือนว่าคนที่เลี้ยงแมว ห้ามไปดึงหางแมวเพราะอาจทำให้แมวเป็นอัมพาตได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การดึงหางแมวแค่ทำให้แมวรำคาญไม่ได้ส่งความรู้สึกถึงสมอง ยกเว้นจับหางแมวแล้วฟาดตัวกับพื้น ทำให้หัวบาดเจ็บหรือเชิงกรานหัก จึงจะทำให้เป็นอัมพาต เพราะเส้นประสาทขาหลังของแมวจะอยู่บริเวณเชิงกราน นอกจากนี้ ภาพที่แชร์โดยลากเส้นจากหางแมวถึงสมองก็ไม่ตรงกับหลักกายวิภาคสรีระภายในของแมว ซึ่งจริงๆ แล้วกายวิภาคของแมว “หาง” คือส่วนต่อจากกระดูกสันหลังเท่านั้น ไม่ใช่เส้นประสาทถึงสมอง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรดึงหางแมวแรง ๆ เพราะแมวก็มีความรู้สึกเจ็บเช่นกัน

1 28 29 30 31 32 202
...